ขายกางเกงยีนส์ “SELVEDGEWORK”
เจาะ NicheMarket ผลิตสินค้าชิ้นเดียวในโลก
“ขายกางเกงยีนส์” หนึ่งเส้นทางอาชีพที่น่าสนใจ เพราะเป็นสินค้าแฟชั่นประเภทเครื่องแต่งกายที่ใครๆ ก็สวมใส่เป็นวงกว้าง หากพูดถึงในด้านกางเกงยีนส์แล้ว ในแง่ของความนิยมแทบไม่ต้องพูดถึง เมื่อเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสูงพอสมควร แต่หากว่าค่านิยมของคนทั่วไปในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบสวมใส่กางเกงยีนส์ มักหลงใหลในแบรนด์ ทำให้ธุรกิจขายกางเกงยีนส์หากต้องสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาแข่งด้วยนั้น อาจเป็นเรื่องยากไปเสียหน่อย วันนี้จึงมีหนึ่งธุรกิจขายกางเกงยีนส์ที่เกิดขึ้นโดยไม่หวังแข่งกับใครด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องของการผลิตสินค้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ
“ขายกางเกงยีนส์” วันนี้เป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งต่อยอดมาจากธุรกิจครอบครัว มีชื่อแบรนด์ว่า “SELVEDGEWORK” ที่มุ่งเน้นในการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นเดียวในโลก เพราะสินค้าดังกล่าวจะผลิตขึ้นตามความต้องการของลูกค้าคนนั้นๆ โดยตรง เป็นการมุ่งตลาดเฉพาะเจาะจง (niche market) ซึ่งเจ้าของแนวคิดดังกล่าวมีนามว่า “วิชพงษ์ หัตถสุวรรณ” หรือ “บูม” ด้วยอายุเพียง 24 ปี จากแนวคิดเมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 3 ด้านการตลาด ก็เกิดความคิดที่อยากจะต่อยอดธุรกิจที่บ้าน ซึ่งเดิมทีมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการผลิตกางเกงยีนส์อยู่แล้ว
คุณบูมเล่าให้ฟังว่าทางครอบครัวประกอบธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM) กางเกงยีนส์ให้กับแบรนด์ดังๆ มากว่า 30 ปี ขณะที่ตนเองก็มีใจรักในแฟชั่นกางเกงยีนส์ และมีความสนใจในสินค้านี้อยู่แล้ว ทำให้มีประสบการณ์การหาซื้อมาใช้เอง ซึ่งก็พบปัญหาบ่อยครั้งจากธุรกิจขายกางเกงยีนส์หลายๆ ครั้งที่มีคุณสมบัติไม่ตรงต่อความต้องการของตัวเอง 100% บ้างอาจมีทรงที่ถูกใจแต่เนื้อผ้าไม่ถูกใจ หรือบ้างก็อาจมีเนื้อผ้าที่ถูกใจแต่ทรงไม่ถูกใจนั่นเอง
ทำให้แนวคิดการขายกางเกงยีนส์เพื่อมุ่งตลาดเฉพาะเจาะจงเกิดขึ้น โดยการผลิตสินค้าให้เป็นสินค้าพรีเมี่ยม คือผลิตตามคำสั่งของลูกค้า โดยทุกกระบวนการการผลิตสินค้าในธุรกิจ ลูกค้าจะมีส่วนร่วมด้วยทุกขั้นตอน ตามจุดประสงค์หลักที่มุ่งเน้นการสร้างสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ซึ่งสินค้าชิ้นนั้นจะเป็นชิ้นเดียวในโลก ตอบโจทย์ลูกค้ารายบุคคลโดยเฉพาะ ถือเป็นการพลิกวงการขายกางเกงยีนส์รูปแบบใหม่ โดยที่ไม่ต้องแข่งขันกับแบรนด์ใหญ่ๆ ให้เหนื่อย
นอกจากเอกลักษณ์ของธุรกิจขายกางเกงยีนส์ SELVEDGEWORK จะอยู่ที่กระบวนการผลิตแล้ว ในเรื่องของวัตถุดิบก็โดดเด่นไม่แพ้กัน เพราะมีการคัดสรรอย่างดี ทั้งยังมีช่างตัดเย็บฝีมือดีซึ่งจ้างมาโดยเฉพาะ ก็ทำให้ต้นทุนในการผลิตยีนส์แต่ละตัวนั้นค่อนข้างสูง ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงด้วย และนั่นก็เป็นอุปสรรคครั้งหนึ่งที่คุณบูมต้องเจอ เพราะเขาเคยท้อจนเกือบเลิกล้มธุรกิจไปแล้ว แต่ด้วยเหตุของกระแสตอบรับจากกลุ่มลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้เขาต้องตัดสินใจใหม่และต่อสู้กับมันอีกครั้ง ภายใต้ความคิดที่ว่าลูกค้าพร้อมจะจ่ายในสินค้าที่สมบูรณ์แบบ
เริ่มต้นครั้งแรกของการขายกางเกงยีนส์ SELVEDGEWORK มีเพียงช่องทางออนไลน์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงลูกค้า ได้แก่ Facebook และ Instagram ซึ่งผลตอบรับนั้นดีขึ้นเรื่อยๆ จนเขาตัดสินใจมีหน้าร้านในครั้งแรกเมื่อปี 2557 ตั้งอยู่ที่สยามสแควร์ซอย 2 ก็มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเรื่อยมาจนกลายเป็นที่นิยมสูง
การผลิตจะให้ลูกค้าสั่งการเองทุกขั้นตอนตั้งแต่เลือกทรงและเลือกเนื้อผ้า สำหรับทรงกางเกงยีนส์ในธุรกิจนั้นจะประกอบไปด้วยทรง Super Skinny, Skinny, Slim และStraight ขนาดเอวจะมีให้เลือกตั้งแต่ 25 นิ้วไปจนถึง 40 นิ้ว ในส่วนของความยาวขาจะวัดให้เหมาะสมกับร่างของลูกค้าแต่ละราย สำหรับเนื้อผ้านั้นมีให้เลือกกว่า 30 ชนิดด้วยกัน จากโรงงานทอผ้าชื่อดัง การันตีคุณภาพสินค้าที่จะสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้โดยง่าย
ราคาขายสินค้าจะเริ่มต้นที่ 6,900 และสูงสุดที่ราคา 15,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้องาน โดยกางเกงยีนส์แต่ละตัวจะใช้เวลาผลิตประมาณ 7- 15 วัน จุดเด่นของสินค้าอีกหนึ่งอย่างคือการยิงเลเซอร์ตัวอักษรเพื่อระบุชื่อลงบนกางเกงยีนส์ ที่จะทำให้สินค้าชิ้นนั้นเป็นชิ้นเดียวในโลก เป็นสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง ที่ลูกค้ารู้สึกยินดีที่จะจ่ายในสินค้าราคาสูงแบบไม่รู้สึกเสียดาย
ปัจจุบันมีออร์เดอร์ต่อเดือนเฉลี่ยเดือนละ 100 ตัว กลุ่มลูกค้าเป็นคนไทย 60% และต่างชาติ 40% โดยลูกค้ากว่า 80% เป็นผู้ชาย สำหรับแผนการตลาดในอนาคตคือการทำเว็บไซต์ต่างประเทศ มีโปรแกรมอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ลูกค้าทั่วโลกสามารถสั่งทำกางเกงยีนส์ได้เหมือนมาที่ร้านเอง
ข้อมูลติดต่อธุรกิจขายกางเกงยีนส์ SELVEDGEWORK
ที่อยู่ : หน้าร้านอยู่ที่สยามสแควร์ซอย 2
โทรศัพท์ : 02-658-0486
Website : http://www.selvedgework.com
Facebook : Selvedgework
Instagram : @selvedgework
Youtube official : Selvedgework Custom Handcrafted Denim
หมายเหตุ รูปภาพและวิดีโอที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น