10 วิธีตรวจสอบไอเดียธุรกิจของผู้ประกอบการ ว่าใช่..หรือมั่ว!!

Credit: Shutter_M/Shutterstock
Credit: Shutter_M/Shutterstock

10 วิธีตรวจสอบไอเดียการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ ว่าใช่..หรือมั่ว!!

ผู้ประกอบการหลายรายอาจจะยังสงสัยว่าตนเองนั้นพร้อมที่ก้าวเข้าสู่การใช้ชีวิตในโลกแห่งผู้ประกอบการหรือนักลงทุนอย่างเต็มรูปแบบแล้วหรือยัง? ความคิดที่หลายท่านใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจนั้นใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพตามที่มันควรจะเป็นหรือไม่ พร้อมที่จะใช้ในโลกของผู้ประกอบการหรือไม่ เพื่อที่จะพบความสำเร็จสิ่งแรกผู้ประกอบการจะต้องมีความคิดทางธุรกิจที่ดี แต่ความคิดทางธุรกิจที่จะสำเร็จได้นั้น ต้องเป็นมากกว่าเพียงแค่สิ่งที่คุณรู้สึกตื่นเต้นกับมันในแค่ชั่วแรก แต่ผู้ประกอบการจะต้องแน่ใจว่าแนวความคิดนั้นสามารถนำมาใช้งานได้จริง

10. ไอเดียที่คิดขึ้นมานั้น มันแก้ปัญหาได้หรือไม่?
ผู้ประกอบการและหุ้นส่วนจะต้องปรึกษาและทบทวนกันอย่างถี่ถ้วนว่าแนวคิดที่คิดขึ้นมานั้นจะสามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้หรือไม่ และไม่ใช่กลับกลายเป็นว่ากลายมาเป็นปัญหาใหม่ให้ตามแก้ไขเสียเองอีก

9. ผู้บริโภคยินดีที่จ่ายเงินเพื่อมันหรือไม่?
ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ fundable กล่าวว่า “ความคิดจะยังเป็นเพียงแค่ความคิด จนกว่าจะมีลูกค้าจ่ายเงินเพื่อสิ่งที่เป็นผลมาจากมัน” หมายความว่าความคิดนั้นๆจะต้องก่อให้เม็ดเงินหรือสร้างสิ่งที่ลูกค้ายินดีจะจ่ายเพื่อมัน

8. ระดับราคาที่ตั้งไว้?
Charlie Harary ผู้ก่อตั้งและหุ้นส่วนของบริษัทด้านการลงทุน H3 & Co. กล่าวว่า..ในขณะที่มีหลายวิธีจะแก้ปัญหาความคิดทางธุรกิจที่ดีคือค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าสิ่งที่ต้องแบกรับทางการตลาด “เมื่อคุณได้กำหนดว่าคุณจะแก้ปัญหาที่ถูกต้อง คุณจะต้องกำหนดราคา แล้วประเมินว่าวิธีการแก้ปัญหาของคุณครอบคลุมทุกเรื่องและอยู่ในวงจำกัดทั้งทางด้านงบประมาณและบุคลากร

7. มีช่องทางการตลาดขนาดใหญ่เพียงพอหรือไม่?
ไม่มีตลาดขนาดใหญ่รองรับ ความคิดของคุณคุณก็ไม่มีวันพุ่งทะยานขึ้นไปได้..!! Ruben Soto ซีอีโอของบริษัท shapewear กล่าวว่า ในการทำธุรกิจธุรกิจคุณควรจะให้ความสำคัญกับตลาดเฉพาะที่แข็งแกร่ง “เริ่มต้นด้วยการมุ่งเน้นไปที่ตลาดเฉพาะ คุณรู้ไหมว่าสามารถให้ผลตอบรับที่ดีกว่า”

6. ผู้ประกอบการหลงใหลในการทำธุรกิจมากแค่ไหน?
การทำธุรกิจแน่นอนว่าต้องใช้เวลาและใช้ชีวิตทุ่มเทในการทำงาร่วมกับมันแทบจะไม่มีเวลาแยกออกจากกัน ผู้ประกอบการต้องแน่ใจว่าตัวเองมีความกระหายอยากที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ เพราะถ้าหากปราศจากความกระหายในการทำธุรกิจ ธุรกิจก็ไม่มีวันเดินหน้าและก้าวสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

5. ผู้ประกอบการได้ทำการทดสอบแนวคิดหรือยัง?
เพื่อความแน่ใจผู้ประกอบการจะต้องทำการทดสอบแนวความคิดนั้นๆก่อนที่จะลงมือนำมาใช้งานกับธุรกิจ เพราะไม่มีธุรกิจไหนจะปรากฏผลหากไม่ทำการทดลองเสียก่อน การทดสอบอาจจะเริ่มจากการทดลองใช้แนวคิดจากกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูล ประมวลผล และหาเสตุทั้งข้อดีและข้อเสีย มองหาข้อผิดพลาดและความเห็นต่างๆ จากนั้นจึงนำมาปรับแก้เพื่อให้แนวคิดนั้นเกิดความสมบรูณ์แบบ

4. รับฟังคำแนะนำ
“ความสำเร็จจะเกิดขึ้นเมื่อคุณยินดีรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำจากผู้อื่น” ผู้ประกอบการจะต้องเปิดใจรับฟังเสียงจากผู้อื่นทั้งในแวดวงธุรกิจและกลุ่มลูกค้ารวมทั้งคนอื่นๆรอบกายด้วย เพื่อการนำเอาทัศนคติ ประสบการณ์ และแนวความคิดของผู้อื่นมาผนวกเข้าด้วยกันและไตร่ตรองเพื่อไม่ลดความเสี่ยงจากการผิดพลาด

3. วิธีในการจัดการด้านการตลาด
ผู้ประกอบการหลายคนคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ธุรกิจของพวกเข้าต้องได้รับการจะแก้ไข แต่มักไม่ได้เกี่ยวกับวิธีที่ตั้งใจจะเจาะตลาดธุรกิจให้เจาะไปกับลูกค้าเป้าหมายของพวกเขา Jesse Lipson รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Citrix Cloud Services กล่าวว่า..กลยุทธ์การตลาดของคุณสามารถตรวจสอบว่าความคิดทางธุรกิจของคุณเป็นความคิดที่ดี!!

“ถ้าคุณมีแนวทางที่มั่นคงด้านกลยุทธ์การตลาดและสินค้าที่ดี คุณอาจจะประสบความสำเร็จ” แต่ถ้าคุณมีผลิตภัณฑ์ที่ดีแต่ไม่คิดวิธีที่จะเข้าถึงลูกค้าที่มีศักยภาพ มันเป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

2. แนวคิดนั้นเป็นไปตามเป้าหมายของคุณหรือไม่?
“เพียงแค่คุณมีวิสัยทัศน์และการตัดสินใจที่จะทำมัน ไม่ได้หมายความว่าส่วนที่เหลือต่อจากนี้ไปจะเป็นไปตามที่ตั้งเป้าเอาไว้” Gravina กล่าวว่า “ในขณะที่คุณอาจจะมีความคิดที่ว่าการเริ่มต้นปฏิวัติก่อนเวลาของมันควรจะมีโอกาสทางการตลาดที่มั่นคงเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะประสบความสำเร็จใดๆได้จริง แต่ในกรณีที่เป็นธุรกิจใหม่การพยายามสร้างศักยภาพทางธุรกิจ ย่อมดีกว่าการเร่งการเติบโตของธุรกิจ”

1. คุณสามารถอธิบายความคิดของคุณได้หรือไม่?
ธุรกิจของคุณอาจจะช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อน แต่คุณควรจะสามารถอธิบายได้แบบง่ายๆเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจมันเป้าหมายการจัดการได้ ผู้ประกอบการอาจจะเริ่มต้นด้วยการบรรยายและยกตัวอย่างจากเรื่องง่ายๆใกล้ตัวเพื่อให้หุ่นส่วนพนักงานหรือครอบครัวสามารถเข้าใจและเห็นภาพแนวความคิดไปพร้อมๆกับคุณได้ ดังนั้นคุณควรเตรียมข้อมูลคร่าวในการอธิบายให้คนอื่นรับทราบ

 

explanation
Credit: Shutter_M/Shutterstock

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.businessnewsdaily.com

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *