จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557

จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557
จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557

จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557

ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2556 ที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า แม้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี บรรยากาศการท่องเที่ยวของไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวหลักของไทย คือ กรุงเทพฯ ซึ่งมีผลกระทบทางจิตวิทยาต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวที่ยังไม่คุ้นเคยกับประเทศไทยมาก่อน ปรับเปลี่ยนปลายทางท่องเที่ยวเป้าหมายไปยังเมืองท่องเที่ยวในต่างจังหวัด รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน

ในขณะเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายท่องเที่ยวเพื่อควบคุมคุณภาพทัวร์ของทางการจีน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 เป็นเหตุให้ตลาดกรุ๊ปทัวร์จีนขาออกปรับฐานการตลาดตามระเบียบข้อบังคับใหม่ โดยบริษัทนำเที่ยวรายใหญ่ของจีน (ส่วนใหญ่อยู่ในปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้) จัดกรุ๊ปทัวร์ต่างประเทศเดินทางด้วยเที่ยวบินประจำ หรือสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเดินทางด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำเช่นที่ผ่านมา ส่งผลให้กรุ๊ปทัวร์มาไทยถดถอยลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 คงมีแต่นักท่องเที่ยวชาวจีนกลุ่มเดินทางท่องเที่ยวอิสระที่เดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้ในเอเชียของไทยชะลอการเติบโตลงในช่วงปลายปี 2556 ทั้งด้วยสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ และการปรับตัวของตลาดกรุ๊ปทัวร์จีนกับกฎหมายควบคุมคุณภาพทัวร์ แต่การท่องเที่ยวไทยยังได้แรงเกื้อหนุนจากการขยายตัวของตลาดท่องเที่ยวระยะไกลในยุโรป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของหลายประเทศในยุโรปเริ่มส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวไทยยังมีหลายปัจจัยที่ช่วยสนับสนุน โดยเฉพาะการเติบโตของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ รวมทั้งการเพิ่มเส้นทางบินตรงจากตลาดสำคัญๆ มายังเมืองท่องเที่ยวหลักของไทยในภาคต่างๆ ทั้งเที่ยวบินประจำ และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ อีกทั้ง ประเทศไทยยังเป็นปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวระยะใกล้ในภูมิภาคเอเชีย

ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้โดยรวมตลอดทั้งปี 2556 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 26.74 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 จากปีก่อนหน้า และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลาดนักท่องเที่ยวต่างของไทยในปี 2556 มีแนวโน้มก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.23 ล้านล้านบาท สะพัดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 จากปีก่อนหน้า โดยนักท่องเที่ยวจีนยังครองตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามลำดับ

จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557
จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557

แนวโน้มตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2557 : คาดประมาณ 28.0-28.5 ล้านคน

การชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ ที่ยืดเยื้อจากช่วงปลายปีที่แล้ว ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2557 โดยได้ยกระดับการชุมนุมเป็นการชัตดาวน์กรุงเทพฯ และตามมาด้วยการที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เป็นเวลา 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2557 ซึ่งส่งผลให้ทางการของหลายประเทศยกระดับการเตือนพลเมืองของตนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปยังกรุงเทพฯ
จากสถานการณ์ดังกล่าว มีแนวโน้มส่งผลบั่นทอนการเติบโตของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย โดยเฉพาะตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้ในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าตลาดท่องเที่ยวระยะไกลในยุโรปของไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นบ้างแล้วก็ตาม

ทำให้ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557 อาจจะขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ภายใต้สถานการณ์ปกติ ที่คำนึงถึงผลกระทบของกฎหมายควบคุมคุณภาพทัวร์จีนเข้าไปแล้ว โดยก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการว่า ในปี 2557 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมายังประเทศไทยประมาณ 29.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 จากปี 2556 และมีแนวโน้มก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวเข้าประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินภาพผลกระทบของสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ต่อแนวโน้มตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2557โดยพิจารณาออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 เหตุการณ์ชุมนุมฯ สามารถคลี่คลายลงสู่ภาวะปกติได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2557 : คาดต่างชาติเที่ยวไทย 28.5 ล้านคน และสร้างรายได้ท่องเที่ยวสะพัด 1.38 ล้านล้านบาท หากสถานการณ์การชุมนุมฯ คลี่คลายลงสู่ภาวะปกติได้ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มหดหายไปจากปกติ ประมาณ 5 แสนคน และสูญเสียรายได้ท่องเที่ยวคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 รวมทั้งสิ้น 7.0 ล้านคน สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2557 ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มสามารถปรับตัวกลับมาเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้โดยรวมตลอดทั้งปี 2557 คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 28.5 ล้านคน และมีแนวโน้มก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวสะพัดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่า 1.38 ล้านล้านบาท

กรณีที่ 2 เหตุการณ์ชุมนุมฯ ยืดเยื้อไปถึงช่วงกลางปี 2557 : คาดต่างชาติเที่ยวไทย 28.0 ล้านคน และสร้างรายได้ท่องเที่ยวสะพัด 1.35 ล้านล้านบาทหากสถานการณ์การชุมนุมฯ ยืดเยื้อไปถึงกลางปี 2557 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มหดหายไปจากปกติประมาณ 1 ล้านคนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2557 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 20.4 ล้านคนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2557 สำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มสามารถปรับตัวกลับมาเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้โดยรวมตลอดทั้งปี 2557 คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งสิ้นประมาณ 28.0 ล้านคน และมีแนวโน้มก่อให้เกิดรายได้ท่องเที่ยวสะพัดสู่ธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่า 1.35 ล้านล้านบาท
ปัจจัยหนุนและประเด็นเฝ้าระวังสำหรับภาคการท่องเที่ยวในปี 2557

จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557
จับตามอง ภาคการท่องเที่ยวของไทยในปี 2557

ธุรกิจบริการท่องเที่ยวเร่งปรับตัว… พร้อมรับแนวโน้มท่องเที่ยวปี 2557

ในปีนี้ ภาคธุรกิจบริการด้านท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มจะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการทั้งในและนอกพื้นที่การชุมนุมฯ ควรจะมีแนวทางการปรับตัว เพื่อช่วยประหยัดต้นทุนหรือเพิ่มพูนรายได้ให้กับธุรกิจของตนได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้แบ่งการวิเคราะห์ภาคธุรกิจบริการท่องเที่ยวออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง – ทำเลที่ตั้งของธุรกิจอยู่ในพื้นที่การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง และ (2) ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม – ทำเลที่ตั้งของธุรกิจที่ อยู่ในพื้นที่ปลอดจากการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง

ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ กลุ่มธุรกิจที่มีทำเลที่ตั้งในพื้นที่การชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง โดยเฉพาะธุรกิจบริการด้านที่พักในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงธุรกิจนำเที่ยวที่เน้นการนำเสนอ แพ็จเกจท่องเที่ยวมายังเมืองหลวงของไทย

ธุรกิจโรงแรม

อัตราการเข้าพักในธุรกิจด้านที่พักลดลง ทั้งนี้ หลังจากเหตุการณ์การชุมนุมฯ อัตราการเข้าพักแรมปรับลดลงมาตามลำดับ นอกจากนี้ สถานการณ์ทางการเมือง ยังส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางส่วนชะลอการปรับขึ้นราคาห้องพักในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของปี 2557 (พฤศจิกายน 2557 – กุมภาพันธ์ 2558) จากที่มีแนวโน้มจะปรับราคาห้องพักขึ้นร้อยละ 10-15

การปรับตัว

-> ในระยะนี้ ผู้ประกอบการควรจะเลือกนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ทั้งลูกค้าทั่วไปและลูกค้าเฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ ควรจะมีช่องทางการสื่อสารควบคู่กันไป เพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูล ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย รวมถึงการเปลี่ยน ปลายทางการจอง จากที่พักในพื้นที่ชุมนุมฯ ไปยังแหล่งท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาคของไทย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเป้าหมายได้

-> ขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรจะต้องดูแลเรื่องการบริหารจัดการรายได้และรายจ่าย รวมถึงการ บริหารสภาพคล่องของธุรกิจเป็นพิเศษในช่วงนี้ เนื่องจาก ธุรกิจมีต้นทุนคงที่ (เช่น ค่าเช่า เงินเดือน พนักงาน เป็นต้น) ซึ่งต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ไม่ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง

ธุรกิจนำเที่ยว/ ธุรกิจทัวร์

ในส่วนผู้ประกอบการนำเที่ยวก็ประสบปัญหาในการนำเสนอขายแพ็จเกจทัวร์ทั้งแก่นักท่องเที่ยว ทั่วไปและบริษัททัวร์คู่ค้า เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนไม่มั่นใจในความปลอดภัย หากเลือกเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ประกอบกับการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ส่งผลให้บริษัทประกันภัยจะงดจ่ายเงินสินไหมทดแทนสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทย เนื่องจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าว แสดงถึงความรุนแรงในพื้นที่ ดังนั้น พื้นที่ดังกล่าวย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าพื้นที่ปกติ

การปรับตัว

->การขยายตลาดนักท่องเที่ยวคนไทยเพื่อชดเชยตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ด้วยการนำเสนอแพ็จเกจทัวร์เพื่อกระตุ้นการเดินทางของคนไทยทั้งเส้นทางท่องเที่ยวในประเทศ และ ต่างประเทศ ก็จะช่วยชดเชยรายได้ที่สูญเสียจากการหดหายไปของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ของไทยได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ ควรมุ่งเน้นการขยายตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มประชุมสัมมนาในหมู่บริษัทเอกชนและองค์กรภาครัฐ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มศักยภาพที่ยังคงใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยว และมีลู่ทางเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจด้านประกัน (เช่น ประกันภัย ประกันชีวิต เป็นต้น)และธุรกิจขายตรง ที่นิยมจัดการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentives) สำหรับพนักงานขายที่มีผลงานโดดเด่น

ในขณะที่ ธุรกิจที่ได้รับผลพวงทางอ้อม คือ ผู้ประกอบการธุรกิจในปลายทางท่องเที่ยวในส่วนภูมิภาค อาทิ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลในภาคใต้ (อาทิ ภูเก็ต กระบี่ พังงา และสมุย) แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในภาคเหนือ (อาทิ เชียงใหม่ และเชียงราย) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดจากการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง ที่นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ (อาทิ ความไม่สะดวกด้านการจราจร

การให้บริการของหน่วยราชการต่างๆ และความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์รุนแรง เป็นต้น) อันสืบเนื่องมาจากการชุมนุมฯ ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ ประกอบกับยังเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลในภาคใต้ ทำให้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้คับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวระยะไกลจากภูมิภาคยุโรป ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือก็ยังได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวคนไทยด้วยภูมิอากาศที่หนาวเย็นนานกว่าทุกปี ฉะนั้น ผู้ประกอบการ จึงควรใช้โอกาสที่เอื้ออำนวยดังกล่าวด้วยการเร่งนำเสนอโปรโมชั่นด้านบริการใหม่ๆ และเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถรองรับและให้บริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้า รวมถึงการกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่เข้มงวดแก่นักท่องเที่ยว

ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

ภายใต้สถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปลายปี 2556 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจด้านท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่องของไทย (ทั้งกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยตรงและโดยอ้อม) จึงควรปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความพร้อมของธุรกิจแต่ละราย โดยการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการธุรกิจ โดยเฉพาะการบริหารจัดการต้นทุนและกำไร การให้บริการให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ในทุกกรณี ขณะเดียวกัน ควรจัดให้มีช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและประชาชนทั่วไป เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์ล่าสุด และบริการต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านท่องเที่ยว ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพด้านงานบริการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการกำหนดมาตรฐานด้านราคาที่ชัดเจน และพัฒนาช่องทางการสื่อสารให้นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้โดยตรง ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว รวมถึงช่วยลดปัญหาการหลอกลวงนักท่องเที่ยวลงได้ เหล่านี้ล้วนช่วยหนุนภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวของไทยในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มกราคม 2557

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *