จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาหลายปีสภาวะการแข่งขัน ของธุรกิจโรงงานโดยเฉพาะสายการที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าเครื่องใช้หรืออะไหล่จักรกลต่างๆล้วนมีการแข่งขันที่สูงขึ้นทุกปี เพราะว่าปัจจัยหลักๆเกิดจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวันทำให้เกิดโอกาสในการลงทุน ซึ่งทำให้นักลงทุนต่างๆก็ต้องการที่จะแสวงหาผลกำไรจากช่องทางเหล่านั้นเอง ฉะนั้นหากว่าโรงงานไหนสามารถผลิตสินค้าต่างๆได้มาตรฐานได้ตามที่ลูกค้าต้องการและใช้เวลาการผลิตที่รวดเร็ว
รวมถึงต้นทุนต่างๆที่ใช้ในการผลิตที่ต่ำ ก็สามารถตอบโจทย์ลูกค้าเหล่านั้นได้ โรงงานของเราก็จะกลายเป็นที่ต้องการของลูกค้าหลายคน ซึ่งแน่นอนว่าเราจะต้องมีการควบคุมการผลิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ ควบคุมและพัฒนามาตราฐานการผลิตทั้งแรงงานและเครื่องจักร รวมไปถึงจัดการระยะเวลาและต้นทุนที่ต่ำหากเราควบคุมทกุปัจจัยตามที่กล่าวมาได้ทั้งหมดนั้นโรงงานของเราก็จะสามารถที่จะประสบความสำเร็จเติบโตและยั่งยืนได้
ก่อนอื่นเลยหากเราต้องการประสบความสำเร็จเรา จะต้องย้อนกลับมาเริ่มทำการคิดวิเคราะห์กระบวนการผลิตของเราทั้งหมดอย่างละเอียดเพื่อที่จะกำจัดจุดอ่อนหรือจุดบอดของเราเสียก่อน ซึ่งเราก็สามารถแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ การจัดการกระบวนการผลิต ควบคุมมาตราฐานการผลิต จัดการแรงงานในการผลิต วางแผนงบประมาณและควบคุม ระยะเวลาในการผลิต โดยที่เราจะต้องดึงศักยภาพในแต่ละส่วนให้ออกมาได้สูงสุดเท่านั่นเอง
เริ่มจากการกระบวนการผลิต
ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเลยทีเดียวเพราะว่าสินค้าที่จะออกมาได้นั้น หากเราไม่ควบคุมการผลิตที่ดีมันก็จะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐานหรือมาตราฐานต่ำนั่นเอง โดยที่ก่อนอื่นเลยเราควรที่จะนำกระบวนการผลิตทั้งหมดมาวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นจบ จนถึงแม้ว่ากระบวนการผลิตโดยรวมมันไม่ได้มีข้อผิดพลาดอะไรหรือการวางแผนทีดีมาก่อนแล้วก็ตาม ที่จริงแล้วถ้าหากเราต้องมาควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเรา ควรที่จะมีการนำมาวิเคราะห์ทุกๆ 3-6 เดือนครั้งหรือทุกๆที่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในการผลิตเพราะเราไม่สามารถที่จะปล่อยให้กระบวนการผลิตมันผ่านๆไปเรื่อยๆทั้งๆที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยมันก็สามารถให้มาตรฐานการผลิตลดลง เพราะฉะนั้นจุดบอดที่โรงงานส่วนมากที่ทำให้มาตราฐานการผลิตไม่ได้มาตราฐานมักจะมาจากการละเลยกระบวนการผลิตไปนั่นเอง
การควบคุมมาตรฐานในการผลิต
สิ่งนี้ก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กับปัจจัยอื่นๆเพราะมันตัวชี้วัดคุณภาพสินค้าที่เราผลิตออกมานั่นเอง ซึ่งโรงงานส่วนมากจะละเลยในข้อนี้ไปเพียงแค่ต้องการให้ผลผลิตออกมาได้เท่ากับจำนวนท่ต้องการเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว วิธีการควบคุมมาตราฐานการผลิตที่ดีนั้นก็ ไม่ได้ยากเลยเพียงแค่เราต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตอยู่สม่ำเสมอ เราอาจจะเอารายงานการผลิตออกมาวิเคราะห์ซึ่ง เครื่องจักรสมัยนี้ส่วนมากล้วนมีระบบทำรายงานอยู่แล้ว เราเพียงแค่นำมาวิเคราะห์ข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง แต่ถึงแม้ว่าเราจะควบคุมการผลิตให้ดีแค่ไหนเราก็ต้องมีความผิดพลาดบ้างแต่ก็ขอให้เป็น 1 ใน 100 เท่านั้นก็ดีมากแล้ว การจัดการเรื่องแรงงานและความสามารถในการ ผลิตซึ่งแรงงานในการผลิตเราสามารถแบ่งออกไป 2 ประเภท หลักๆนั้นก็คือ แรงงานคนและแรงงานเครื่องจักรกล แรงงานคนนั้นเราจำเป็นที่จะต้องใส่ใจอย่างมากเลยเพราะว่า แรงงานคนไม่สามารถที่จะทำงานได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆมาก
ซึ่งหากเราต้องแรงผลผลิตออกมาที่ดีเราจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานที่มีคุณภาพซึ่งเราควรจะใช้แรงงานเหล่านั้นในระยะเวลาที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การใช้แรงงานที่ดีควรจะไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ตามโรงงานส่วนมากจะใช้งานแรงงานเหล่านี้มากกว่า 8 ชั่วโมง บางทีลากยาวไปมากกว่า 12 ชั่วโมงก็ดี เพราะพนักงานบางคนอาจจะต้องการเงินโดยการทำงาน over time ซึ่งหลายโรงงานอาจจะคิดว่ามันจะยิ่งทำให้งานเราเสร็จไวขึ้น จริงๆแล้วมันไม่จริงเลย ยิ่งเราปล่อยเวลาให้นานออกไปเรื่อยๆคุณภาพของผลผลิตที่ออกมาจะยิ่งแย่ลงด้วยซ้ำไป ถึงขนาดอาจจะทำให้งานเราช้าลงเพราะพนักงานเหล่านั้น อาจเจ็บป่วยไปได้ด้วยนี่เป็นจุดบอดที่สำคัญของแรงงานมนุษย์ ที่เราควรจะดูแลเป็นอย่างยิ่ง
วิธีแก้ไขก็ไม่ยากเราเพียงแต่จัดสรรรอบเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับขนาดผลผลิตที่เราต้องการ หากเราจำเป็นที่จะต้องผลิตข้ามวันข้ามคืน เราเพียงแค่จัดกะเวลาของแต่ละหน่อยงานเท่านั้นเอง ในด้านของผลผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรนั้น เราจะสามารถผลิตได้ทังวันทั้งคืนเพราะเครื่องจักรไม่มีคำว่าหมดแรง เพียงแต่ว่าต้องคอยตรวจสภาพเครื่องจักที่เราใช้งานอยู่ตลอดเวลาหรือตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามครบกำลังการผลิต เพียงเท่านี้เราก็สามารถที่จะใช้เครื่องจักรได้ตลอดเวลา ในขั้นตอนนี้ไม่ได้หมายความว่าเราควรที่จะใช้เครื่องจักรผลิตแทนแรงงานมนุษย์ เพราะว่างานบางชนิดต้องใช้ความประณีตในการทำงานซึ่งเครื่องจักรไม่สามารถทำได้นั่นเอง ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับตัวงาน
การวางแผนงบประมาณ
ในที่นี้จะหมายถึงทุกอย่างที่ต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสินค้าต่างๆที่ต้องใช้ในการผลิต งบประมาณที่ต้องดูแลรักษาซ่อมแซมเครื่องจักรกลและเงินเดือนของพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องมีงานวางแผน งบประมาณต่างๆที่ดีไม่ใช้ว่าเราแค่กันงบไว้ตามส่วนที่กล่าวมา เราจะต้องมีเงินเย็นไว้จำนวนหนึ่งเพื่อที่จะต้องใช้จ่ายใน สถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเสียหายไม่ว่าด้วยเหตุการณ์อะไรก็ตามเราจำเป็นที่จะต้องสั่ง สินค้าทดแทนมาทันที ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้กันงบประมาณไว้หรือไม่มีเงินเย็น เราก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เลย มัน สามารถนำมาซึ่งความล่าช้าในการผลิตนั่นเอง
ปัจจัยสุดท้ายก็คือการควบคุมระยะเวลาในการผลิตที่ดี
ซึ่งระยะเวลาในการผลิตนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเพราะถ้า หากว่าเราไม่สามารถผลิตสินค้าให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ผลเสียที่ตามมาจะเกิดขึ้นอีกมาก เช่น เราไม่สามารถส่งมอบ สินค้าให้ลูกค้าภายในเวลาที่กำหนดได้ ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในสายงานการผลิตของเรา ลกูค้าปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเราไม่สามารถส่งสินค้าให้ภายในเวลาที่กำหนดได้ ทั้งหมดที่กล่าวมาจะไม่เกิดขึ้นหากเรามีการวางแผนควบคุมเวลาในการผลิตที่ดี วิธีแก้ปัญหาของของเรื่องนี้นั้น เราสามารถแก้ไขได้จากการวิเคราะห์กำลังและความสามารถในการผลิตสินค้าของเรานั่นเอง
เราควรที่จะรู้ว่ากำลังการผลิตของเราด้วยแรงงานที่เรามีอยู่ในขณะนี้สามารถผลิตได้กี่ชิ้นส่วนต่อระยะเวลา 1 ชั่วโมงและหลักจากที่เราสามารถระบุเวลาที่ใช้ในการผลิตได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากแรงงานคนหรือผลิตโดยเครื่องจักร เราก็จะสามารถกำหนดระยะเวลาที่แม่นยำในการส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ ซึ่งแนะนำเพิ่มเติมว่าก่อนที่เราจะกำหนดส่ง สินค้าในลูกค้าเราก็ควรที่จะมีการวางแผนและคำนวณระหว่างจำนวนสินค้าที่ต้องผลิตกับความสามารถในการผลิตของสายงานการผลิตเราเสียก่อนทุกครั้งก่อนที่เราจะกำหนดเวลากลับไป ฃยังลูกค้า ซึ่งโรงงานส่วนมากจะเกิดปัญหานี้บ่อยที่สุดเพราะละเลยกำลังการผลิตของตัวเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นการวิเคราะห์ กระบวนการผลิตต่างๆตั้งแต่ต้นจนจบ โดยทุกโรงงานการผลิตควรที่จะศึกษาในทุกปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนกระบวนการผลิตของสินค้าที่เรารับมาจากลูกค้าในแต่ละประเภทซึ่งความ ต้องการไม่เหมือนกัน เราจึงต้องจัดการกระบวนการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดอีกทั้งยังต้องควบคุมการผลิตให้ได้ มาตรฐานที่ดีตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้ ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับแรงงานที่ใช้ในการผลิตด้วยว่าเราใช้งานแรงงาน เหล่านั้นได้ประสิทธิภาพมากที่สุดรึเปล่า
โดยที่เราควรจะให้งานแรงงานเหล่านั้นตามศักยภาพของแต่ละคนให้เหมาะสม เรื่อง การเงินและงบประมาณนั้นเราก็ไม่สามารถที่จะละเลยได้ เหมือนกันเพราะเราต้องเตรียมงบประมาณไว้ในทุกส่วนอีกทั้งยัง ต้องมีการวางแผนเก็บเงินสำรองไว้เพื่อที่จะใช้โอกาสฉุกเฉินด้วย รวมไปถึงต้องคำนึงถึงระยะเวลาการผลิตว่าเหมาะสมกับ กำลังการผลิตที่มีของเรามากน้อยเพียงใด โดยที่เราจะต้องดึงศักยภาพทั้งหมดออกมาใช้ให้ได้เท่านั้นเอง
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งหลังจากที่เราวิเคราะห์ทุกกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วก็คือการปรับนำกลยุทธ์ใหม่มาใช้ เพราะแน่นอนว่าการแข่งขึ้นทางสายงานการผลิตจะยิ่งสูงขึ้นทุกวัน ในส่วนของคู่แข่งก็ต้องพยายามที่จะหาวิธีพัฒนาการผลิตอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องมีการคิดพลิกแพลงสิ่งใหม่ๆมาพัฒนาการผลิตของเราให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้โรงงานการผลิตของเราดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน อาทิเช่น ศึกษาปรับเทคโนโลยีใหม่ๆให้มาเสริมการผลิตของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพัฒนาโรงงานของเรา เพราะบุคคลเหล่านี้จะเข้ามาเสนอแนวความคิดใหม่ๆให้กับเรานั่นเอง หากเราสามารถทำได้ตามกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาได้นั้นแล้ว โรงงานของเราก็จะสามารถประสบ ความสำเร็จได้อย่างง่ายและอยู่ได้ยั่งยืนในทุกสถานการณ์