ถ่านอัดแท่ง ช่องทางสร้างรายได้จากภูมิปัญญาการผลิตเชื้อเพลงของคนไทย โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น กะลามะพร้าว มันสำปะหลัง ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งถ่านอัดแท่งได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมากนิยม สำหรับท่านที่กำลังสนใจอยากจะลองทำถ่านอัดแท่งขาย เราได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำถ่านอัดแท่งและวิธีการทำมาให้ท่านดังนี้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถ่านอัดแท่ง
หลักการผลิตถ่านอัดแท่งมี 2 วิธี คือ
การอัดร้อน เป็นการอัดวัสดุโดยที่วัสดุไม่จำเป็นต้องเป็นถ่านมาก่อน เมื่ออัดเป็นแท่งเสร็จแล้ว ค่อยนำเข้าเตาให้เป็นถ่านอีกครั้งหนึ่ง วัสดุที่สามารถผลิตโดยวิธีการอัดร้อน ขณะนี้มี 2 ชนิด คือ แกลบ และขี้เลื้อย เพราะวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้เมื่อโดนอัดด้วยความร้อน จะมีสารในเนื้อของวัสดุยึดตัวมันเอง จึงทำให้สามารถยึดเกาะเป็นแท่งได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ตัวประสาน โดยที่เครื่องอัดต้องเป็นเครื่องอัดชนิดอัดร้อน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง
การอัดเย็น เป็นการอัดวัสดุที่เผาถ่านมาแล้ว แล้วนำมาผสมกับแป้งมันหรือวัสดุประสานอื่นๆ โดยทั่วไปจะเป็นแป้งมัน ถ้าวัสดุใดมีขนาดใหญ่ เช่น กะลามะพร้าว เมื่อผ่านการเผาแล้ว ต้องมีเครื่องบดให้ละเอียดก่อน แล้วค่อยนำมาผสมกับแป้งมันและนำในอัตราส่วนตามที่ต้องการ
วัสดุที่ใช้ในการผลิตถ่านอัดแท่ง
วัตถุดิบในการผลิตถ่านอัดแท่ง มีหลากหลายชนิด เช่น ซังข้าวโพด กะลามะพร้าว แกลบ ขี้เลื้อย ฟางข้าว ชานอ้อย ต้นมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง หญ้าคา หญ้าขจรจบ ไมยราบ ผักตบชวา ใบจามจุรี กะลาปาล์ม ต้นฝ้าย ต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากทานตะวัน เปลือกทุเรียน เศษถ่านหุงต้มที่เหลือใช้จากการใช้แล้ว ฯลฯ
ส่วนผสมของถ่านอัดแท่ง
ผงถ่าน 10 กิโลกรัม
แป้งมัน 0.5 กิโลกรัม
น้ำ 3 ลิตร (ปริมาณน้ำสามารถปรับได้ ขึ้นอยู่กับความชื้นของวัสดุ)
เครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เครื่องบด (สำหรับวัสดุที่มีขนาดใหญ่ เช่น กะลามะพร้าว ซังข้าวโพด ฯลฯ)
- เครื่องผสม สามารถใช้เครื่องผสมทั่วไปได้ หรือผสมมือก็ได้
- เครื่องอัดแท่งถ่าน ถือเป็นหัวใจหลักมี 2 ชนิด คือ แบบอัดร้อนและแบบอัดเย็น
คุณสมบัติของถ่านอัดแท่ง
- ให้ความร้อนสูง เนื่องจากเป็นถ่านที่ได้รับการเผาไหม้เต็มที่
- ปลอดภัยไม่มีสารตกค้างและไม่ทำลายสุขภาพ เพราะถ่านได้ถูกเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิเกิน 800 องศา
- ทนทานสามารถใช้งานได้นานกว่าถ่านไม้ธรรมดาถึง 2.5 – 3 เท่า
- ประหยัดเพราะใช้ได้นาน ไม่แตก และไม่ดับเมื่อติดแล้ว ทำให้ไม่มีการเสียเปล่า เนื่องจากถ่านจะเผาไหม้จนกว่าจะกลายเป็นขี้เถ้า
- ไม่แตกประทุอย่างถ่านไม้ทั่วไป
- ไม่มีควัน เนื่องจากความชื้นน้อยมาก
- ไม่มีกลิ่น เพราะผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% ไม่ผสมสารเคมีใดๆ
- ไม่ดับกลางคัน แม้ว่าจะใช้ในที่ที่อากาศถ่ายเทน้อย ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อยๆ
- ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอ ไม่วูบวาบเนื่องจากความหนาแน่นของถ่านไม่เท่ากันทุกส่วน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.clinictech.ops.go.th/online/pages/techlist_display.asp?tid=384
วิธีทําถ่านอัดแท่ง กะลามะพร้าวอัดแท่ง
ส่วนผสมถ่านอัดแท่ง
- กะลามะพร้าว
- แป้งมันสำปะหลัง
- น้ำ
อุปกรณ์ การทําถ่านอัดแท่ง
- ถังน้ำมัน 200 ลิตร สำหรับเผาถ่าน
- เครื่องบดถ่าน
- เครื่องผสม
- เครื่องอัดถ่าน
- ตู้อบถ่าน
วิธีทําถ่านอัดแท่ง
- เริ่มจากการเผากะลามะพร้าวให้เป็นถ่าน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อนเผาต้องคัดกะลามะพร้าวไม่ให้มีเศษวัสดุอื่นเจือปน จะทำให้ถ่านไม่มีคุณภาพ
- นำถ่านที่ได้จากการเผาแล้วนำไปบด โดยบดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เนื้อถ่านที่มีคาร์บอนลงตัวไม่ต่ำกว่า 82%
- หลังจากบดถ่านเสร็จแล้ว นำเข้าเครื่องผสม โดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวประสาน 10% และเติมน้ำสะอาด 8% เพื่อที่จะให้ส่วนผสมทุกส่วนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้มือหยิบดูว่าส่วนผสมเข้ากันหรือยัง ถ้ายังไม่เข้ากัน ใช้เครื่องผสม ผสมต่อไป สาเหตุที่ต้องใช้แป้งมันสำปะหลัง ผสมกับถ่านกะลา เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวการณ์เกาะตัวกัน
- นำถ่านที่ผสมแล้ว ไปเข้าเครื่องอัดแท่ง ซึ่งออกแบบโดยผู้ผลิตเอง เป็นเครื่องอัดเกลียวชนิดสกรู แรงดันสูงที่ 1,100 – 1,700 กก./ตร.ซม. ทำให้ได้ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเผาไหม้ ไม่สิ้นเปลือง ส่วนที่เหลือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก (ถ่านกะลามะพร้าว ยังสามารถใช้ดับกลิ่นในตู้เย็นได้ดี) จัดเป็นรูปทรงกระบอกหกเหลี่ยม และมีรูกลวงตรงกลาง ขนาด 1 ซม. แล้วแต่ความต้องการของตลาด จากนั้นตัดเป็นท่อน ๆ ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน
- นำถ่านที่ตัดเป็นท่อน เข้าตู้อบที่มีอุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบ ประมาณ 12 – 15 ชั่วโมง โดยใช้ไม้ฟืนจากไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิงในการอบ หรือตากแดดประมาณ 8 วัน เป็นการไล่ความชื้นในขั้นสุดท้าย
เทคนิค/เคล็ดลับการผลิต
การตรวจสอบคุณภาพ โดยการสังเกต จากการใช้มือบีบถ่าน ถ้าแห้งสนิทจะบีบไม่แตก หรือถ้าถ่านอัดแท่งที่แห้งสนิทดีแล้ว ถ้านำเคาะจะเกิดเสียงดังกังวาน จากนั้นนำถ่านที่แห้งสนิทดีแล้วมาบรรจุถุงพลาสติก ขนาดน้ำหนัก 1 กก. หรือบรรจุกล่อง กล่องละ 27 กิโลกรัม ตามที่ตลาดต้องการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://souvenirbuu.wordpress.com/ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย/ภูมิปัญญาภาคใต้/ของใช้/ถ่านกะลามะพร้าวอัดแท่ง
วิธีทําถ่านอัดแท่ง รีไซเคิลจากเศษถ่าน
วัสดุอุปกรณ์ในการทำบล็อกอัดถ่าน
- เหล็กแป๊บกลม ขนาด6หุน ความยาว 72 เซนติเมตร
- เหล็กแป๊บกลม ขนาด4หุน ความยาว 88 เซนติเมตร
- เหล็กกลมทำเป็นบล๊อกอัดถ่าน ขนาด1นิ้ว ความยาว 12 เซนติเมตร
- เหล็กเส้นกลม ขนาด6หุน ความยาว 11 เซนติเมตร
- แหวนอีแปะ ขนาดใหญ่กว่าเหล็กกลมที่ทำเป็นบล๊อกอัดถ่านนิดหน่อย
- เหล็กแป๊บกลม ขนาด4หุน ความยาว30เซนติเมตร(ใช้เป็นด้ามจับ)
- ตู้เชื่อม+เหล็กเชื่อม
- เครื่องตัดเหล็ก
วิธีทำบล็อกอัดถ่านแท่ง
- ขั้นตอนและวิธีทำเครื่องอัดถ่าน
- ตัดเหล็กแต่ละขนาดความยาวตามที่กำหนดข้างต้น
- เชื่อมแหวนอีแปะ(5)ติดกับเหล็กเส้นกลม(4)
- นำเหล็กที่เชื่อมกับแหวนอีแปะเสร็จแล้วมาเชื่อมกับเหล็กแป๊บกลม4หุน
- สวมเหล็กแป๊บกลมขนาด1นิ้ว(3)และเหล็กแป๊บขนาด6หุน(1)เข้าไปในเหล็กแป๊บขนาด4หุน(2) แล้วเชื่อม(3)และ(1) เข้าด้วยกัน
วิธีทำบล๊อกอัดถ่าน - สุดท้ายให้เชื่อมด้ามจับใส่ตรงปลายเหล็กแป๊บขนาด4หุน(2) เป็นอันเสร็จเรียบร้อยการทำบล๊อกอัดถ่านแล้ว
ส่วนผสมถ่านอัดแท่ง
- เศษถ่านเล็กๆที่เหลือจากการใช้งานหรือขายแล้ว 10 กิโลกรัม
- น้ำเปล่า 10 ลิตร
- แป้งมัน 1 กิโลกรัม(1ถุง)
- กะละมังเก่าใช้ผสม
- ท่อปูนกลมเก่า (ใช้ในการอัดถ่าน)
- กระเบื้องลอนคู่เก่า (ใช้วางถ่านอัดแท่ง)
- อุปกรณ์บดถ่าน ใช้ครกไม้เก่าแบบโบราณถ้ามีหรือถ้าไม่มีใช้ไม้หรือท่อนไม้หนักๆอะไรก็ได้เพราะถ่านกรอบและง่ายต่อการบดอยู่แล้ว
วิธีทําถ่านอัดแท่งด้วยมือ
- นำเศษถ่านมาบด วันนี้ใช้เครื่องบดค่ะง่ายหน่อยหากไม่มีให้ใช้ครกไม้เก่าหรือดัดแปลงอะไรก็ได้ทุบให้ถ่านละเอียด
- ผสมถ่านที่บดละเอียดแล้ว มาผสมกับน้ำและแป้งมัน 10:10:1 คลุกให้ส่วนผสมเข้ากัน วิธีเช็คว่าใช้ได้หรือยังให้กำถ่านที่ผสมแล้วบีบดูว่าเหนียวได้ที่หรือยัง บีบจนให้ไม่มีน้ำออกมาเป็นอันใช้ได้
เทคนิคการทำถ่านอัดแท่ง - เมื่อนวดให้ถ่านบดผสมกับแป้งมันและน้ำได้เหนียวได้ที่แล้ว ก็นำเครื่องอัดถ่านที่เราทำไว้นั่นแหละค่ะ วิธีการก็จับตรงท่อนเหล็กแล้วกระทุ้งลงในถ่านที่ผสมเพื่อดูดถ่านเข้ามาในบล๊อกจนเต็ม
วิธีทำถ่านอัดแท่ง - เมื่ออัดถ่านจนเต็มบล๊อกตัวที่เหล็กที่แทงจะดันขึ้นสุดก็ทำการเอาถ่านออก วิธีการก็คือหันด้านด้ามจับกลับด้านลงแล้วค่อยๆกระทุ้งด้ามเพื่อดันถ่านออกจากบล๊อก
วิธีการทำถ่านอัดแท่ง - ใช้มือค่อยๆหมุนแท่งถ่านออกจากบล๊อก
- นำถ่านอัดแท่งแล้วไปวางบนกระเบื้อง ตากแดดทิ้งไว้1วัน ถ่านอัดแท่งก็สามารถนำมาใช้งานหรือขายได้แล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.baannoi.com/สรรหามาเล่า/123-เทคนิคการทำถ่านอัดแท่ง.html
วิธีทําถ่านอัดแท่ง จากกะลามะพร้าว
เครื่องจักรที่ต้องใช้
- เครื่องบด สามารถใช้สำหรับวัสดุขนาดใหญ่ บดให้ละเอียดตามต้องการ
- เครื่องผสม สามารถใช้เครื่องผสมทั่วไปแทนได้หรือผสมมือก็ได้
- เครื่องอัดแท่งถ่าน
ส่วนผสมถ่านอัดแท่ง
- ถ่านไม้ 10 กิโลกรัม
- กะลามะพร้าว 20 กิโลกรัม
- แป้งมัน 4 กิโลกรัม
- น้ำเปล่า 3-4 ลิตร (ขึ้นอยู่กับความชื้นของวัสดุ)
วิธีทําถ่านอัดแท่ง
- เมื่อเตรียมวัสดุครบทุกอย่างแล้ว ก็ให้นำมาผสมกันในเครื่องผสม คลุกเคล้าให้เข้ากัน ขณะที่ผสมก็ให้เติมน้ำเข้าไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้ส่วนผสมเข้ากันได้ง่าย
- เมื่อผสมได้ที่แล้วก็นำไปใส่เครื่องอัดแท่ง จะได้ถ่านอัดแท่งที่มีขนาดยาวเป็นแท่งเดียว ตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่นิยมขนาดยาว 8 นิ้วหรือประมาณ 20 ซม. ซึ่ง 4 ก้อนจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
- จากนั้นนำมาตากแดดประมาณ 1 วัน เพื่อกำจัดความชื้นที่อาจมีหลงเหลืออยู่ ทำให้ถ่านแห้งสนิท
- นำถ่านมาย่างไฟอ่อนๆประมาณ 50 องศา เพื่อไล่ความชื้นอีกครั้งหนึ่ง และทำให้ถ่านแข็งไม่แตกง่าย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://today.line.me/th/v2/article/2Oew2X
วิธีทําถ่านอัดแท่ง กะลามะพร้าว
ส่วนผสมถ่านอัดแท่ง
- กะลามะพร้าว
- แป้งมันสำปะหลัง
- น้ำ
วิธีทําถ่านอัดแท่ง
- นำวัสดุมาเผา
- นำไปบดให้เป็นเกร็ดกะลา
- นำไปผสมระหว่าง เกร็ดกะลากับแป้งมัน
- นำไปอัดเป็นแท่ง
- นำเข้าเตาอบถ่าน เพื่อไล่ความชื้น
- นำใส่กล่องบรรจุภัณฑ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.kstv.co.in/เว็บถ่าน/Web/html/วิธีการทำถ่านอัดแท่ง ฉบับย่อ