ธุรกิจอาหารกระป๋อง ไอเดียหนอนดักแด้อัดกระป๋อง พร้อมโกอินเตอร์ “Phu Farm”
อาหารกระป๋องที่จะพูดถึงในครั้งนี้ ความพิเศษอยู่ตรงที่ว่าเป็น “ดักแด้” หรือหนอนไหม เราเคยเห็นชาวบ้านนำเอาดักแด้นี้มาทอดขายเป็นอาหารทานเล่นถือว่าเป็นเมนูพื้นบ้านยอดฮิต หากคุณได้มีโอกาสผ่านไปตามตลาดนัดหรือบริเวณขายของกินเยอะๆ ก็มักจะพบพ้อค้าแม่ค้าขายแมลงทอดอยู่บ้างก็คงจะพอนึกภาพของดักแด้ทอดออก แต่ที่เป็นสิ่งที่น่าใจจนต้องนำมาขยายความกันในวันนี้ก็เพราะว่า จากดักแด้ทอดใส่ถุงพลาสติกขายกันแบบธรรมดาๆ บัดนี้ดักแด้ทอดนั้นได้กลายร่ายเป็น “อาหารทานเล่นบรรจุกระป๋อง”ไปเรียบร้อยเตรียมพร้อมลงสังเวียนตลาดอินเตอร์
ธุรกิจอาหารกระป๋องนี้เกิดจากไอเดียของ “คุณพัทธพงษ์ พงษ์เพชร” ประกอบกิจการฟาร์มเลี้ยงไหมจากจังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าของ “พงษ์เพชรฟาร์ม” สร้างธุรกิจอาหารกระป๋องที่มีชื่อแบรนด์ว่า “Phu Farm” เริ่มต้นจากการทำธุรกิจเลี้ยงใหม่แล้วก็ส่งรังไหมให้แก่บริษัทต่างๆ เพื่อนำไปทำเป็นเส้นไหมในอุตสาหกรรมสิ่งทออยู่เป็นเวลานาน แต่ตอมาเมื่อเริ่มมีคนหันมาเลี้ยงไหมกันมาขึ้นทำให้เกิดภาวะสินค้าราคาตกต่ำ เนื่องจากสินค้าล้นตลาด เลยเป็นเหตุให้ต้องปิดกิจการไป
แต่ด้วยความไม่ย่อท้อ หลังจากที่ปิดกิจการลงไป ก็เริ่มต้นไปศึกษาความรู้ทางด้านการตลาดมากขึ้น เพื่อหวังที่จะกลับมาสานต่อกิจการเลี้ยงไหมนั้นขึ้นมาอีกครั้ง จนสามารถเปิดฟาร์มเลี้ยงไหมขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2552 และได้เข้ามาดูแลเองอย่างเต็มตัว จากเดิมที่มีพ่อและแม่เป็นคนดูแล
กลับมาเลี้ยงไหมขายอีกครั้ง จากเดิมเลี้ยงหนอนไหมสายพันธุ์ที่กินใบหม่อน หรือ “หนอนใบหม่อน” ซึ่งมีระยะเวลาในการเลี้ยง ตั้งแต่แรกฟักไปจนถึงวัยสุกอยู่ที่ประมาณ 24 วัน เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงไหม “สายพันธุ์ไหมป่าอีรี่” ที่กินใบมันสำปะหลังเป็นอาหารแทน ซึ่งในส่วนนี้ก็จะลดต้นทุนลงไปได้มาก เนื่องจากทางภาคอีสานนั้นมีการปลูกมันสำปะหลังอยู่เป็นจำนวนมาก แต่การขายรังไหมเพียงอย่างเดียวนั้นก็คงไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เพราะถูกกดราคามาก และการแข่งขันก็สูง จึงทำให้ต้องมองหาช่องทางหารายได้เสริม แต่เมื่อมามามองในวัตถุดิบที่ตัวเองมีอยู่ก็เห็นว่ารายได้หลักๆนั้นมาจากตัวดักแด้ ซึ่งได้รับความนิยมและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด
แรกๆก็จะขายดักแด้ไหมสดๆให้แก่พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย เพื่อนำไปทอดขาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะทางภาคอีสานก็นิยมรับประทานแมลงทอดกันอยู่แล้ว ซึ่งทางฟาร์มสามารถผลิตดักแด้ได้มากกว่าเฉลี่ยเดือนละ 9 ตัน จึงเกิดไอเดียที่จะแปรรูปดักแด้นี้เป็นอาหารกระป๋อง โดยไปขอคำปรึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ทั้งจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร” เพื่อนแนะนำข้อมูลกระบวนการผลิตที่เป็นประโยชน์ให้
เมื่อตัดสินใจที่จะลงมือทำอย่างจริงจังและได้ศึกษากระบวนการผลิต พร้อมทั้งได้ต้นแบบการแปรรูปมาแล้วนั้น ก็นำมาต่อยอดที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในโครงการอบรมทักษะประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นดักแด้ไหมอีรี่อัดกระป๋องภายใต้แบรนด์ “Phu Farm”
ในช่วงแรกนั้น กระบวนการผลิตยังมีปัญหาอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุการผลิตที่ไม่รู้วันหมดอายุที่แน่ชัด ไปจนถึงกลิ่นเหม็นหืนของดักแด้กระป๋อง จนกระทั่งได้รับความร่วมมือจาก ดร.อัศวิน อมรสิน อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี เป็นผู้ให้คำแนะนำ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมีอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น โดยอายุของดักแด้ไหมอีรี่บรรจุกระป๋องจะอยู่ได้นาน 4 เดือน ราคาขายกระป๋องละ 35 บาท ปริมาณ 20 กรัม มีให้เลือกทั้งหมด 8 รสชาติ แบ่งเป็นรสชาติที่ไม่เผ็ด ได้แก่ เกลือ, โนริสาหร่าย, ชีส และซาวครีมหัวหอม และรสชาติเผ็ด ได้แก่ ต้มยำ, บาร์บิคิว, กระเพรา และรสลาบ
ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพิ่มเติม นั่นคือ “รถด่วนสายไหม” มี 3 รสชาติ คือ เกลือ, ต้มยำ และบาร์บีคิว ราคาขายอยู่ที่กระป๋องละ 35 บาท สำหรับธุรกิจอาหารกระป๋องนี้กำลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศ ที่ติดต่อเข้ามาทั้งออสเตรเลีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, พม่า, ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งก็เป็นแผนการตลาดขั้นต่อไป เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่สามารถส่งออกขายได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการรองการรับรองจาก อย. ซึ่งคาดว่าเมื่อผ่านขั้นตอนนั้นเรียบแล้วก็จะสามารถรับลูกค้าจากต่างประเทศและคาดว่าจะสร้างรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
ข้อมูลติดต่อธุรกิจอาหารกระป๋อง
คุณพัทธพงษ์ พงษ์เพชร
พงษ์เพชรฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์