สโลแกน เป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อธุรกิจ นอกจากโลโก้และชื่อแบรนด์แล้ว สโลแกนก็มีส่วนช่วยในการสร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าสนใจและน่าจดจำให้แก่แบรนด์ได้ การสร้างสโลแกนที่ดีนั้นจะต้องช่วยส่งเสริมให้แบรนด์เป็นที่จำจำยิ่งขึ้น
ดังนั้นหากท่านกำลังมองหาแนวทางในการสร้างสโลแกนสำหรับแบรนด์ธุรกิจที่กำลังจะเปิดใหม่ของท่าน และท่านยังไม่รู้ว่าจะคิดสโลแกนอย่างไร เรามีแนวทางและตัวอย่างในการตั้งสโลแกนให้แก่แบรนด์หรือบริษัทมาให้คุณได้พิจารณาดังนี้
หลักการตั้งสโลแกนบริษัทให้ติดหูขายดี
- ตั้งสโลแกนตามประเภท/สินค้า : วิธีนี้เป็นวิธีสื่อสารกับลูกค้าง่ายที่สุด เพราะเป็นการนำเสนอไปตรงๆว่ากำลังขายสินค้าหรือบริการใด
- ตั้งสโลแกนจากประสบการณ์ : เชื่อมโยงเรื่องราวหรือประสบการณ์เข้ากับสโลแกน เพื่อเล่าเรื่องและส่งต่อเรื่องราวให้ลูกค้าได้ทราบ
- ตั้งสโลแกนจากอารมณ์และความรู้สึก : เป็นการสร้างคอนเซ็ปท์ให้ร้านที่จะนำเสนอออกมาในลักษณะไหน โดยผ่านคำที่สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความทรงจำ เช่น Apple “Think Different”, ฟูจิ สั่งเลยอร่อยทุกอย่าง เป็นต้น
แนวทางการตั้งสโลแกนบริษัท
1.เน้นเรียบง่าย
ไม่ต้องให้ยาวจนเกินไป ง่ายแก่การจดจำ 2-3 พยางค์ก็เพียงพอ ต้องคำนึงถึงตอนที่นำไปใส่ไว้ในโล้โก้ด้วย ถ้ายาวจนเกินจะทำให้หาจุดโพกัสไม่เจอ
2.อ่านง่าย
สโลแกนที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้คำที่ทำให้อ่านยากจนเกินไป เพราะลูกค้าจะจำสโลแกนร้านคุณไม่ได้
3.ไม่ตั้งเลียนแบบ
หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อเหมือนหรือคล้ายกับแบรนด์อื่น นอกจะเป็นการเลียนแบบแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสที่ลูกค้าจะจำแบรนด์ของคุณได้จากสโลแกน แต่อาจสับสนไปจำแบรนด์อื่นแทน
4.สโลแกนตามประเภท/สินค้า
สามารถใช้สิ่งที่เกี่ยวกับร้าน สินค้า หรือสภาพแวดล้อม ทำเลที่ตั้ง มาใช้เป็นองค์ประกอบในการตั้งสโลแกน
5.สโลแกนตามอารมณ์และความรู้สึก
สื่ออารมณ์ด้วยคำ สร้างคอนเซ็ปท์ให้ลูกค้าจดจำ เช่น “นมตราหมี เพื่อคนที่คุณรัก”
6.สโลแกนเล่าเรื่องราว
บ่งบอกความเป็นตัวตนผ่านชื่อร้าน อาจจะใช้ชื่อตัวเอง (แต่ต้องมั่นใจว่าชื่อไม่โหล) หรือใช้ประสบการณ์ การเดินทาง การท่องเที่ยวที่ผ่านมา สร้างแรงบันดาลใจในการตั้งชื่อร้านได้ เช่น Asahi Been “ไม่รู้จักคิด ชีวิตก็ไม่แตกต่าง” เป็นต้น
7.สโลแกนแปลกๆ
ใช้ชื่อที่แปลกใหม่แต่คุ้นหู้ จดจำได้ง่ายและดูน่าสนใจ เห็นชื่อร้านแล้วสะดุดตาชวนให้สงสัย แต่ยังคงสื่อถึงร้านหรือแบรนด์อยู่ เช่น คอลเกต “ฟันไม่ผุอยู่แล้ว”
สโลแกนของแบรนด์นั้น จะสัมพันธ์กับชื่อแบรนด์และโลโก้ ดังนั้น 2 สิ่งนี้จึงเชื่อมโยงกัน เวลาตั้งชื่อร้านก็ต้องคำนึงถึงว่าสามารถสร้างโลโก้ออกมาได้ดีด้วยไหม สโลแกนจะต้องอ่านง่าย สบายตา รู้สึกได้ผ่อนคลาย และที่สำคัญตรงตามคอนเซ็ปท์ของแบรนด์
ตัวอย่างสโลแกนบริษัท
- โก๋แก่ – มันทุกเม็ด
- ฟิชโช- ปลาไม่ชอบ แต่คนชอบ
- เมนทอส – เย็นใจแน่จริง
- Satin – เพื่อทุกฝันของคนไทย
- Dtac – ง่ายสำหรับคุณ
- น้ำมันกุ๊ก – เลือกคุณภาพเลือกกุ๊ก
- นมไวตามิลค์ – ดื่มทุกวันดีทุกวัน
- รองเท้านันยาง – เก๋ามาตั้งแต่รุ่นพ่อ
- การบินไทย – รักคุณ เท่าฟ้า
- ฮานามิ – ข้าวเกรียบรวยเพื่อน
- เป็ปซี่ – เต็มที่กับชีวิต
- ธนาคารกรุงเทพ – เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน
- Convert Allstar – ทางใครทางมัน
- เมืองไทยประกันชีวิต – บริษัทของคนหัวคิดทันสมัย