รวมสูตรอาชีพ “วิธีปลูกผักคะน้า”, วิธีปลูกผักคะน้าแบบแปลงปลูก,วิธีปลูกผักคะน้าแบบกระถาง โดยได้ทำการเลือกวิธีการปลูกผักคะน้า พร้อมเริ่มต้นอาชีพปลูกผักคะน้าขาย เริ่มธุรกิจขายผักคะน้าได้ทันที เหมาะสำหรับผู้สนใจอาชีพเสริม, สร้างอาชีพและอาชีพอิสระ
หากคุณมีสูตรอาชีพ “วิธีปลูกผักคะน้า” ต้องการแบ่งปันและโปรโมทร้านคุณ โปรดติดต่อ smeleader.thailand@gmail.com
ผักคะน้า เป็นผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ช่วงเวลาที่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเมษายน ในการปลูกคะน้าของสวนแต่ละแห่งจะไม่เหมือน การปลูกผักคะน้าด้วยการหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงเป็นที่นิยมมากกว่าย้ายกล้า เนื่องจากช่วยให้การเติบโตเร็วกว่าและสามารถเก็บผลผลิตขายได้หลายช่วง
1. ชื่ออาชีพเสริมปลูกคะน้า : วิธีปลูกผักคะน้า แบบแปลงปลูก
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- ที่ดิน
- ปุ๋ยคอก
- เมล็ดผักคะน้า
- ฟางหรือหญ้าแห้ง
- บัวรดน้ำ
วิธีการปลูกคะน้า :
การเตรียมดินปลูกผักคะน้า :
ไถพรวนพื้นที่พลิกดินตากแดดไว้ 7 -14 วัน ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 ตันต่อไร่และไถพรวนอีกครั้ง เพื่อให้ดินและปุ๋ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วไถยกร่องทำแปลงปลูก กว้าง 1-1.5Xความยาวตามพื้นที่
การหว่านเมล็ดปลูกผักคะน้า :
1. หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงโดยให้กะระยะหรือน้ำหนักในการหว่านเมล็ดให้มีความห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร
2. ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดหลังหว่านเสร็จแล้ว ให้มีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย
3. คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งบางๆ
4. รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอเช้า-เย็น ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน
5. หลังคะน้างอกประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตรให้เริ่มถอนแยก โดยถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ทิ้งระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ต้นอ่อนของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้
6. เมื่อคะน้ามีอายุประมาณ 30 วัน ทำการถอนแยกครั้งที่ 2 ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร ต้นอ่อน
ของคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้อีกเช่นกัน
7. ในการถอนแยกคะน้าแต่ละครั้งควรกำจัดวัชพืชไปด้วย และ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเสริมในช่วงนี้ เพื่อทำให้ต้นเจริญเติบโตแข็งแรง
การให้น้ำผักคะน้า แบบแปลงปลูก :
เนื่องจากคะน้ามีการเจริญเติบโตเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงเพราะคะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอในการเจริญเติบโต การให้น้ำให้ใช้หัวฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น
2. ชื่ออาชีพเสริมปลูกคะน้า : วิธีปลูกผักคะน้า แบบกระถาง
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- ถาดพลาสติก
- ดิน,ปุ๋ยคอก
- เมล็ดผักคะน้า
- น้ำ
- กระถาง
วิธีการปลูกคะน้า :
1.เตรียมถาดพลาสติกสำหรับการเพาะปลูกคะน้า หลังจากนั้นนำดินพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 ใส่ลงในถาด
2.หาเศษไม้เล็กๆ แล้วนำมากดลงไปในดิน ในถาดที่เราเตรียมจะเพาะ โดยความลึก 0.5 ซม.
3.นำเมล็ดของผักคะน้าที่เราเตรียมไว้ ใส่ในหลุมที่เพาะ หลุมละ 1-2 เมล็ด
4.ใส่ดินแล้วรดน้ำ
5. พอ 7-10 วันหลังจากที่เราเริ่มเพาะปลูกคะน้า ผักจะค่อยๆ เริ่มเจริญเติบโต
6.พอเข้าวันที่ 20-25 ของการเพาะปลูก นำต้นคะน้ามาลงปลูกในกระถาง และพอวันที่ 45 สามารถเก็บผักคะน้าได้
การให้น้ำผักคะน้า แบบกระถาง :
น้ำเป็นสิ่งสำคัญ หมั่นดูแลรดน้ำทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและช่วงเย็น อย่างสม่ำเสมอ
ขัั้นตอนการเก็บผักคะน้า
1. ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกในการขนส่ง
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
- เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
- ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
- อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
- หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
- ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด
คำแนะนำปลูกผักคะน้า
- ผักคะน้าเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
- ถ้ามีวัชพืชขึ้นในระยะแรกควรกำจัดโดยเร็ว เพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและธาตุอาหารของผักคะน้า
- ผักคะน้าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 45 – 60 วัน เนื่องจากผักคะน้าสามารถนำทุกส่วนมาบริโภคได้ ดังนั้นจึงควรเก็บโดยถอนด้วยมือให้ใบต้นและรากไม่ขาดออกจากกันแต่ก่อนถอนควรรดน้ำบนแปลงให้ดินอ่อนเสียก่อน เพื่อสะดวกในการถอน เมื่อถอนเสร็จแล้วนำไปล้างดินออก ตกแต่งโดยเด็ดใบเหลืองใบแห้งทิ้ง
- การปลูกคะน้าด้วยวิธีการหว่านเมล็ด ลดการจัดการ ย่นระยะเวลาการเก็บเกี่ยว
โรคที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อปลูกผักคะน้า
1.โรคใบจุด
สาเหตุ – เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
ลักษณะอาการ
เริ่มต้นจะเกิดจุดเล็กๆ ต่อมา เกิดแผลขยายออกเป็นวงกลมสีน้ำตาลหรือดำซ้อนกันหลายชั้น จากนั้นเนื้อเยื่อตรงกลางจะบางมีขนาดไม่สม่ำเสมอ แผลจะขยายลามติดกัน
การป้องกันกำจัด
- เมื่อตรวจพบให้ทำลายต้นนั้นทิ้ง
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่แช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที ปลูกพืชหมุนเวียบ หรือ คลุกเมล็ดด้วยสารเมทาแลกซิล
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
- ใช้สารเคมี ตัวบวก แมนโคเซป(โปรมาเซบ 80) + คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
2.โรคราน้ำค้าง
สาเหตุ – เกิดจากเชื้อรา Peronospona parasitica
ลักษณะอาการ
ที่ใต้ใบจะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป ใบที่มีเชื้อราจะแห้งเหี่ยวและมีสีเหลือง
การป้องกันกำจัด
- ทำการฆ่าเชื้อที่เมล็ดก่อนนำมาปลูก โดยนำไปแช่แช่ในนํ้าอุ่น 49 – 50° ซ. นาน 20 – 25 นาที ปลูกพืชหมุนเวียบ หรือ คลุกเมล็ดด้วยสาร เมทาแลกซิล(ลอนซาน 35)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis (Dithiocarbamate) (กลุ่ม M03) เช่น โพรพิเนบ(แอนทาโคล) หรือ แมนโคเซป(ฮัมบรูก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile (กลุ่ม M5) เช่น คลอโรทาโลนิล(ไทสกาย) ชนิดน้ำ หรือ คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) ชนิดผง เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Strobilurin (กลุ่ม 11) เช่น อะซอกซีสโตรบิน(สโตบิน) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น ไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม) เป็นต้น
3.โรคเน่าคอดินของคะน้า
สาเหตุ – เชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp
ลักษณะอาการ
เป็นแผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลจะเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
- ปลูกต้นคะน้าให้มีระยะห่างที่เหมาะสม ให้มีอาหาศถ่ายเท และไม่มีน้ำขัง
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นานประมาณ 30 นาที
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Phenylamide เช่น เมทาแลกซิล(ลอนซาน 35) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม(ไธอะโนซาน) เป็นต้น
4.ศัตรูพืช
4.1 หนอนกระทู้ยาสูบ,หนอนกระทู้ฝ้าย,หนอนเผือก
ลักษณะการทำลาย – จะกัดกินทั้งลำต้น ไม่ว่า ใบ ดอก ก้าน หรือผล
การป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
4.2 หนอนกระทู้หอม ชื่อสามัญอื่น หนอนหลอด หนอนหอม หนอนหนังเหนียว
ลักษณะการทำลาย – ในระยะหนอนวัย 3 จะกิดกินทุกส่วนของพืช ใบ ดอก ต้น
การป้องกันกำจัด
- ลดแหล่งขยายพันธุ์โดยการไถตากดินหรือกำจัดเศษซากพืช
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารกำจัดแมลงจากธรรมชาติ
- สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) หรือลูเฟนนูรอน เป็นต้น
4.3 หนอนใยผัก
ลักษณะการทำลาย – หนอนชนิดนี้มีขนาดเล็กทำให้พบเห็นได้ยาก และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว โดยตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างและเข้าไปกัดกินยอดใบผักจนได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูที่บริเวณกะหล่ำดอก คอยกำจัดหนอนใยผัก
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค) และเดลทาเมทริน(เดซิส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrazole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
- ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทรูรินเจนซิส(ฟลอร์แบค) ทำลาย
- ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
ต้นทุนการผลิต คะน้าต่อพื้นที่ 1 ไร่โดยเฉลี่ย
- ค่าเมล็ดพันธุ์ 200 บาท
- ค่าเตรียมดิน 500 บาท
- ค่าแรงงานการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1,500 บาท
- ค่าปุ๋ย 1,300 บาท
- ค่าสารป้องกันและกําจัดศัตรูพืช 1,000 บาท
ค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ย 4,500 บาท
อ้างอิงจาก
- https://www.rakbankerd.com
- https://decor.mthai.com
- http://www.trgreen.co.th
- https://www.kasetsomboon.com