ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน

ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน
รูปภาพจาก : seeyourinterest.com

ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ เชิญไปบรรยายหัวข้อ “ผลกระทบของ AEC ที่มีต่อผลิตภัณฑ์อาหารและ เครื่องดื่ม” ผมขอเริ่มอย่างนี้ก่อนครับ ในปี 2557 มูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน อยู่ที่ 450,000 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นมูลค่าของตลาดโลกจะอยู่ที่ 32 ล้านล้านบาท ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารและ เครื่องดื่ม 10 อันดับแรกของโลก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ เยอรมันและในแถบยุโรป สำหรับประเทศอาเซียน ผู้ส่งออกหลักที่ส่งออกไปยังตลาดโลก จะเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเก่า 5 ประเทศ

โดยมีประเทศอินโดนีเซียส่งออกมากเป็นอันดับที่หนึ่งด้วยมูลค่า 1.03 ล้านล้านบาท ตามด้วย ประเทศไทยมูลค่า 1 ล้านล้านบาท และมาเลเซียเป็นอันดับที่ 3 ด้วยมูลค่า 8 แสนล้านบาท ผมคิดว่าที่อินโดนีเซียแซงหน้าประเทศไทย น่าจะมาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ที่มียอดการส่งออกลดลงในระยะที่ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งออกข้าวของไทย และหากให้มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของอาเซียนเป็น 100% เมื่อคิดตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2557 พบว่าประเทศอาเซียนเก่าส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 78% ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 82% ในปี 2557 ในขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของกลุ่มประเทศ CLMV มีส่วนแบ่งตลาดที่ลดลงจาก 21% เหลือเพียง 18% และเมื่อพิจารณาด้านการนำเข้าบ้างพบว่า ประเทศในกลุ่ม CLMV มีสัดส่วน การนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 25% เป็น 31% ในขณะที่กลุ่มอาเซียนกลับมีสัดส่วนการนำเข้าที่ลดลงจาก 74% เหลือ 68% นั้นสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มประเทศใน CLMV จะมีการนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 40% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน
รูปภาพจาก : weddinghigh.com

สำหรับผู้ส่งออกอาเซียนที่ส่งออกในตลาดอาเซียนมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ไทย มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 123,270 ล้านบาท ส่วนแบ่งตลาดของไทยในอาเซียนเพิ่มจากจาก 25% เป็น 27% ในช่วงปี 2553 ถึง 2557 ในขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของมาเลเซีย ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ส่วนแบ่งการตลาดของอินโดนีเซียปรับลดลง

สำหรับตลาดส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของไทย มีมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นตลาดหลัก แต่ที่น่าสนใจคือ ตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการค้าขายตามแนวชายแดน ที่กลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทยได้รับความ นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายแดนพม่า กัมพูชา และลาวและ เมื่อลงไปพิจารณาในรายตลาดที่สำคัญของสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ของไทย ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์พบว่า มาเลเซียมีการนำเข้าสินค้าด้วยมูลค่า 140,000 ล้านบาท กลุ่มหลัก เป็นน้ำมันมะพร้าวและข้าว น้ำตาล ปลาสดแช่เย็น แต่ที่น่าสนใจคือ สัดส่วนการนำเข้าของโกโก้ และสิ่งสกัดจากมอลต์ มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในขณะที่การนำเข้าของอินโดนีเซียนั้น สินค้าอาหารส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าที่ประเภทสินค้าใกล้เคียงกันกับของมาเลเซีย

แต่ที่แตกต่างตรงที่การนำเข้าของอินโดนีเซียนั้น มีการนำเข้าเครื่องดื่มและอาหารประเภทขนมปัง เค้ก และบิสกิต มากขึ้น เป็นเพราะ มีการรณรงค์ให้มีการบริโภคสินค้าอาหารที่เป็นประเภทข้าวลดลง เพื่อต้องการลดการนำเข้าข้าวจากประเทศอาเซียน รวมทั้งรายได้ของคนชั้นกลางของอินโดนีเซียที่มีเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ต้องบริโภคอาหารสำเร็จมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารประเภทกล่อง (Packed Food) ที่สามารถบริโภคได้เลย รวมทั้งวิธีชีวิตประจำวันของอินโดนีเซียก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็น “สังคมคนทำงาน” นอกจากนี้ยังมีการบริโภคกลุ่มอาหารที่ใกล้เคียงกับประเภทแรกคือ อาหารบะหมี่สำเร็จรูป นม และอาหารเด็ก เป็นต้น การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากมาเลเซียและไทย

ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน
รูปภาพจาก : melbourneeguide.com

ส่วนการนำเข้าของสิงคโปร์ มีการนำเข้าสินค้าเครื่องดื่มและกุ้ง ปู และปลาแช่แข็งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับอีกสินค้าหลายประเภท สำหรับความท้าทายของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของไทยในอนาคต คงหนีไม่พ้นมาตรการที่มิใช่ภาษี จากกลุ่มประเทศอาเซียนเก่าที่มีการก าหนดเข้มข้น ในสินค้าอาหาร เช่น กลุ่มสินค้าข้าวและน้ าตาล ยังไม่เป็นศูนย์ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ นอกจากนี้กลุ่มสินค้าอาหารจากประเทศ CLMV ก็ใช่ย่อยที่ไหนละ มีอีกหลาย รายการที่กำหนดให้ภาษีไม่เป็นศูนย์ ที่เรียกว่า “Sensitive List” ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าอาหารและเครื่องดื่มแทบทั้งสิ้น

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มาจาก AEC” และสิ่งท้าทายต่อผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มไทยและสิ่งที่เราต้องเร่งดำเนินการ นั้น ไทยจะมีคู่แข่งที่สำคัญจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่เป็นหลากหลายสินค้ามากขึ้น เดิมสินค้าเหล่านี้ ขายในบ้านเขา แต่พอ AEC เปิดเต็มรูปแบบ ทั้งผู้นำเข้าและนักธุรกิจจะนำสินค้าเหล่านี้ ออกมาทำตลาดมากขึ้น นอกจากนี้จะมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในตลาด CLMV และเกิด “Price War” ในตลาด CLMV อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามราคาของสินค้าไทยด้วยกันเองในอนาคตสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม จะไม่มีมาจากกลุ่มประเทศ CLMV แต่กลุ่มประเทศเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตลาดให้กับกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของประเทศอาเซียนเก่า รวมทั้งไทยด้วย หากไม่มีการวางแผนการตลาดหรือทำการเจาะตลาดให้ลึกซึ้งมากพอ มีสินค้าอาหารบางรายการอาจจะสูญเสียตลาดได้เช่นโดยเฉพาะ กลุ่มอาหารกล่อง ประเภทขบเคี้ยว และขนมปังในรูปแบบต่าง (สินค้ากลุ่มนี้มาเลเซียถนัดทำ)ผมขอเสนอแนะสิ่งที่ผลิตภัณฑ์อาหารไทยต้องเร่งทำคือ

ความท้าทายผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน
รูปภาพจาก : www.izmailovo.ru

1. สร้างศูนย์กระจายสินค้าไทยในประเทศอาเซียนโดยเป็นการลงทุนของภาคเอกชน รัฐฯ ทำหน้าที่ช่วยเจรจาหาสถานที่ให้โดยการเจรจากับประเทศในอาเซียน เช่น เจรจาการเช่าตึกในอาเซียนแล้วตั้งเป็น “Thailand Food Bazaar” ตึกนี้จะต้องเป็นโอกาสของสินค้าโอทอปของไทยทั้ง 4 และ 5 ดาวสามารถน าไปขายที่ตึกนี้ได้เลย ผมพูดอย่างนี้เพราะ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มของไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs หากไม่ช่องทางจำหน่ายให้เค้า “โอกาสยาก” ครับ ที่จะเข้าไปขายในตลาดอาเซียนได้

2. ผ่านช่องทางการจำหน่ายในตลาดดั้งเดิม ต้องอย่าลืมครับว่า ในกลุ่ม CLMV การค้าแบบสมัยใหม่ยังมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นตลาดสด 90% ที่เหลือเป็นการค้าแบบสมัยใหม่ วิธีการเจาะตลาดดั้งเดิมทำอย่างไรครับ ท่านต้องมีบูธเล็ก เพื่อวางสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของท่านให้ผู้บริโภคใน CLMV ได้ลิ้มลองชิม วิธีนี้จะเป็นวิธีที่เข้าถึง “แม่บ้านโดยตรง” เพราะหากเราเอาของไปวางในห้างสมัยใหม่ SMEs อย่างเรา คงไม่มีเงินทุนมากพอ ต้นทุนในการเช่าแพงครับ

3. ไปดึงบริษัทหรือผู้นำเข้าสินค้าของประเทศอาเซียน ที่ท่านมีแผนว่าจะนำสินค้าไปขาย เข้ามาดูงานในบริษัทท่าน ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้เลย “เพื่ออะไรครับ” เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้บริโภค หากเขามั่นใจในตัวสินค้าของเรา การคุยเรื่องราคาจะง่ายขึ้นครับ

4. จะอย่างไรก็แล้วแต่ มีหลายเสียงบอกว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงนี้เป็นดาบสองคมครับ หากท่านคิดว่า ผู้บริโภคของอาเซียนชอบสินค้าไทยอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำมาตรฐานหรือคุณภาพมาก การคิด อย่างนี้ถือว่า “ผิดมหันต์” ตรงนี้อันตรายครับ เพราะถ้าเขาปฏิเสธหรือตีกลับ จะส่งผลเสียอย่างมากต่อทั้งอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย หน้าที่ท่านต้องทำให้สินค้าอาหารและเครื่องดื่มมีคุณภาพมากขึ้นไปอีก

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (ASEAN+) ปีที่ 5 ฉบับที่ 210 วันที่ 29 กันยายน 2558 หน้า 2
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *