เทคนิคตั้งชื่อร้านขายของชำ พร้อมตัวอย่างการตั้งชื่อร้านให้รวย

ร้านขายของชำ ร้านที่เราจะเห็นได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยความนิยมนี้ก็มาจากไม่ว่าใครก็อยากที่จะซื้อของกินหรือของใช้แบบง่ายๆโดยที่ไม่ต้องออกไปไกล จึงเกิดร้านขายของชำขึ้นมา โดยสิ่งสำคัญของการเปิดร้านขายของชำนั้น นอกจากจะหาทำเลดีๆในการเปิดร้านแล้ว การตั้งชื่อร้านก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เราจึงได้รวบรวมเทคนิคการตั้งชื่อร้านขายของชำ และตัวอย่างการตั้งชื่อร้านขายของชำ

การตั้งชื่อร้านค้ามงคล ชื่อร้านเรียกทรัพย์ และตั้งชื่อร้านให้รวย

» เลือกใช้คำที่หมายถึง “เงิน – ทอง”  เช่น โสภณ / สุพรรณ / สุวรรณ / กนก / กาญจน์ / ทรัพย์ / ทอง

» เลือกใช้คำที่หมายถึง “ ร่ำรวย รุ่งเรือง ” เช่น เพิ่มพูน / มั่งคั่ง / มั่งมี / รุ่งโรจน์ / มหาศาล / เจริญ / ไพศาล / พิบูลย์ / สมบูรณ์ / ทวี

» เลือกใช้คำที่หมายถึง “โชค ลาภ บารมี” เช่น โชคดี / ชัย / เดช / เดชา / ลาภ / บารมี / ถาวร / พร / สถาพร / ทิพย์ / เฮง / มงคล / มังกร

โดยส่วนใหญ่จะนำคำเหล่านี้มาผสมเพื่อให้เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายดีและเป็นมงคล ยกตัวอย่างเช่น รุ่งเรือง + ถาวร หมายถึง รุ่งเรืองถาร ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองที่มั่นคง ไม่มีวันจาง หรือ ทอง + เพิ่มพูน หมายถึง มีเงินมีทองไหลมาเทมา เพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆ เป็นเนินเป็นกอง

ตัวอย่างตั้งชื่อร้านค้าขายของชำมงคล

  • ร้านธนทรัพย์รุ่งเรืองการค้า
  • ร้านทรัพย์แก้วจันทร์
  • ร้านมิ่งมิตร
  • รุ่งรวีมินิมาร์ท
  • สันรุ่งเรือง
  • ร้านเจริญไพศาล ขายของชำ
  • ละเอียด พลอยทรัพย์
  • รุ่งเรืองพานิช

ตัวอย่างตั้งชื่อร้านขายของชำ โดยใช้ชื่อตนเอง 

หากคุณต้องการเปิดร้านขายของชำเล็กๆ บริเวณหมู่บ้านหรือพื้นที่ของตนเอง สามารถใช้ชื่อตนเองเป็นชื่อร้านได้ แต่หากต้องการจะสร้างแบรนด์ ควรจะเลือกใช้ชื่ออื่นๆ

  • ร้านอัจฉรา
  • พุกเฮงโชห่วย
  • ร้านโชห่วยยายจุก
  • ร้านลุงสิงห์
  • เจ๊ดาของชำ
  • ร้านขายของชำป้าใหม่
  • ร้านเอนกของชำ
  • ร้านตุ๊กตาขายของชำ

ตัวอย่างตั้งชื่อร้านขายของชำ เหมาะสำหรับร้านขายของชำขนาดกลาง

  • ร้านว.มินิมาร์ท
  • ดีมินิมาร์ท
  • วาสนาสะดวกซื้อ
  • วันเจริญพานิชย์
  • นาดีสโตร์
  • บุญส่งการค้า
  • พิชญ์พาณิชย์
  • ร้านเจ๊จุนมินิมาร์ท
  • ร้าน จัง ยง ฮง ซุปเปอร์.
  • บุญทันพาณิชย์

ตัวอย่างตั้งชื่อร้านขายของชำ ภาษาอังกฤษ

  • nice mart
  • VN Shop
  • Janya shop
  • J-Mart
  • Family mart
  • Fresh Mart
  • 16 Minimart
  • Lilly minimart
  • Ok Mibimart
  • SM Minimart

เทคนิคตั้งชือร้านขายของชำ

เทคนิคการตั้งชื่อร้านขายของชำ

» สั้นๆได้ใจความ

ไม่ควรตั้งชื่อให้ยาวจนเกินไป เพราะจะยากแก่การจดจำ ควรใช้  2-5 พยางค์ก็เพียงพอ

» ชื่อไม่ซ้ำใคร หรือ เลียนแบบชื่อแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว

หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกับคู่แข่ง  คุณสามารถตรวจสอบและจองชื่อนิติบุคคลได้ที่เว็บไซต์ของกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th เพื่อที่จะลดความเสี่ยง ลดข้อผิดพลาด การลอกเลียนแบบนอกจากจะไม่สร้างสรรค์แล้วยังเสี่ยงต่อการติดคุก เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นนั้นผิดกฎหมาย ต้องเสียเงินชดใช้ค่าลิขสิทธิ์และอาจติดคุกได้

» เลือกใช้คำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย

การตั้งชื่อร้านขายของชำ ควรใช้คำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อจะจำชื่อร้านได้ ทำให้ง่ายต่อการพูดปากต่อปาก

» ใช้คำที่สื่อถึงร้านขายของชำ 

การตั้งชื่อร้านขายของชำ ควรใช้คำที่สื่อว่าคุณคือร้านขายของชำ เพื่อเป็นการสื่อสารกับลูกค้าผ่านชื่อร้านว่าร้านเราขายอะไร เช่น สมจิตร ของชำ, เจอาร์ มินิมาร์ท ฯลฯ

หลักการออกแบบ ป้ายร้านขายของชำ

» เรียบๆ : ไม่จำเป็นต้องสร้างป้ายร้านให้อลังการ เพียงแค่เน้นตัวหนังสือให้ดูสะอาดตา เด่นชัด มีขนาดที่ง่ายต่อการมองเห็น และอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับการโฟกัส

» อ่านง่าย ชัดเจน : จัดระเบียบตัวหนังสือให้อ่านง่ายที่สุด อ่านได้ชัดเจน

» การเลือกใช้สี : เลือกใช้สีที่ง่ายต่อการมองเห็น เช่น พื้นหลังป้ายสีขาว ให้ใช้สีแดง สีดำ หรือสีอื่นๆที่ไม่กลืนไปกับสีขาว เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น