สโลแกน สามารถกลายเป็นหนึ่งแรงดึงดูดใจในการกระตุ้นให้เกิดความต้องการหรือกระตุ้นความอยากซื้อสินค้าได้ ดังนั้นการสร้างสโลแกนที่ดีสำหรับแบรนด์จะส่งเสริมให้แบรนด์นั้นสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและเมื่อกลายเป็นสโลแกนฮิตติดหูก็จะยิ่งทำให้แบรนด์นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้บริโภคไปโดยปริยาย
วิธีการตั้งสโลแกนร้านอาหารแลขนม
- สั้นและกระชับ เช่นเดียวกับการตั้งสโลแกนกิจการประเภทอื่น การใช้คำที่ยาวเกินไปจำทำให้ยากแก่การจดจำ
- เรียบง่าย เข้าใจได้ทันที ไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการจนเกิน เลือกใช้ภาษที่เรียบง่ายใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความรู้สึกใกล้ชิดและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วขึ้น
- สื่อสารตรงจุด เมื่อเป็นร้านอาหารหรือขนมแน่นอนว่าต้องสื่อสารหรือกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อ เช่น “อร่อยชิ้นเดียวไม่เคยพอ” สโลแกนของขนมยี่ห้อเลย์ (Lays)
- โดดเด่นเหนือคู่แข่ง สร้างเอกลักษณ์เพื่อฉีกตัวเองออกจากคู่แข่งที่มีอยู่จำนวนมากในอุตสาหกรรมร้านอาหารและขนม ยกตัวอย่างเช่น “ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ” สโลแกนของช็อกโกแลต M&M
- อย่าลอกเลียนแบบ การใช้สโลแกนที่ใกล้เคียงหรือเลียนแบบแบรนด์อื่นจะทำลูกค้าเกิดความสับสน แทนที่จะใช้บริการร้านอาหารหรือซื้อขนมของคุณอาจกลายเป็นซื้อของคู่แข่งแทน เป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
- เพิ่มชื่อแบรนด์ลงไปด้วย สร้างความรับรู้และเพิ่มการจดจำโดยการนำหน้าหรือต่อท้ายด้วยชื่อแบรนด์จะทำให้แบรนด์ของคุณติดหูยิ่งขึ้น เช่น “ฟูจิ สั่งเลยอร่อยทุกอย่าง” นอกจากจะทำให้จำสโลแกนได้แล้วยังจำแบรนด์ได้ในเวลาเดียวกัน
- ตั้งสโลแกนมงคลหรือเชิงบวก นำเสนอสโลแกนหรือคำขวัญในทางที่ส่งเสริมภาพลักษณ์หรือคุณค่า ประโยชน์ของแบรนด์ เช่น “ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย” สโลแกนของ S&P บ่งบอกให้ทราบว่าเป็นร้านที่ขายแต่อหารหรือขนมที่คัดสรรมาแล้วว่าอร่อย สร้างความน่าสนใจ กระตุ้นความอยากและส่งเสริมแบรนด์ให้น่าเชื่อถือ
- ตั้งสโลแกนสื่อถึงความรู้สึก สำหรับอาหารหรือขนม การตั้งสโลแกนให้เห็นภาพจะเกิดการกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากทานมากขึ้น เช่น “ตำซี๊ดเป่าปาก” “มันทุกเม็ด” “ซ่าถึงใจ” เป็นต้น
ตัวอย่างสโลแกนร้านอาหารและขนม
- แมคโดนัล : ความสุขล้นเมนู
- ฟูจิ : สั่งเลยอร่อยทุกอย่าง
- S&P : ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย
- ครัวเมล็ดกาแฟ : ทุกมื้อสำคัญ เมล็ดพันธ์ ความอร่อย
- เลย์ : อร่อยชิ้นเดียวไม่เคยพอ
- โก๋แก่ : มันทุกเม็ด
- ฟิชโช : ปลาไม่ชอบ แต่คนชอบ
- ปาปิก้า : อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้ามีปาปิก้า
- โดโซะ : อร่อยถูกใจคนทุกวัย
- คลอเร็ท : เสน่ห์อยู่ที่ลมหายใจ
- เจเล่ไลท์ : มีมากกว่าความอร่อย
- ทาโร่ : มีโปรตีนจากเนื้อปลา
- Roller Coaster : อร่อยเข้มเต็มๆวง
- Farm House : หอมกรุ่นจากเตาทุกวัน
- M&M : ละลายได้รสในปาก แต่ไม่ละลายในมือ
- ฮานามิ : ข้าวเกรียบรวยเพื่อน
- Balanz : อร่อย พอดี พอดี
- แมกโนเลีย : ไอศครีมอารมณ์ดี
- Halls : เย็นชุ่มคอ
- Heart Beat : เม็ดอมสื่อรักรูปหัวใจ
ข้อควรระวัง
การเลือกใช้ภาษาเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางและภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดังนั้นก่อนเริ่มต้นตั้งสโลแกนควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับแบรนด์เป็นหลัก เพื่อที่จะได้เลือกใช้ภาษาและสื่อสารออกไปได้ถูกต้อง การใช้ภาษาวัยรุ่นหรือภาษาปาก อาจไม่หมดกับร้านอาหารหรือขนมบางประเภท คุณอาจใช้คำที่ติดตลกหรือสร้างอารมณ์ขันได้แต่ต้องสุภาพและไม่มีคำหยาบ
แสดงความคิดเห็น