ธุรกิจที่น่าสนใจ เทรนด์ธุรกิจ และ ธุรกิจมาแรงปี 2019 รู้ก่อนรวยก่อน

ธุรกิจที่น่าสนใจปี 2019 เทรนด์ธุรกิจ 2019 และ ธุรกิจมาแรงปี 2019  โดยทีมงานได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยจากสถาบันวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจชั้นนำถึงโอกาส ธุรกิจที่น่าสนใจปี 2562 และ ธุรกิจมาแรงปี 2562

เทรนด์ธุรกิจปี 2020 : ธุรกิจมาแรงปี 2563 คลิ๊ก>>

 

1. ธุรกิจที่น่าสนใจ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

คือหนึ่งในธุรกิจที่น่าจับตามองและมีศักยภาพการเติบโตที่ค่อนข้างโดดเด่นในพื้นที่ EEC เพราะนอกจากจะเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายในกลุ่ม First S-Curve แล้ว อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารของไทยยังมีความได้เปรียบจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและวัตถุดิบทางการเกษตร รวมถึงมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัยและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก สะท้อนถึงศักยภาพและความพร้อมของไทยในการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกในอนาคต

อุตสาหกรรมอาหารมีอัตราการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับเทคโนโลยีในการผลิตมีความก้าวหน้าทำให้การผลิตอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยหนุนจากนโยบาย 4.0 ของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารด้วย  การพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆเพื่อเพิ่มพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน โดยธุรกิจที่มีความโดดเด่น ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูปและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทะเล

อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยต้องแข่งขันสู้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ผลิตสินค้าคล้ายคลึงกันที่มีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่า รวมถึงความเสี่ยงจากต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้นและปัญหาค่าจ้างแรงงาน/ปัญหาการขาดแคลนแรงงานซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการสร้างรายได้ของธุรกิจ

2. ธุรกิจที่น่าสนใจ อาหารทางการแพทย์

เทรนด์ธุรกิจ 2019 คืออีกหนึ่งสินค้าดาวรุ่งในกลุ่มอาหารแห่งอนาคตที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโตสูงต่อเนื่องในอนาคต โดยได้รับอานิสงส์จากการที่ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ต่างจากไทยที่มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุค่อนข้างเร็ว โดยคาดว่าในอีกราว 30 ปีข้างหน้า สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่เกือบ 30% ของจำนวนประชากร จากปัจจุบันที่ 11% ส่งผลให้ความต้องการด้านการรักษาพยาบาลตลอดจนการใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพซึ่งรวมถึงอาหารทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่าภายในปี 2020 มูลค่าตลาดอาหารทางการแพทย์ในไทยจะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ราว 2,850 ล้านบาท หรือสูงขึ้นถึงเกือบเท่าตัวจากปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทางการแพทย์ยังสอดรับกับ Roadmap ของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศ

3. ธุรกิจที่น่าสนใจ ธุรกิจสินค้าออร์แกนิค

สินค้าออร์แกนิคในไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในปี 2561 มูลค่าตลาดสินค้าออร์แกนิคของไทยจะอยู่ที่ 2,700-2,900 ล้านบาท และน่าจะมีมูลค่าพุ่งไปสู่ระดับ 5,400 ล้านบาท ตามที่ภาครัฐได้คาดการณ์ไว้ในปี 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาตระหนักและใส่ใจกับสุขภาพการกินอยู่ที่ดีมากขึ้น ประกอบกับรายได้ของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น (โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง) รวมถึงข้อจำกัดด้านสุขภาพของผู้บริโภค นโยบายสนับสนุนของภาครัฐที่ส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ จะทำให้อุปสงค์และอุปทานตลาดออร์แกนิคในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม โดย 5 กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มมาแรงมีดั่งนี้

ธุรกิจที่น่าสนใจ2019

กลุ่มอาหารออร์แกนิคแปรรูปขั้นสูง อาทิ กลุ่ม Super Foods (Super Grains, Superfruits) กลุ่ม Free-Form (ปราศจากสารกันบูด/กลูเตน/สารแต่งสี) กลุ่ม Better For You (ไขมัน/น้ำตาล/เกลือ/คาเฟอีนต่ำ) และพวกผงสกัดจากพืช
อาหารออร์แกนิคเฉพาะกลุ่ม อาทิ อาหารสำหรับเด็ก ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ (เช่น นมออร์แกนิคแคลอรี่ต่ำ)
อาหารเสริมและวิตามิน อาทิ สารสกัดจากพืชออร์แกนิคที่ช่วยบำรุงร่างกายและความงาม
อาหารออร์แกนิคพร้อมรับประทาน อาทิ ข้าวออร์แกนิคฟรีซพร้อมอุ่น สแน็คบาร์จากธัญพืชออร์แกนิค อาหารพร้อมทานออร์แกนิค
เครื่องดื่มออร์แกนิคกลุ่ม Functional Drink และ Energy Drink เพื่อสุขภาพและความงาม

4. ธุรกิจที่น่าสนใจ อาหารแปรรูปสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

สินค้ายอดนิยมในกลุ่มอาหารแปรรูปจากไทยที่ถูกเลือกซื้อเป็นของฝากกลับประเทศของนักท่องเที่ยวจีนได้แก่  ผลไม้อบแห้ง/ทอดกรอบ อาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ ขนมขบเคี้ยว ลูกอม ยาอมสมุนไพร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและมะพร้าว อาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป ขนมไทยและเครื่องปรุงรส ฯลฯ

เทรนด์ธุรกิจ 2019 เมื่อมองไปในระยะข้างหน้าถึงแนวโน้มของธุรกิจอาหารแปรรูปในรูปแบบของฝาก จะเห็นได้ว่า จากการที่ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ดาวรุ่งในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ภาครัฐและเอกชนต่างให้การส่งเสริมทั้งการทำตลาดในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve ที่มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ยังคงสดใส และเป็นปัจจัยให้เกิดการบริโภคสินค้าหลายประเภทในปริมาณที่มากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยว ตลอดจนมาตรการและนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการมุ่งสู่ความเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมและครัวของโลก รวมถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะร่วมสนับสนุนกันตั้งแต่ระดับต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจอาหารแปรรูปในกลุ่มของฝากสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ในกลุ่มอาหารแปรรูปในรูปแบบของฝากที่คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างสูงในปี 2561-2562 น่าจะอยู่ในกลุ่มอาหารพร้อมทาน ขนมขบเคี้ยว เครื่องปรุงรสต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เน้นนวัตกรรมในการผลิต เนื่องจากเป็นสินค้าดาวรุ่งในกลุ่มสินค้าส่งออกที่ต่างชาติให้ความสนใจมากขึ้น จากความนิยมของอาหารไทยที่ขยายไปหลากหลายแห่งทั่วโลก ทำให้คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยจะสนใจซื้อเป็นของฝากกลับประเทศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทย อีกทั้งมีให้เลือกหลากหลายและราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อภายในประเทศนั้นๆ

 

เทรนด์ธุรกิจปี 2020 : ธุรกิจมาแรงปี 2563 คลิ๊ก>>

 

5. ธุรกิจที่น่าสนใจ การท่องเที่ยวความต้องการส่วนบุคคล (Personalization)

เทรนด์ธุรกิจ 2019 การให้ความสำคัญกับความต้องการส่วนบุคคล จากข้อมูลของ PhocusWire, 2017 นักท่องเที่ยว  จำนวนร้อยละ 36 ยินดีที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ดีขึ้น ข้อมูลนี้อาจบอกเป็นนัยได้ว่า นักท่องเที่ยวบางส่วนมีความต้องการที่จะได้รับบริการหรือสนใจสินค้าที่เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคล (Personalization) โดยพฤติกรรมความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวและการให้ความสำคัญกับความต้องการส่วนบุคคล อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้เกิดเทรนด์การท่องเที่ยวทางเลือกต่างๆ เพิ่มเข้ามา เช่น

  • การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (FoodTourism) ที่ไม่เพียงมีจุดประสงค์ในการรับประทานอาหารแค่อย่างเดียว  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การท่องเที่ยวเชิงอาหารนั้น มีส่วนคล้ายคลึงกับการท่องเที่ยวชุมชนและวัฒธรรมอยู่ไม่น้อย เพราะส่วนประกอบและวัตถุดิบต่างๆ ภายในอาหารนั้นยังสามารถเชื่อมโยงเข้าไปถึงประวัติความเป็นมาและวัฒธรรมท้องถิ่นนั้นๆ ได้อีกด้วย
  • การท่องเที่ยวชุมชน (Community – Based Tourism) ซึ่งนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้จะมีความสนใจในประวัติศาสตร์ พื้นหลังของชุมชน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตนที่แท้จริงของแหล่งท่องเที่ยว ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชน วัฒนธรรมของชุมชนที่มีความเป็นเอกลักษณ์
  • การท่องเที่ยวแบบครอบครัว (Family Tourism) เป็นที่รู้กันว่านักท่องเที่ยวในประเภทนี้จะมาท่องเที่ยวกันแบบกลุ่ม ซึ่งจุดประสงค์ของการท่องเที่ยวก็เพื่อพักผ่อนและกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยอาจมีกิจกรรมกลางแจ้งหรือพื้นที่ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเป็นปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้น่าจะให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามเนื่องจากนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้จะมีความหลากหลายทางด้านอายุ ทำให้มีปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการควรต้องตระหนักถึงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างความปลอดภัยในด้านต่างๆ ของเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องระวังเป็นพิเศษ อีกทั้งความต้องการที่ต่างกันในแต่ละช่วงวัย ที่เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อที่จะนำเสนอบริการและกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้สามารถทำร่วมกันได้
  • การท่องเที่ยวประเภทที่รวมการเดินทางเพื่อธุรกิจเข้ากับการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว (Bleisure)โดยที่นักท่องเที่ยวอาจใช้เวลาส่วนหนึ่งเพื่อทำงานในระหว่างที่ท่องเที่ยว ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวประเภทนี้ย่อมหนีไม่พ้นเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ทำให้ข้อจำกัดในการทำงานระหว่างเดินทางท่องเที่ยวถูกลดลง เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรจัดเตรียมอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำงานให้นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้
  • การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) โดยที่นักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้อาจมีรูปแบบการท่องเที่ยวตั้งแต่กลุ่มที่พยายามลดปริมาณขยะหรือจำกัดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาระบบนิเวศ เช่น การปลูกป่า ปลูกปะการัง ปล่อยปลา เป็นต้น

นอกเหนือจากเทรนด์การท่องเที่ยวทางเลือกต่างๆ แล้ว ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีความเป็นปัจเจกมากยิ่งขึ้นยังมีส่วนผลักดันให้เกิดที่พักในรูปแบบที่แปลกใหม่ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว เช่น ที่พักกึ่งกระโจม บ้านผีสิง ที่พักธีมการ์ตูนแบบต่างๆ เป็นต้น

6. เทรนด์ธุรกิจ 2019 ธุรกิจแฟรนไชส์

โดยปัจจัยที่ยังคงสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สำคัญ มีดังนี้

  • คนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของกิจการมีเพิ่มขึ้น จากเดิมที่นิยมทำงานราชการหรือพนักงานบริษัท ก็สนใจที่จะทำอาชีพอิสระหรือเป็นเจ้าของกิจการมากขึ้น โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบใหม่หรือทำงานไม่นานที่อยู่ในกลุ่ม GenY (อายุ 21-38 ปี ซึ่งมีรวมกันประมาณ 17.3 ล้านคน) ซึ่งงานประจำที่ทำอาจไม่ตอบโจทย์ทางด้านลักษณะงานหรืออาจไม่พึงพอใจด้านรายได้ ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้น ทำให้เข้ามาแทนที่แรงงานคนในหลายสาขาอาชีพ ซึ่งกลุ่มนี้ก็มีโอกาสในการเปลี่ยนงานไปสู่ธุรกิจแฟรนไชส์เช่นเดียวกัน
  • ความหลากหลายของธุรกิจที่ใช้รูปแบบแฟรนไชส์ขยายกิจการ การที่เจ้าของธุรกิจสนใจเข้ามาขยายกิจการด้วยระบบแฟรนไชส์มากขึ้น ทำให้ปัจจุบัน มีแฟรนไชส์หลากหลายประเภทให้ผู้สนใจเลือก เพื่อให้ตรงกับความชอบหรือสนใจ รวมถึงเหมาะสมกับเงินทุน/ทำเล/หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทำให้การตัดสินใจทำธุรกิจแฟรนไชส์มีทางเลือกมากขึ้น
  • การเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สะดวก ปัจจุบัน มีช่องทางต่างๆ ที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทแฟรนไชส์รูปแบบการดำเนินธุรกิจ เงินลงทุนอย่างละเอียด ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ทำให้ข้อมูลต่างๆไปถึงผู้สนใจจำนวนมาก
  • การเข้ามาของธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศ จากมูลค่าตลาดแฟรนไชส์ที่สูงของไทย ประกอบกับความต้องการใช้ไทยเป็นฐานแฟรนไชส์ เพื่อต่อยอดการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ส่งผลให้แฟรนไชส์ต่างประเทศสนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยมากขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่า ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า แฟรนไชส์ต่างประเทศจะมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 10 จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 โดยส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีการติดต่อซื้อแฟรนไชส์ต่างประเทศเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น
  • ภาครัฐและสถาบันการเงินให้ความสำคัญ ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐของไทย มีการจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน รวมถึงการจัดงานแสดงเกี่ยวกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถาบันการเงินเองก็มีความร่วมมือกับเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ ที่ได้รับความนิยมหรือมีการคัดธุรกิจที่มีมาตรฐาน และประสบความสำเร็จแล้วเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้สนใจลงทุนธุรกิจ

7. ธุรกิจที่น่าสนใจ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

ความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีในช่วงปี 2561-2563 จะขยายตัวดีอยู่ในช่วง 5-7% ต่อปี ปัจจัยหนุนจาก

  • สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการขยายการเพาะปลูก  ขณะที่ปริมาณน้ำในเขื่อนเพื่อใช้ในการเพาะปลูกมีเพียงพอ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถขยายเนื้อที่เพาะปลูกได้มากขึ้น ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ประเมินว่า พืชเศรษฐกิจที่จะมีการขยายเนื้อที่เพาะปลูกและมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก คือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว
  • เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และรายได้เกษตรกรปรับดีขึ้น  ตามทิศทางปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มปรับ
    เพิ่มขึ้นนับจากครึ่งหลังปี 2561 น่าจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของเกษตรกร
  • แนวโน้มการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชที่มีอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีต่อไร่สูง  โดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยอานิสงส์จาก
    แผนการขยายโรงงานน้ำตาลใหม่ในระยะ 1-5 ปีข้างหน้า อีกกว่า 3.5 ล้านตัน/ปี  จึงคาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 8.5 ล้านไร่ในปัจจุบันเป็น 13 ล้านไร่  ส่วนปาล์มน้ำมัน ได้อานิสงส์จากแผนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อผลิตไบโอดีเซลของไทย ทำให้ต้องขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจาก 4.5 ล้านไร่ในปัจจุบันเป็น 5.5 ล้านไร่ในปี 2562 และ 10.2 ล้านไร่ในปี 2579

8. เทรนด์ธุรกิจ 2019 อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป

คาดว่าภาวะอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูปของไทยในระยะ 1-3 ปี ข้างหน้าจะขยายตัวดีต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคที่ขยายตัว คาดว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อนเฉลี่ย 2-3% ต่อปี โดยความต้องการบริโภคของภาคครัวเรือนจะขยายตัว 1-2% ต่อปี และการบริโภคในธุรกิจฟาสต์ฟู้ดจะขยายตัว 3-4% ต่อปี ตามความนิยมของผู้บริโภคและแผนการลงทุนขยายสาขาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ ขณะที่คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่การเปรียบเทียบกับฐานสูงในปี 2560 (การกลับมานำเข้าหลังประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ยกเลิกมาตรการระงับนำเข้าไก่แช่แข็งจากไทย) อาจทำให้การส่งออกในช่วงปี 2561-2563 ขยายตัวในอัตราชะลอลง เฉลี่ยที่ 5-8% ต่อปี ปัจจัยหนุนการขยายตัวมาจาก

  • ความต้องการบริโภคเนื้อไก่ในตลาดโลกที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง  เฉลี่ยปีละ 1.5-2% (ข้อมูลจาก OECD-FAO Agricultural Outlook 2017-2026) ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น
  • ยังมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกต่อเนื่องในหลายประเทศ ขณะที่ไม่พบการกลับมาระบาดในไทย เนื่องจากผลผลิตไก่ของไทยสัดส่วนถึง 90% มาจากฟาร์มของผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีระบบป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่ดี และกระบวนการแปรรูปไก่ของไทยได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จึงเป็นโอกาสในการขยายการส่งออกของไทย ทั้งนี้ จากรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (UnitedStates Department of Agriculture: USDA) ปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียและยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นเป็นประเทศผู้นำเข้าไก่สุทธิ ทำให้มีแนวโน้มต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น
  • การเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ ของไทย อาทิ ตะวันออกกลาง แอฟริการวมทั้งจีนที่คาดว่าจะกลับมานำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยมากขึ้น หลังผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยทยอยได้รับการรับรองจากสำนักงานการขึ้นทะเบียนหรือรับรองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Certification and Accreditation Administration of the People’s Republic of China: CNCA) ซึ่งปัจจุบันมีการรับรองแล้ว 7 โรงงาน
  • การส่งออกไก่แปรรูปไปญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก  จากกระแสรักษ์สุขภาพ ประกอบกับมีการขยายการลงทุนโรงงานแปรรูปไก่เนื้อของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในไทยเพื่อผลิตเนื้อไก่แปรรูปป้อนให้กับธุรกิจอาหารในญี่ปุ่น

เทรนด์ธุรกิจปี 2020 : ธุรกิจมาแรงปี 2563 คลิ๊ก>>

 

ขอบคุณข้อมูลเทรนด์ธุรกิจ 2019 อ้างอิงจาก
– Economic Intelligence Center
– Krungsri Research
– Kasikorn Research
– GSB Research

แสดงความคิดเห็น