ธุรกิจ SMEs “เบนเข็มสู่ตลาดส่งออก”…
หนทางปรับตัว ท่ามกลางกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแรง
ในยามที่ภาวะการใช้จ่ายของภาคประชาชน ถูกกดดันจากปัจจัยด้านค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่รายได้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักหรืออาจจะลดลงสำหรับบางกลุ่ม (ตามจำนวนชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง) อีกทั้งบางส่วนยังมีภาระที่ต้องชำระคืนหนี้ที่ได้ก่อไว้ในช่วงก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ตลอดจน
การลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งภาวะอ่อนแรงที่เกิดขึ้นนี้ มีโอกาสที่จะดำเนินต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจโดยเฉพาะที่เน้นผลิตสินค้าเพื่อรองรับตลาดในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญแรงกดดันจากยอดขายที่ชะลอลง ดังนั้น การปรับตัวเพื่อให้สามารถรอดพ้นจากสภาวะที่ยากลำบากไปได้ คงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาคธุรกิจต้องเร่งดำเนินการ
การเพิ่มสัดส่วนตลาดส่งออกมากขึ้น … แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ SMEs
ด้วยภาวะกำลังซื้อในประเทศที่ยังอยู่ในทิศทางอ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การให้ความสำคัญมากขึ้นกับตลาดส่งออก น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังซื้อมีแนวโน้มฟื้นตัวและมีการตอบรับที่ดีต่อสินค้าไทย ซึ่งกลยุทธ์อาเซียน (AEC) เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเลือกนำมาปรับใช้ทั้งเพื่อประคองธุรกิจจากสถานการณ์เฉพาะหน้า และเพื่อวางแผนรุกตลาดผ่านการค้าและการลงทุนในระยะกลางถึงยาวต่อไป ซึ่งแนวทางการปรับตัว อาจจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจที่ผลิตสินค้าจำหน่ายทั้งตลาดในและต่างประเทศ ควรพิจารณาปรับสัดส่วนการผลิตโดยเพิ่มน้ำหนักให้กับตลาดส่งออกมากขึ้น ซึ่งในหลายธุรกิจก็ได้มีการวางแผนและดำเนินการไปบ้างแล้ว อาทิ ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจยานยนต์และส่วนประกอบ ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ผู้ประกอบการที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลักอยู่แล้ว อาจขยายการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะในตลาดที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว/ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ตลาดที่ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าผ่านความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ รวมไปถึงตลาดที่ให้การยอมรับในคุณภาพของสินค้าไทย ได้แก่ ตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน (โดยเฉพาะกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม หรือ CLMV)
สินค้าศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดสำคัญของโลกสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
ตลาด CLMV แนวโน้มเติบโตสูง โอกาสสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เจาะตลาดผู้บริโภค
การเพิ่มสัดส่วนตลาดส่งออกซึ่งเน้นไปที่ตลาด AEC โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ ธุรกิจ SMEs ของไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ยังมีแนวโน้มความต้องการสินค้าเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของความเป็นเมือง อีกทั้งผู้บริโภคในตลาดดังกล่าวส่วนใหญ่ก็ให้การตอบรับที่ดีต่อสินค้าไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
สำหรับผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดทั้งการเพิ่มสัดส่วนตลาดส่งออก รวมไปถึงการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในบางประเภทธุรกิจ แนวทางรับมือกับสภาวะที่กำลังซื้อในประเทศอ่อนแรงนั้นที่สำคัญ จะยังคงอยู่ที่การบริหารจัดการเพื่อดูแลประสิทธิภาพการผลิต/การดำเนินงานเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม การที่จะเพิ่มน้ำหนักในตลาดส่งออกและสามารถแข่งขันได้นั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องชูจุดเด่นด้านคุณภาพและมาตรฐานการผลิตของสินค้าที่สอดคล้องกับระดับราคา การส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลา การใช้กลยุทธ์การเข้าถึงสินค้าและการวางตำแหน่งทางการตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตลอดจนคำนึงถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านต่างๆ อย่างถี่ถ้วน อาทิ ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านเครดิตการค้าและคู่สัญญา เป็นต้น
การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศ …
รองรับแผนธุรกิจในระยะกลางถึงยาว
นอกเหนือจากการเบนเข็มสู่ตลาดส่งออก ซึ่งเป็นกลยุทธ์เพื่อรับมือกับโจทย์ที่ท้าทายเฉพาะหน้าในประเทศแล้ว การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะก่อนการเปิดเสรี AEC ในปี 2558 ถือเป็นการวางแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้านและใช้เวลาเตรียมการพอสมควร ทั้งนี้ ภาคธุรกิจไทยอาจพิจารณาขยายกำลังการผลิตเพื่อรุกตลาด AEC ที่ภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพควรพิจารณาการขยายฐานการผลิต/การลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ภายใต้รูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมและรัดกุม เพื่อสร้างโอกาสและความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้มีมากขึ้น
โดยกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจในการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า/เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น เนื่องจากในกลุ่ม CLMV ยังมีข้อได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จำนวนแรงงานที่มีอยู่มาก และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายหลังจากการเปิดเสรี AEC อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการแสวงหาคู่ค้า/พันธมิตรทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ ประเด็นด้านกฎระเบียบและเกณฑ์การลงทุนต่างๆ รวมถึงวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าไปลงทุนไม่ควรละเลย ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น
สำหรับผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดทั้งการเพิ่มสัดส่วนตลาดส่งออก รวมไปถึงการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ในบางประเภทธุรกิจ แนวทางรับมือกับสภาวะที่กำลังซื้อในประเทศอ่อนแรงนั้นที่สำคัญ จะยังคงอยู่ที่การบริหารจัดการเพื่อดูแลประสิทธิภาพการผลิต/การดำเนินงานเป็นหลัก
นอกจากนี้ การพิจารณาแนวทางการสร้างเครือข่ายหรือพันธมิตร เพื่อเสริมศักยภาพทางธุรกิจด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของสายการผลิตที่ยังมีแนวโน้มเติบโตได้ ก็เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมที่จะรับมือกับสภาวะการแข่งขันในยามที่สภาพเศรษฐกิจกลับมาเอื้ออำนวยอีกครั้งในอนาคต
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
พฤษภาคม 2557