โอกาสทำเงิน เกาะกระแสอาหารสุขภาพ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพในไทยได้รับความนิยมและมีความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  อันมีสาเหตุมาจากกระแสการใส่ใจสุขภาพและความต้องการมีรูปร่างที่ดีของผู้บริโภคโดยมุ่งหวังให้อาหารมาสร้างสมดุลให้ร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคต่างๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายออกมามากขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว ผนวกกับการผลักดันจากภาครัฐที่มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบในการแข่งขันด้วยการนำ นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการผลิต (นโยบายไทยแลนด์ 4.0) จึงเป็นอีกแรงกระตุ้นหนึ่งที่ทำ ให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น สะท้อนผ่านมูลค่าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของไทยในปี 2558 ที่มีมูลค่าประมาณ 170,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 จากปี 2553 ที่มูลค่าประมาณ 119,311 ล้านบาท ดังนั้น ย่อมเป็นโอกาสทางธุรกิจอันดีสำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวเนื่องกับอาหารเพื่อสุขภาพที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตน เพื่อรองรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ

สถานการณ์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและแนวโน้มในอนาคต

ที่ผ่านมา อาหารเพื่อสุขภาพในไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปขั้นต้น เช่น น้ำ ผลไม้คั้นสด ผักผลไม้ ตาก-อบแห้ง เป็นต้น หรือไม่แปรรูปเลย เช่น ผักผลไม้สดปลอดสารพิษ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันด้วยรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคถึงคุณและโทษจากสิ่งที่รับประทานเข้าไป รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการผลิตและการได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐภายใต้นโยบายพัฒนาประเทศทำให้ผู้ประกอบการคิดค้นและนำ เสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลายและครอบคลุมไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคได้มากขึ้น เช่น สารสกัดจากสมุนไพรที่ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยชะลอวัย และช่วยควบคุมน้ำหนัก ธัญพืชแปรรูปที่ช่วยบำรุงผิวพรรณและช่วยสร้างกล้ามเนื้อ และอาหารเฉพาะสำหรับผู้ดูแลรูปร่าง ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เป็นต้น

นอกจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แล้ว ผู้ประกอบการยังมีบริการจัดส่งอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อรองรับการใช้ชีวิตแบบคนเมืองที่ไม่มีเวลาปรุงอาหารแต่มีความต้องการดูแลสุขภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบาย พร้อมทั้งได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและในปริมาณที่เหมาะสม

ทั้งนี้อาหารเพื่อสุขภาพตามที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่เป็นความต้องการที่มาจากผู้บริโภค 3 กลุ่มหลักได้แก่ ผู้รักสุขภาพ ผู้ต้องการมีรูปร่างที่ดี และผู้สูงอายุ ซึ่งผู้บริโภคแต่ละกลุ่มมีลักษณะและความต้องการอาหาร  เพื่อสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้รักสุขภาพ คือ กลุ่มคนที่หันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม พอดี และมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ด้วยข้อจำ กัดของเวลาและวิถีชีวิตอันเร่งรีบของคนเมืองทำให้คนรักสุขภาพบางส่วนไม่สามารถจัดหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ครบทุกมื้อตามที่ต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการบางส่วนได้เล็งเห็นโอกาสและผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในการเติมเต็มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคนรักสุขภาพมีหลากหลายประเภท อาทิ อาหารฟังก์ชันนัลหรืออาหารเสริม ได้แก่ สารสกัดจากธรรมชาติอัดเม็ดที่ช่วยบำรุงร่างกาย เช่น สาหร่ายอัดเม็ด กระเทียมอัดเม็ด ผักอัดเม็ด ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมที่ทำให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายทำ งานดีขึ้น เช่น นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว โยเกิร์ต และเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น เครื่องดื่มผสมชาเชียว เครื่องดื่มผสมเก๊กฮวย เครื่องดื่มขิงผงสำ เร็จรูป เป็นต้น อาหารจากธรรมชาติและอาหารออร์แกนิกที่ผลิตออกมาในรูปของอาหารทานเล่น ซึ่งทำ ให้ผู้ใส่ใจสุขภาพสามารถบริโภคได้ง่ายและรวดเร็ว ที่สำคัญยังให้คุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน เช่น ธัญพืชแปรรูปพร้อมทาน (Cereals) ธัญพืชอัดแท่ง (Cereal Bar) และมูสลี่ (Muesli) เป็นต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การใส่ใจสุขภาพด้วยการหันมาทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายและป้องกันการเกิดโรคจะยังคงเป็นกระแสในระยะต่อไป ดังนั้น ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถตอบโจทย์การทำ ให้มีสุขภาพที่ดีและสอดคล้องกับรูปแบบชีวิตยุคใหม่ในด้านความสะดวกสบายก็น่าจะมีการขยายตัวตาม เพื่อรองรับแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว

 

  • ผู้ต้องการมีรูปร่างที่ดี ในปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ภายนอกมากขึ้น อย่างเช่นผู้หญิงต้องการมีรูปร่างสมส่วนและผู้ชายต้องการมีกล้ามเนื้อ ซึ่งการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต้องทำควบคู่ไปกับการกินอาหารที่ดีด้วย ดังคำ กล่าวที่ว่า “You are what you eat” หรือกินอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ดังนั้นกระแสของอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและดูแลรูปร่างได้ จึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากทั้งนี้อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ต้องการมีรูปร่างที่ดีมีหลากหลายประเภท อาทิ อาหารฟังก์ชันนัลหรืออาหารเสริม ได้แก่ เครื่องดื่มผสมสารสกัดจากสมุนไพรที่ช่วยลดความอ้วน เช่น เครื่องดื่มผงผสมส้มแขก  เครื่องดื่มผสมบุกหรือวุ้น เครี่องดื่มผสมใยอาหารและแอล-คาร์นิทีน สารสกัดจากสมุนไพรอัดเม็ดที่ช่วยควบคุมน้ำหนัก เช่น ส้มแขกแคปซูล ถั่วขาวแคปซูล พริกไทยดำ แคปซูล และสารสกัดจากหางนมที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ(เวย์โปรตีน) เป็นต้น หรือจะเป็นอาหารจากธรรมชาติและอาหารออร์แกนิก เช่น อกไก่สำ เร็จรูปที่มีโปรตีนสูงแต่  ไขมันต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ไข่ต้มสุกหรือไข่ขาวหลอดโปรตีนชั้นดีและช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และอาหารคลีนซึ่งเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย เน้นรสชาติเดิมจากธรรมชาติ และใช้วัตถุดิบที่มีไขมันต่ำที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีรูปร่างที่ดี เป็นต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการกินอาหารเพื่อสุขภาพประกอบกับการออกกำลังกายรวมไปถึงการใช้มาตรการทางการตลาดด้วยดาราหรือผู้มีชื่อเสียงที่มีรูปลักษณ์ที่ดีของผู้ประกอบการ น่าจะไปกระตุ้นให้ผู้บริโภคเริ่มหันมาดูแลตนเองและใส่ใจรูปร่าง ดังนั้น ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพก็น่าจะขยายตัวตามจำนวนของผู้ต้องการมีรูปร่างที่ดีที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นตามกระแสในระยะต่อไป

 

  • ผู้สูงอายุ คือ กลุ่มคนที่เกษียณอายุแล้วทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังกายและสมองมากเท่ากับวัยอื่นๆส่งผลให้ความต้องการพลังงานจากอาหารของร่างกายน้อยลง ขณะที่ระบบเผาผลาญก็ทำงานลดลงด้วยเช่นกันอย่างไรก็ตาม ร่างกายก็ยังจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและป้องกันโรค  ดังนั้นอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุจึงต้องเป็นอาหารครบ 5 หมู่ และควบคุมปริมาณแคลอรี่เพื่อป้องกันโรคอ้วนที่เกิดขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้ ผู้สูงอายุบางรายที่เจ็บป่วยอาจไม่สามารถกินอาหารได้อย่างเพียงพอหรืออยู่ในภาวะที่ต้องการสารอาหารบางอย่างมากน้อยเป็นพิเศษซึ่งการบริโภคอาหารทั่วไปอาจไม่เพียงพอทำให้มีความจำเป็นต้องทานอาหารเสริมหรืออาหารทางการแพทย์เพิ่มเติม เช่น สารสกัดจากธรรมชาติอัดเม็ดที่ช่วยบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มผงสำหรับผู้มีปัญหาน้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากโรคมะเร็ง อาหารทางการแพทย์ทางสายยางสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะขาดสารอาหารรุนแรง ผู้สูงอายุที่ต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นหลังการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ เป็นต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อาหารเพื่อสุขภาพจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการป้องกันและช่วยรักษาโรคสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ในปัจจุบันไทยมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคนหรือร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในปี 2564 ซึ่งจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  โดยสมบูรณ์ (Aged Society) ย่อมส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพขยายตัวตามจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย

อาหารเพื่อสุขภาพจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มที่ต้องการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วยการมุ่งบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สามารถรองรับกับแนวโน้มการเติบโตของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ

 

โอกาสและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารเพื่อสุขภาพ

ความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นนั้นได้รับแรงสนับสนุนจากความนิยมของผู้บริโภคทั้งวัยรุ่นวัยทำงานหรือแม้แต่วัยสูงอายุที่หันมาดูแลตนเองและใส่ใจสุขภาพ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า สถานการณ์ดังกล่าวเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มมีโอกาสและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

  • กลุ่ม 1 ผู้ผลิต : เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตทางการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีที่อาจจะก่อให้เกิดการปนเปื้อนต่อทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพจะใช้สินค้าจากเกษตรอินทรีย์เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เมื่อพิจารณาความพร้อมและศักยภาพของผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ พบว่า ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการปลูก โดยในปัจจุบันเกษตรกรหันมาทำ การเพาะปลูก  โดยไม่ใช้สารเคมีและปลูกตรงตามฤดูกาลกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคข้างต้น สะท้อนผ่านข้อมูลพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์และจำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในช่วงปี 2555-2558 ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.5 และ 16.3 ต่อปี (CAGR) ตามลำดับอย่างไรก็ตาม แม้พื้นที่เกษตรอินทรีย์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ถือว่ายังน้อยอยู่มากเมื่อเทียบกับพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดของประเทศสาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการปลูกแบบอินทรีย์มีขั้นตอนยุ่งยากและต้นทุนสูง นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลมีการดำ เนินนโยบายดูแลราคาสินค้าเกษตรหลายรายการ ทำให้เกษตรกรบางส่วนหันกลับไปผลิตแบบเคมีเพื่อเข้าร่วมโครงการรัฐที่ได้รายได้สูงกว่าแทนศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แนวโน้มความต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นเป็นโอกาสให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์รายเดิมขยายพื้นที่เพาะปลูกหรือการหันมาทำ เกษตรอินทรีย์ของผู้ผลิตรายใหม่  ซึ่งภาครัฐเองก็พร้อมให้การสนับสนุนการทำ เกษตรอินทรีย์รวมไปถึงการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรเป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น ดังนั้น ด้วยความต้องการของตลาดและการผลักดันจากภาครัฐน่าจะเป็นแรงหนุนที่สำคัญให้เกษตรกรผู้ผลิตอินทรีย์เพิ่มผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นตาม โดยเกษตรกรอาจอาศัยกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจดังนี้

    1. สร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำ เกษตรอินทรีย์ในหมู่เกษตรกรการนำต้นแบบของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมาปรับใช้ รวมถึงเป็นแนวทางให้เกษตรกรที่สนใจเข้าสู่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย

    2.รวมตัวเป็นเกษตรกรรมแปลงใหญ่ เพื่อรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน เนื่องจากการลงทุนให้เกษตรกรเพียงรายเดียวอาจกระทำได้ยากหรือไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

    3. มุ่งเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับในสินค้าจากผู้บริโภค โดยเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จึงจะได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองมาตรฐาน ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เช่น มาตรฐาน Q เป็นต้น

    4.ทำสัญญาการค้ากับผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตถัดไป เพื่อให้เกิดการวางแผนเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเป็นการประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรและผลผลิตที่เพียงพอสำหรับผู้ประกอบการ

    5.สร้างความร่วมมือกับร้านอาหารและร้านค้า เช่น เมนูเพื่อสุขภาพจากผักผลไม้ปลอดสารพิษจากแปลงเกษตรอินทรีย์ จัดโซนสินค้าออร์แกนิกที่รับจากสวนของเกษตรกรโดยตรงหรือโปรแกรมเยี่ยมชมแหล่งผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสการทำเกษตรอินทรีย์และมีโอกาสได้เก็บพืชผลทางการเกษตรด้วยตนเองเป็นต้น

    6.อาศัยสื่อออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น Facebook Instagram หรือ Line โดยแสดงรายละเอียดของแปลงเกษตรอินทรีย์ เช่น ข้อมูลผักผลไม้ ราคาจำหน่าย และสถานที่ตั้งเพื่อให้ผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

 

  • กลุ่ม 2 ผู้แปรรูป : ปัจจุบันผู้แปรรูปส่วนใหญ่เป็น SME ที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตของวัตถุดิบและเป็นกิจการแปรรูปธัญพืชมากที่สุด  ดังนั้นจากกระแสความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เป็นโอกาสอันดีให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจอาศัยกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจดังนี้

    1. มุ่งแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและผ่านการรับรองมาตรฐาน ในปัจจุบันผู้บริโภคใส่ใจและใช้เวลาในการเลือกซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยพิจารณาจากฉลากอาหารที่แสดงรายละเอียดของส่วนประกอบ ปริมาณอาหารและสถานที่ผลิต ฉลากโภชนาการที่แสดงข้อมูลทางโภชนาการฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amount) ที่แสดงค่าพลังงานที่เหมาะสม และสัญลักษณ์โภชนาการ (Healthier Choice) ที่จะรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีการควบคุมปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละวันตลอดจนตราสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

    2. เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยกลยุทธ์การตลาด เช่น สินค้าที่มีความหลากหลาย ง่ายต่อการบริโภค และบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นและทำ จากวัสดุธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อรองรับผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจอาศัยคลังความรู้ของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐที่ได้ทำ การศึกษาไว้แล้วมาสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นการประหยัดเงินทุนและเวลาในการพัฒนาด้วยตนเอง

    3. เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ผ่านมา การแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพของไทยเป็นการผลิตแบบง่ายๆ โดยไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน แต่ด้วยพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพการผลิตของหน่วยงานรัฐ จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการแปรรูปจะนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่ม
    ประสิทธิภาพในการผลิต

 

  • กลุ่ม 3 ผู้จัดจำหน่าย : อาหารเพื่อสุขภาพเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมและมีผู้บริโภคค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการจัดจำหน่ายที่จะศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคและนำ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เหมาะกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมาทำการตลาด โดยอาจอาศัยกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน

    1.อาศัยสื่อออนไลน์เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันผู้บริโภคมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่อาจเริ่มจากการอาศัยโซเชียลมีเดียในการประชาสัมพันธ์ร้านค้าของตนที่แสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและบริการดูแลสุขภาพต่างๆ ให้ชัดเจน เช่น รายการอาหารเพื่อสุขภาพพร้อมบริการจัดส่ง เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม การเปิดเพจบนสื่อออนไลน์ควรทำ ควบคู่กับการเปิดหน้าร้าน เนื่องจากผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุยังคงนิยมจับจ่ายสินค้าจากร้านค้าซึ่งเป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมอยู่ (Traditional Business)

    2. เลือกโลเกชั่นร้านค้าให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค เช่น ร้านอาหารคลีนที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะเป็นวัยทำงานก็ควรมองหาทำ เลที่เป็นย่านศูนย์กลางของธุรกิจ ร้านอาหารมังสวิรัติและร้านอาหารเจที่ผู้บริโภคมักจะเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยควรตั้งใกล้สถานพยาบาลหรือใกล้แหล่งชุมชนเป็นต้น  ทั้งนี้ร้านค้าอาจเพิ่มเติมบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลรูปร่างผ่านเมนูอาหารที่อยู่ในการควบคุมของนักโภชนาการ พร้อมมีบริการจัดส่งอาหาร (Delivery) ซึ่งอาจดำเนินการเองหรือจับมือกับผู้ประกอบการจัดส่งเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มยอดขาย

    3. เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า พบปะผู้บริโภคเพื่อสอบถามความต้องการและผลตอบรับจากการบริโภคสินค้า ตลอดจนเปิดโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการรายอื่นๆในตลาด

    4. สร้างกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่ผู้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น กิจกรรมพบปะพูดคุยกับนักโภชนาการหรือผู้หายป่วยจากโรคร้ายด้วยการกินอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพระหว่างกัน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคได้ทางหนึ่ง

 

  • กลุ่ม 4 ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นและระบบบริหารจัดการ : ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ต้องการได้รับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ผนวกกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าเป็นโอกาสให้แก่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นและระบบบริหารจัดการในการสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นหรือระบบบริหารจัดการที่จะช่วยยกระดับการผลิตและการให้บริการของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถรองรับแนวโน้มของตลาดได้โดยอาศัยกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

    1. พัฒนาแอพพลิเคชั่นสั่งซื้อสินค้า : สำหรับร้านอาหารและร้านค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสั่งอาหารหรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต พร้อมบริการจัดส่งโดยอาจจัดส่งเองหรือร่วมมือกับธุรกิจจัดส่งอาหาร (เช่น แอพพลิเคชั่น Foodpanda) นอกจากนี้ ควรมีทางเลือกในการชำระค่าสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นระบบออนไลน์ของธนาคาร บัตรเครดิต หรือเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า  นอกจากนี้อาจทำการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสั่งซื้อสินค้าระหว่างผู้ประกอบการ เช่น แอพพลิเคชั่น Freshket ที่ร้านอาหารหรือร้านค้าสามารถสั่งผักผลไม้จากแปลงเกษตรอินทรีย์บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้เป็นต้น

    2. พัฒนาแอพพลิเคชั่นดูแลสุขภาพแก่ผู้รักสุขภาพและดูแลรูปร่าง :  สำหรับร้านอาหารเพื่อสุขภาพหรือสถานออกกำลังกายที่ผู้บริโภคจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักโภชนาการและเทรนเนอร์ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเกี่ยวกับรายการอาหารเพื่อสุขภาพควบคู่กับการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม

    3. พัฒนาระบบบริหารจัดการฟาร์มเกษตรอินทรีย์หรือโรงงานแปรรูป : เช่น การประยุกต์ระบบอัตโนมัติ (Automation System) มาใช้ในการติดตามสภาพดินฟ้าอากาศ ระบบแจ้งเตือนล่วงหน้า  สภาพความชื้นที่ลดลงของดินในฟาร์ม และระบบควบคุมโรงเรือนที่ตัดสินใจทำ งานได้เองในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เป็นต้น

    4. พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ : ของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในแปลงเกษตรอินทรีย์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และโรงงานแปรรูปสำหรับผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเส้นทางของสินค้าได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ด้วยกระแสรักสุขภาพและใส่ใจในรูปร่าง ประกอบกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยน่าจะทำให้ความต้องการรบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
ซึ่งส่งผลดีให้แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารเพื่อสุขภาพไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ ผู้ประกอบการแปรรูปอาหาร ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นและระบบบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอผู้ประกอบการด้านอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะ SME ควรทำความเข้าใจลักษณะความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภครวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ก้าวทันความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้สามารถตอบสนองผู้บริโภคและแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ ในกรณีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสนใจขยายตลาดไป
ต่างประเทศ ก็จำ เป็นต้องศึกษาระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพของประเทศคู่ค้าเพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูลจาก KSME

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *