น้ำผึ้งเป็นสินค้าที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายมานานแล้วในญี่ปุ่น โดยจัดว่าเป็นหนึ่งในสินค้ำเพื่อสุขภาพซึ่งใช้บริโภคทดแทนน้ำตาล ตั้งแต่ประมาณปลายปี 2015 ได้เกิดกระแสนิยมน้ำผึ้งเพิ่มมากขึ้นภายหลังที่ได้มีรายการโทรทัศน์นำเสนอประโยชน์ของน้ำผึ้งว่ามีคุณสมบัติต้านแบคทีเรีย มีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยปรับสมดุลในกระเพาะอาหาร ฯลฯ จากนั้นยังได้มีนิตยสารและเว็บไซต์เกี่ยวกับกำรบำรุงรักษาความงามของสตรีจัดทำรายงานพิเศษแนะนำน้ำผึ้ง Manuka ทำให้เกิดความนิยมบริโภคน้ำผึ้งกันอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น
ขนาดตลาดสินค้าน้ำผึ้งในญี่ปุ่น
- ในปี 2017 ความต้องการบริโภคน้ำผึ้งในตลำดญี่ปุ่นมีประมาณ 4.6 หมื่นตัน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94) เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศโดยในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 70 เป็นน้ำผึ้งจากจีน กำรผลิตน้ำผึ้งภายใน ประเทศญี่ปุ่นเองมีแนวโน้มคงตัว และมีอัตราการพึ่งพำตนเองต่ำมากคือเพียงร้อยละ 6
- น้ำผึ้งนำเข้าร้อยละ 55 เป็นการใช้สำหรับบริโภคในครัวเรือน ส่วนอีกร้อยละ 45 เป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการแปรรูป เช่น เพื่อผลิตขนม ขนมปัง เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ฯลฯ
การนำเข้าจากต่างประเทศ
ญี่ปุ่นมีการนำเข้าน้ำผึ้งจากประเทศต่างๆกว่า 50 ประเทศ โดยจีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งทั้งในด้ำนปริมาณและมูลค่า เมื่อพิจารณาในด้าน ปริมาณ แหล่งนำเข้า 4 อันดับรองลงมา ได้แก่ อาร์เจนตินา แคนาดา ฮังการี และโรมาเนีย ตามลำดับ แต่ในด้านมูลค่า ได้แก่ นิวซีแลนด์ อาร์เจนตินา แคนาดา และฮังการี ทั้งนี้เนื่องจาก น้ำผึ้งจากนิวซีแลนด์ซึ่งส่วนใหญ่คือ น้ำผึ้งมานูก้า (Manuka Honey) มีราคาต่อหน่วยสูง และเป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดญี่ปุ่น
การแข่งขันในตลาดญี่ปุ่น
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในตลาดญี่ปุ่นมักนิยมน้ำผึ้งที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นเอง เนื่องจากมองว่ามีคุณภาพดี และปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ได้มีการสำรวจความเห็นผู้บริโภคญี่ปุ่น พบว่าสิ่งที่ผู้บริโภคคิดว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดสาหรับตลาดของสินค้านี้ในญี่ปุ่น คือราคา จากรายงานของกระทรวงเกษตร ประมงและป่าไม้ญี่ปุ่น ระบุว่าราคาค้าส่งโดยเฉลี่ยของน้ำผึ้งที่ผลิตในญี่ปุ่น คือ กิโลกรัมละ 1,300-3,000 เยน (370-850 บาท) ในขณะที่ราคาน้ำผึ้งนำเข้าซึ่งรวมภาษีนำเข้าแล้ว(อัตราร้อยละ 25.5) จะมีราคาถูกกว่าคืออยู่ในระดับ 300 – 800 เยน ขึ้นกับแหล่งนำเข้า ยกเว้นน้ำผึ้งที่นำเข้าจากนิวซีแลนด์มีราคาในระดับ 4,700 เยน ซึ่งแพงกว่าน้ำผึ้งของญี่ปุ่นแต่ก็ได้รับความนิยมด้วยภาพลักษณ์และมีชื่อเสียงว่าเป็นน้ำผึ้งดีที่สุด ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผู้บริโภค ญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างมากกับคุณภาพและความปลอดภัยโดยหากเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมก็พร้อมที่จะจ่ายแม้ว่ามีราคาสูง ในขณะที่หากเป็นน้ำผึ้งทั่วไป ผู้บริโภคก็ยังหวังที่จะซื้อหาน้ำผึ้งที่มีระดับราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
น้ำผึ้งนำเข้าจากจีน มีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีนักในสายตาของผู้บริโภคญี่ปุ่น จึงมักมีการนาไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารเช่น ขนม เครื่องดื่ม ฯลฯ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องระบุแหล่งผลิตบนฉลากสินค้าสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จำหน่ายสำหรับการบริโภคโดยตรง
ประเด็นปัญหาอื่นๆจากความเห็นของผู้บริโภคญี่ปุ่น ได้แก่ ภาชนะบรรจุที่ยากต่อการใช้, ความปลอดภัย, การที่น้ำผึ้งไม่มีความหลายหลายในการนำไปบริโภค และขนาดบรรจุที่ใหญ่เกินไปทำให้ใช้ไม่หมดและต้องทิ้งส่วนที่เหลือ สำหรับประเภทของภาชนะที่บรรจุน้ำผึ้งซึ่งจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นขวดโหลซึ่งมีทั้งขนาดเล็กไปถึงใหญ่ ขวดแก้ว และหลอดพลาสติก โดยผู้บริโภคมักจะบ่นเกี่ยวกับสินค้าที่บรรจุขวดโหลหรือขวดแก้วว่ารู้สึกรำคาญที่น้ำผึ้งเหนียวติดปากขวด หรือเทออกยาก หรือมักแห้งแข็งเกาะฝาขวด ดังนั้น จึงมีความพยายามในฝ่ายบริษัทผู้ผลิตหลายรายที่จะพัฒนำภาชนะที่ง่ำยและสะดวกต่อการใช้ เพื่อใช้เป็นจุดขำยสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขัน
สำหรับช่องทางการจำหน่าย จากผลการสำรวจเดียวกันนี้ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกหาซื้อจากซุปเปอร์มาร์เกต และมีบ้างที่ซื้อตามร้านค้าปลีกที่จำหน่ายน้ำผึ้งโดยเฉพาะ การสั่งซื้อผ่านทำงออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยมนักนอกจากแบรนด์ที่ซื้ออยู่เป็นประจำ เนื่องจากผู้บริโภคมักต้องการเลือกดูสีและกลิ่น รวมทั้งลักษณะของบรรจุภัณฑ์ของน้ำผึ้งก่อนตัดสินใจซื้อ
ทั้งนี้ประเภทของน้ำผึ้งที่ผลิตในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นน้ำผึ้งที่ได้จำกน้ำหวานของดอกไม้ต่างๆในประเทศเช่น โซบะ(Japanese Buckwheat) เกาลัด (Chestnut) ดอกบัว (Lotus flower) อากาเซีย (Acacia) และ ไม้นานาพันธุ์ หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า“Hyakka” (Mixed flowers) เป็นต้น นอกจากนั้นที่วางจำหน่ายในตลาดมีน้ำผึ้งจากดอกไม้อื่นๆมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นสินค้านำเข้าและผลิตในญี่ปุ่น และยังมีการเพิ่มความหลากหลายโดยการผสมกับสิ่งอื่นๆ เช่น น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำผึ้งผสมช็อคโกแลต ฯลฯ เป็นต้น
มาตรการนำเข้าของญี่ปุ่นสำหรับน้าผึ้ง
- ภาษีนำเข้า อัตราร้อยละ 25.5 ส่วนการนำเข้าจาก 3 ประเทศซึ่งเป็นภาคีภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค(TPP) ได้รับอัตราภาษีพิเศษภายในโควต้า (Tariff Quota) ได้แก่ ออสเตรเลีย (ร้อยละ 13.9 ภายในปริมาณโควต้า 112 ตัน) เวียดนาม (ร้อยละ 12.8 ภายในโควต้า 145 ตัน) และเม็กซิโก (ร้อยละ 0 ภายในปริมาณโควต้า 1,000 ตัน)
กฏระเบียบนำเข้า น้ำผึ้งนำเข้าจะต้องเป็นไปข้อกำหนดของกฏหมายเหล่านี้ คือ
- กฏหมายสุขอนามัยอาหาร (Food Sanitary Law) กำหนดให้ยื่น “Import Notification” และเอกสำรที่จำเป็นอื่น (เช่น วัตถุดิบ ส่วนผสม รายละเอียดกระบวนการผลิต ฯลฯ )
- มีการกำหนดวัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives) ซึ่งห้ามใช้ และปริมาณมาตรฐานสารพิษตกค้าง (Pesticide Residues)
- กฎหมายป้องกันโรคติดต่อสัตว์เลี้ยง (Domestic Animal Infectious Diseases Control Law) ซึ่งห้ามมิให้มีส่วนของรังผึ้ง (Honeycomp) อยู่ในน้ำผึ้ง
- กฏหมายฉลากอาหาร (Food Label Law) 7 ซึ่งกำหนดการระบุข้อมูลบนฉลากอาหาร
- กฏหมาย Promoting Effective Use of Resources Law และ Containers and Packaging Recycling Law8 ซึ่งกำหนดให้ระบุประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ใหม่
- ข้อมูลเกี่ยวกับ Food Labelling ดูได้ที่ https://www.caa.go.jp/en/policy/food_labeling
- Promoting Effective Use of Resources Law ดูที่ https://www.env.go.jp/en/laws/recycle/06.pdf และ Containers Packaging Recycling Law ดูที่ http://www.meti.go.jp/policy/recycle/main/data/pamphlet/pdf/handbook2010-eng.pdf
ตัวอย่างสินค้าที่จำหน่ายในตลาดญี่ปุ่น
ข้อแนะนำสำหรับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทย
- คาดว่าความต้องการสินค้าน้ำผึ้งยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องต่อไป เนื่องจากความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคญี่ปุ่นซึ่งมีมากขึ้นพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้สูงวัย
- ดังที่กล่าวในรายงานข้างต้น คุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคญี่ปุ่นในการเลือกซื้อสินค้าน้ำผึ้ง ในขณะเดียวกัน ราคาที่เหมาะสมก็เป็นปัจจัยแข่งขันที่สำคัญ
- สำหรับสินค้าของไทย ได้มีการนำเข้าน้ำผึ้งจากดอกลำไยเริ่มเข้าไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นบ้างแล้วแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และผู้บริโภคบางส่วนก็ยังอาจไม่คุ้นเคยกับกลิ่น จึงจำเป็นต้องมีการประชำสัมพันธ์ซึ่งควรต้องเน้นภาพลักษณ์ในด้านความสะอาด ความปลอดภัย รวมทั้งการสร้าง “story” ที่น่าสนใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของน้ำผึ้งจากดอกลำไยหรือดอกไม้อื่นๆที่เป็นพันธุ์ท้องถิ่นของไทย ซึ่งอาจใช้เป็นจุดขายของน้ำผึ้งไทยได้ นอกจากนั้น ควรมีการศึกษาและพัฒนำบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกกับการใช้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่น จะเห็นได้จากตัวอย่างสินค้ำข้างต้นว่า มีการนำเข้าสินค้าแปลกใหม่เช่น น้ำผึ้งจากดอกผักชีจากประเทศโรมาเนีย โดยที่ผักชีเป็นพืชที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักดีผ่านกระแสนิยมอาหารไทยจนกลายเป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกชื่อพืชนี้ การประชาสัมพันธ์สินค้าดังกล่าว จึงได้บรรยายสรรพคุณของผักชีต่อสุขภาพรวมทั้งแนะนำแหล่งปลูกเฉพาะที่ในประเทศโรมาเนีย สร้างภาพลักษณ์ของน้ำผึ้งที่มีหาได้ยากและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- อย่างไรก็ตาม สินค้าน้ำผึ้งของไทยอาจเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะกับประเทศคู่แข่งบางราย เช่น เวียดนาม ซึ่งได้รับการจัดเก็บภาษีนำเข้าอัตรำพิเศษภายใต้ความตกลง TPP มีอัตราเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราปกติซึ่งจัดเก็บกับน้ำผึ้งนำเข้าจากไทย ทั้งนี้ในปี 2017 เวียดนามเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 21 ของญี่ปุ่นในด้านปริมาณ (37 ตัน) และอันดับ 28 ในด้านมูลค่า (8 ล้ำนเยน)