การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติกำลังเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจะเกี่ยวเนื่องไปถึงธรรมชาติและระบบนิเวศ ดังนั้นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องก็ควรมีความรู้พื้นฐานในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเพื่อสร้างจุดขายและทำให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวในเส้นทางเชิงธรรมชาตินั้นหมายถึง เส้นทางที่กำหนดไว้หรือแนะนำให้นักท่องเที่ยวเดินชมสภาพธรรมชาติของพื้นที่แห่งหนึ่งแห่งใดเช่น บริเวณป่าไม้ใน อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าชายเลน ป่าพรุ ทั้งนี้เพื่อมิให้นักท่องเที่ยวหลง แนะนำชื่อพรรณไม้ต่างๆและสิ่งที่นักท่องเที่ยวควรทราบในสถานที่นั้นมีการทำเส้นทางให้เดินได้อย่างสะดวกสบายหรือ เพื่อไม่ให้เกิดการเดินสะเปะสะปะไปเหยียบย่ำทำลายพืชพรรณไม้หรือได้รับอันตรายจากอุบัติภัยตามเส้นทางเดินจะมี เครื่องหมายบอกทางรวมทั้งมีป้ายพอสมควรและไม่เกิดอันตราย
ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้น เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์เองอีกด้วย หรืออาจทำความเข้าใจง่ายๆก็คือการท่องเที่ยวสีเขียว (GREEN TOURISM) ซึ่งถือเป็นการท่องเที่ยว สถานที่ทางธรรมชาติโดยที่สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติในช่วงที่กระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้แพร่ขยายไปทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะเริ่มมีการตื่นตัวในการให้ความใส่ใจกับโครงการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อให้คนไทยทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่ทำลายธรรมชาติไปมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนี้แล้วการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติต้องรับผิดชอบต่อธรรมชาติแล้วยังต้องการความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น โดยให้แต่ละท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกที่ดีต่อการรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย
ปัจจัยในการที่เราจะนำมาประกอบการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและยังต้องควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญก็คือ นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญอย่างมาก ในธุรกิจการท่องเที่ยวในฐานะผู้บริโภคทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวคือสิ่งแวดล้อมต่างๆทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองทางธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น
- สิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยวซึ่งก็คือสิ่งที่สามารถดึงดูดหรือโน้มน้าวใจให้เกิดความสนใจปรารถนาที่จะไปท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ
- สิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยวที่ธรรมชาติให้มานั้นก็คือความงดงามตามธรรมชาติที่สามารถดึงดูดให้คนไปท่องเที่ยวในพื้นที่นั้น เช่น สภาพป่า ชีวิตสัตว์ป่า ความงดงามของภูเขาและหากทรายของทะเล เป็นต้น
- สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ต้องเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นแล้วสามารถดึงดูดใจให้อยากไปสัมผัสหรือท่องเที่ยว เช่นวิถีชีวิตในสมัยของบรรพบุรุษแต่โบราณ การสร้างวัด วัง หรือเมืองโบราณ
- สิ่งอำนวยความสะดวก นั่นหมายถึงสิ่งต่างๆที่มารองรับการเดินทางท่องเที่ยวให้เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย เช่น สถานที่พักแรม รีสอร์ท โรงแรม บังกะโล เกสเฮาส์ การบริโภคร้านอาหารที่มาบริการแก่นักท่องเทียว ข่าวสาร ข้อมูลเพื่อความสะดวกในการเดินทาง
การเข้าถึงได้คือการไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆได้ด้วยการคมนาคมขนส่งที่นักท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกสถานที่สำหรับของนักท่องเที่ยวแต่ละคนตามความพึงพอใจเพราะนักท่องเที่ยวบางรายก็มีความต้องการความสะดวกสบายในเรื่องของการเดินทาง
กิจกรรมการศึกษาธรรมชาติ (nature education) เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนทั้งการตลาดและยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นทำให้การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับการพัฒนาการทางวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ด้วยไม่ให้เกิดหรือการเกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติน้อยที่สุดและในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นการช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเพื่อให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายที่เกิดจาก แนวคิดขององค์กรการท่องเที่ยวระดับสากลอย่าง WTO ว่าการท่องเที่ยวที่จะรักษาระบบนิเวศทางธรรมชาตินั้นคือการ ท่องเที่ยวที่กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกที่ดีด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อธรรมชาติ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการให้ความรู้และการสื่อความหมายผ่านกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพื่อก่อประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนั้นๆก็เป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรมีร่วมกันไปอย่างสมดุล สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสวงหากิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายและเลือกกิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติถือเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตนเองด้วย แต่ในการทำการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจนั้นยังต้องมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากเพราะถ้าหากว่าไม่มีการให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้แล้วนั่นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อธุรกิจท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเองและเกิดความเสียหายแก่ธรรมชาติอีกด้วยคือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ขาดการจัดการอย่างเหมาะสมได้สูญเสียสภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติไป หน่วยงานราชการมองการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆเป็นเรื่องของการหารายได้ชาวบ้านขาดอำนาจต่อรองในเรื่องของรูปแบบและการจัดการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้ กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ไม่เปิดช่องทางให้ชุมชนสามารถเข้าไปดำเนินการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตดังกล่าว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบางแห่งได้เกิดการแย่งชิง ทรัพยากรและที่ดินทำกินของคนในชุมชนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการท่องเที่ยวและในทางกลับกันบางแห่งชาวบ้านและนายทุนต่างถิ่นสามารถเข้าครอบครองพื้นที่สาธารณะของชุมชนเพื่อประโยชน์ส่วนตัวชุมชนไม่รู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและกฎหมายที่มีอยู่ก็ไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชน เช่น บัตรไกด์ ที่จะรับรองคุณวุฒิทางการศึกษามากกว่าความรู้จริงในพื้นที่หรือชุมชน การสร้างโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนบ้านพักรับรองนักท่องเที่ยวที่ผ่าน ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของชุมชนไม่สอดคล้องกับสภาพทางระบบนิเวศ เช่น ห้องพักมีเครื่องปรับอากาศอย่างดี กลางป่ามีถนนคอนกรีตตัดผ่านชุมชนฯลฯ
นักท่องเที่ยวมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลายส่วนหนึ่งไม่เคารพต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนบางแห่งเยาวชนใน ชุมชนเลียนแบบวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว เมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้นจึงเกิดปัญหาขยะ แหล่งเสื่อมโทรมรวมถึงสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์ในชุมชนเนื่องจากมนุษย์มี ความอยาก มีความโลภ บางแห่งอาจจะเปลี่ยนสภาพจาก“ธุรกิจ” จากสาเหตุและปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบทางด้านลบต่อชุมชนผู้เป็นเจ้าของแหล่งธรรมชาติโดยรวม ผลกระทบจากการท่องเที่ยวคือกระแสเงินตราและค่านิยมที่ผิดๆจากการท่องเที่ยว ชุมชนจะต้องมีความเข้มแข็งเพื่อเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาการท่องเทียวอย่างยั่งยืนและเป็นเกราะป้องกันกระแสความยั่วยวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ในรูปของเงินตราที่มากับการท่องเที่ยวเราเห็นตัวอย่างเรื่องการพัฒนาของประเทศมามาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านใดก็ตาม ผลลัพธ์สุดท้ายในด้านลบมักจะตกอยู่กับชุมชนท้องถิ่น
แต่ด้านบวกซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลกลับถึงมือชุมชนชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศค่อนข้างจํากัด เพราะกระบวนการของการพัฒนาเหล่านั้นให้ความสำคัญหรือน้ำหนักกับการเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมน้อยมาก และบางกรณีการมีส่วนร่วมที่เปิดให้ก็มักจะเป็นช่วงปลายของโครงการหรือใกล้จบโครงการแล้ว จนชุมชนไม่อาจจะเตรียมตัวเตรียมใจรับสถานการณ์ได้ทัน เพราะเนื่องมาจากขาดองค์ความรู้ ข้อมูลและทักษะ ที่พร้อมจะรับผลพวงอันเกิดจากการพัฒนาได้แทนที่การพัฒนาจะเป็นประโยชน์แต่กลับเป็นผลเสียแก่คนหมู่มากในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน ทั้งๆที่ธรรมชาตินั้นมักเกิดมาจากชุมชนเป็นส่วนใหญ่ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติก็ควรจะมีผลประโยชน์ทั้งเจ้าของธุรกิจและกลุ่มคนในชุมชนและชุมชนโดยก้าวไปพร้อมกัน ผลประโยชน์ไม่ควรตกอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว
ดังนั้นการบริหารจัดการเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ชุมชนต้องมีความพร้อมในการดูแลแหล่งท่องเที่ยวมีความรู้ความเข้าใจหรือตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทางของท้องถิ่นให้มีการพัฒนาอย่างมีทิศทางและเท่าทันกระแสทุน กระแสการท่องเที่ยวจากภายนอก ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นการบริหารจัดการที่ต้องการความยั่งยืนจำเป็นต้องมีการวางแผนทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่เป็นระบบเช่น เดียวกับการบริหารงานอื่นๆไม่ว่าจะโดยชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรราชการส่วนกลางร่วมกันกับองค์กรเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการท่องเที่ยวแต่ละพื้นที่
โดยอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องร่วมกัน มีการบูรณาการความคิดเห็นร่วมกัน เพราะว่านอกจากประชาชนแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันมีบทบาทนำที่สำคัญมาก ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เช่น ไม่ปล่อยให้มีการก่อสร้างบดบังภูมิทัศน์ ตลอดจนการบุกรุกที่สาธารณะหรือพื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น สำหรับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นี่อาจจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่แหล่งทรัพยากรต่อเนื่องกัน เช่น พื้นที่ป่าไม้ การสร้างถนน คูคลอง เป็นต้น