รวมสูตรอาชีพ “วิธีปลูกมะเขือเทศ”, วิธีปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่, วิธีปลูกมะเขือเทศองุ่น, วิธีการปลูกมะเขือเทศทับทิมราชา, ปลูกมะเขือเทศลูกท้อ, ปลูกมะเขือเทศเถาวัลย์, ปลูกมะเขือเทศสีดา, มะเขือเทศเชอร์รี่, และวิธีมะเขือเทศเชอรี่ลูกแพร์โดยได้ทำการเลือกวิธีการปลูกมะเขือเทศ พร้อมเริ่มต้นอาชีพปลูกมะเขือเทศขาย เริ่มธุรกิจขายมะเขือเทศได้ทันที เหมาะสำหรับผู้สนใจอาชีพเสริม, สร้างอาชีพและอาชีพอิสระ
หากคุณมีสูตรอาชีพ “วิธีปลูกมะเขือเทศ” ต้องการแบ่งปันและโปรโมทร้านคุณ โปรดติดต่อ smeleader.thailand@gmail.com
1.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศเชอร์รี่
อุปกรณ์ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ :
- ถาดเพาะกล้า 104 หลุม
- เมล็ดมะเขือเทศเชอรี่
- วัสดุเพาะกล้า (Cane Peat)
การเตรียมแปลง :
- นำกากหม้อกรองอ้อยที่กองพักไว้ ประมาณ 1 ปี มาใส่ในแปลงปลูกแล้วไถพรวนดิน ใช้รถไถยกร่องแปลงกว้าง 1 เมตร ความสูงของแปลงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนความยาวสามารถปรับตามขนาดพื้นที่ได้เลย ให้เว้นช่องทางเดินระหว่างแปลงระยะห่างประมาณ 60 เซนติเมตร
- เมื่อทำแปลงเสร็จให้คลุมด้วยพลาสติกคลุมแปลงขนาดกว้าง 2 เมตร โดยขั้นตอนการคลุมจะใช้ไม้ไผ่ตอกยึดพลาสติกกับแปลงไว้ และต้องดึงพลาสติกคลุมแปลงให้ตึงเรียบแนบกับตัวแปลง
- จากนั้นเจาะรูพลาสติก ด้วยท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ทำปลายท่อเป็นแง่งฟันปลา หลังจากนั้นให้เจาะรูพลาสติกได้ตามต้องการ
การปลูกลงแปลง :
- เมื่อกล้ามะเขือเทศเชอรี่อายุ 25-30 วัน ก็สามารถนำลงแปลงปลูกได้ ทั้งนี้ควรเตรียมความพร้อมของต้นกล้าก่อนลงปลูก
- โดยเริ่มจากลดปริมาณการให้น้ำและเพิ่มปริมาณแสง เพื่อให้ต้นกล้าปรับตัวก่อนที่จะย้ายลงแปลงปลูก ควรปลูกในตอนบ่ายหรือตอนค่ำเพราะจะช่วยให้ต้นกล้าปรับตัวได้ดี ในตอนกลางคืนและมีโอกาสรอดสูง
การดูแลรักษา :
- เมื่อปลูกมะเขือเทศเชอรี่ลงแปลงแล้ว ต้องควบคุมโรคและแมลงให้ดี ผลผลิตจึงจะออกมาสมบูรณ์แข็งแรงและมีคุณภาพ โรคที่สำคัญในมะเขือเทศเชอรี่คือ โรคไวรัสใบหยิกเหลืองและโรคโคนเน่า รากเน่า อาการเหล่านี้ป้องกันได้โดยอย่าปล่อยให้แปลงผักชื้นจนเกินไป อย่าปล่อยให้แปลงรก ต้องกำจัดวัชพืชออกจากแปลง เพื่อตัดที่อยู่ของโรคและแมลง รวมถึงหมั่นให้น้ำเช้า-บ่าย อย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกมะเขือเทศเชอรี่ออก ระวังอย่าให้ได้รับน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้ผลแตกได้
การเก็บเกี่ยว :
- สามารถเก็บได้เมื่อมีอายุนับจากปลูกลงแปลงได้ 80 วัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.mitrpholmodernfarm.com
2.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศองุ่น
การเพาะกล้ามะเขือเทศองุ่น : การเพาะกลาทำได้ 3 วิธีคือ
1. กระบะเพาะ นิยมใช้กรณีที่ต้องการต้นกล้าจํานวนไม่มากนัก การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะสามารถเพาะได้ดีเนื่องจากใช้ดินจํานวนน้อย สามารถนําดินมาอบฆ่าเชื้อโรคก่อนทําการเพาะได้ โดยอบด้วยไอน้ำร้อน หรือตากดินที่จะใช้เพาะให้ดีก่อนประมาณ 3-4 อาทิตย์ หรือเลือกดินที่ปราศจากโรคมาเป็นส่วนผสมโดยสังเกตว่าดินนั้นปลูกพืชแล้วพืชไม่เคยเป็นโรคมาก่อนหรือเป็นดินที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนเลยก็ใช้ได้
- กระบะที่ใช้เพาะเมล็ดควรมีขนาดประมาณ 45-60 เซนติเมตร (หรือภาชนะที่พอจะหาได้)ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีรูระบายน้ำได้ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ปรับผิวหน้าดินให้เรียบแล้วโรยเมล็ดเป็นแถว โดยการใช้ไม้ทาบเป็นร่องเล็กๆ ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5-7 เซนติเมตร
- แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทรายบางๆ รดน้ำให้ชุ่มและใช้สารป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช พด.7 เจือจางด้วยน้ำในอัตรา 1:500 ฉีดพ่นอีกทีหนึ่ง เพื่อป้องกันมดคาบเมล็ดไปกิน
- เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว ซึ่งบรรจุดินผสมอยู่จนกระทั่งกล้าสูงประมาณ 30 เซนติเมตร หรือมีอายุ 30-40 วันจึงทําการย้ายกล้าลงแปลงปลูก
- โดยใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดเพื่อไม่ให้รากกระทบกระเทือนก่อนที่จะย้าย 2-3 วัน อาจใช้โพแทสเซียมคลอไรด์อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บรดเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง แต่ก่อนย้ายกล้าควรงดการให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ดินในถุงจับตัวกันแน่น ทําให้สะดวกต่อการย้ายกล้า อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ
- หากไม่ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกก็ควรชําต้นกล้าให้เป็นแถวในแปลงชํา โดยเตรียมดินให้ร่วนซุยด้วยการใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 5-7 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร ขนาดแปลงชํากว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และปริมาณของต้นกล้า ระยะปลูกระหว่างแถว 10เซนติเมตร และเมื่อกล้าสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ก็ย้ายลงแปลงปลูกจริง โดยก่อนย้ายจะต้องรดน้ำในแปลงชําให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการถอนต้นกล้าและรากต้นกล้าจะไม่ขาดหรือถูกกระทบกระเทือนมากนัก
2. แปลงเพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจํานวนมาก สําหรับขนาดของแปลงเพาะก็เช่นเดียวกับแปลงชํา คือ ขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร
- ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3 : 1 ทําการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร เมื่อกล้ามีอายุ 20 – 25 วันหรือมีใบจริง 2 – 3 ใบก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้
- แปลงเพาะควรมีตาข่ายหรือผ้าดิบคลุมแปลง เพื่อป้องกันแดด ลม และฝนซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ต้นอ่อนได้
- โดยเปิดผ้าคลุมแปลงให้รับแสงแดดในช่วงเช้าถึง 3 โมงเช้าและเปิดอีกครั้งเมื่อ 4 โมงเย็น
- ในกรณีที่หาวัสดุหรือผ้าคลุมแปลงไม่ได้และไม่ใช่ฤดูฝน อาจจะใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบางๆ หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินเรียบร้อยแล้ว
- เมื่อเมล็ดงอกจึงค่อยๆ ดึงฟางออกบ้างเพื่อให้ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่ายและต้นกล้าแข็งแรงมากขึ้น
3. ถาดเพาะกล้า เป็นวิธีเพาะกล้าที่สะดวกและพัฒนาจากวิธีการเพาะกล้าในกระบะเพาะโดยเตรียมเพาะเมล็ดมะเขือเทศลงในถาดเพาะกล้าพลาสติก เมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 วัน จึงเตรียมย้ายปลูกลงแปลง โดยใช้มือบีบด้านล่างสุดของถาดหลุม ต้นกล้าจะหลุดออกมาจากถาดพร้อมดินปลูกทําให้ต้นกล้ามะเขือเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากนัก
การปลูก :
- แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร และเพื่อป้องกันวัชพืชขึ้น รวมทั้งรักษาความชื้นในแปลง ควรคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกทึบแสงและเจาะรูเฉพาะหลุมปลูกให้ปลูกเป็นแถวคู่ ระยะระหว่างแถว 70เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
- รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกหนึ่งกระป๋องนมต่อหลุม ปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 20 กรัมต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดิน อย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุมในช่วงฤดูฝน เพราะจะทําให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย
- สําหรับการย้ายกล้าลงแปลงปลูกนี้ต้องเลือกต้นกล้าที่มีลักษณะดีคือ มีต้นแข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นการย้ายกล้าจากแปลงเพาะหรือแปลงชํามาลงปลูกโดยตรง ควรย้ายปลูกในเวลาที่อากาศไม่ร้อนคือ ในตอนบ่ายหรือเย็น
- เมื่อย้ายเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที จะทําให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้นและเปอร์เซ็นต์การตายน้อยลง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าที่ชําในถุงพลาสติก สามารถย้ายลงแปลงได้ทุกเวลา ต้นกล้าจะตั้งตัวได้เรวและรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์หลังจากย้ายกล้าแล้วรดน้ำกล้าให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น
- เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงควรรดน้ำเพียงวันละครั้ง ในบางแห่งอาจจะให้น้ำแบบเข้าตามร่องแปลงจนชุ่ม แล้วปล่อยน้ำออก วิธีนี้สามารถทําให้มะเขือเทศได้รับน้ำอย่างเต็มที่และอยู่ได้ 7 -10 วัน
การพรวนดินกลบโคนต้น :
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว ในแปลงที่ไม่ได้คลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกทึบแสง ควรทําการพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำ ทําได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทําให้รากมะเขือเทศเกิดมากขึ้น ซึ่งจะทําให้ลําต้นมีความแข็งแรง หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว 1เดือน ให้ทําการกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง
การให้น้ำ:
- มะเขือเทศเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่ (ผลมีการเปลี่ยนสี)หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำลงมิฉะนั้นอาจทําให้ผลแตกได้ นอกจากนี้การรดน้ำมากเกินไปจะทําให้ดินชื้น ซึ่งจะทําให้เชื้อราสาเหตุโรคเน่าเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าหากมะเขือเทศขาดน้ำและให้น้ำอย่างกระทันหันก็จะทําให้ผลแตกได้เช่นกัน
การใส่ปุ๋ย :
นอกจากจะใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 รองก้นหลุมก่อนปลูกแล้ว การปลูกมะเขือเทศจําเป็นจะต้องมีปุ๋ยเคมีเสริมด้วยเพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้น สําหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละพื้นที่ เช่น สภาพดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโพแทสเซียมเท่ากัน ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูงขึ้นแต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่น สูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุโพแทสเซียม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียม สูงกว่าตัวอื่น เช่น สูตร 15-20-2013-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงเนื่องจากมะเขือเทศจะต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากในสภาพอุณหภูมิของอากาศสูง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถหาปุ๋ยสูตรดังกล่าวข้างต้นได้ ก็สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7 วัน
- ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่หนึ่ง 15 วัน
- ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่สอง 20 วัน
การปักค้าง :
- พันธุ์มะเขือเทศที่ทอดยอดหรือพันธุ์เลื้อยจําเป็นจะต้องมีการปักค้าง โดยใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอก ใช้เชือกผูกกับลําต้นให้ไขว้กัน และผูกเงื่อนกระตุกกับค้าง เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี สะดวกต่อการดูแลรักษา สามารถฉีดสารป้องกันกําจัดโรคแมลงได้อย่างทั่วถึง และผลไม้สัมผัสดิน ทําให้ผลสะอาด สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว:
- ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะเขือเทศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อย้ายปลูกได้ประมาณ 30-45วัน มะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน ซึ่งระยะเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ในระยะที่ผลเป็นสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อๆ และการเก็บเกี่ยวต้องให้ขั้วผลติดมาด้วย เหตุที่ต้องเก็บผลในระยะที่ไม่แก่จัดเนื่องจากทําให้ทนทานต่อการขนส่ง และเมื่อมะเขือเทศถึงมือผู้บริโภคหรือวางขายในตลาดก็จะเริ่มสุก (ผลมีสีส้มหรือสีแดง)พอดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.allkaset.com
3.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศลูกท้อ
วิธีการปลูกมะเขือเทศลูกท้อ :
- เริ่มจากเตรียมกระถาง กระบะ หรือภาชนะที่มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- ผสมดินสำหรับปลูก โดยใช้ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมส่วนผสมทั้งหมดลงดิน แล้วใส่ลงในกระถาง
- เพาะเมล็ดมะเขือเทศด้วยวัสดุเพาะ เช่นพีทมอส หรือวัสดุที่เหมาะต่อการเพาะกล้า โดยทำการหยอดเมล็ดลงถาดหลุมรดน้ำให้ชุ่ม ย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบหรืออายุไม่เกิน 25-30 วัน
- เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันจึงย้ายปลูกลงแปลงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าปลูกลงแปลงควรใช้ระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 50 x 70 เซนติเมตร
การใส่ปุ๋ย :
- หลังย้ายปลูก 7 วัน 15-15-15 อัตรา 20 กรัม/หลุม เมื่อมะเขือเทศปลูกได้ 25-30 วันใส่ปุ๋ย 12-25-12 หรือ 15-30-15 และเมื่อย้ายปลูก 40 วัน ปุ๋ยสูตร 15-20-20, 13-13-21 หรือ 12-12-17
การตัดแต่งกิ่ง :
- พันธุ์ที่ปลูกแบบขึ้นค้างส่วนมากเป็นพันธุ์ที่รับประทานผลสด ควรตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 1-2 กิ่งต่อต้น เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่
การเก็บเกี่ยว :
- อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือเทศขึ้นอยู่กับพันธุ์โดยทั่วไปจะเก็บผลได้ เมื่อมะเขือเทศมีอายุประมาณ 70-90 วัน อายุนับจากเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวหมด ประมาณ 4-5 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.railungtop.com
4.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศทับทิมราชา
การเตรียมแปลง :
- ไถดินลึกประมาณ 30 ซม. ตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน
- หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ให้ทั่วแปลงเพื่อปรับสภาพดิน อัตรา 500-1,000 กก./ไร่
- ใส่ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-1,500 กก./ไร่ -ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองพื้นอัตรา 20-30 กก./ไร่
- ไถยกร่องกว้าง 80 เซนติเมตร สำหรับปลูกแถวเดี่ยว ระยะห่างระหว่างแปลงปลูก 1-1.5 เมตร ระยะระหว่างต้น 80-100 เซนติเมตร
- คลุมด้วยพลาสติกสองหน้าสีดำ-เงิน โดยสีเงินอยู่ด้านบน
การเพาะเมล็ด :
- เตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ด (ควรใช้พีทมอสสำหรับเพาะกล้าโดยเฉพาะ)
- นำพีทมอสใส่ถาดเพาะให้เต็มหลุม เหลือพื้นที่ปากหลุมไว้ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
- นำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงหลุมละ 1-2 เมล็ด เติมพีทมอสอีกครั้งให้เต็มหลุม อย่าให้แน่นเกินไป
- รดน้ำทุกวันเช้า-เย็น อย่าปล่อยให้พีทมอสแห้ง เมื่อได้4-5วัน เมล็ดจะเริ่มงอก และเมื่อายุ25วัน ถึงจะย้ายลงแปลงปลูก
การย้ายปลูก :
- เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25 วันให้ย้ายลงแปลงปลูก โดยก่อนย้ายลงแปลง ต้องให้น้ำในแปลงปลูกอย่างเพียงพอ ไม่แห้งหรือแฉะเกินไป (แนะนำให้ย้ายในช่วงเย็นเพื่อให้ต้นกล้าฟื้นตัวในช่วงกลางคืน)
การให้ปุ๋ย :
- ปุ๋ยสูตร 25-7-7 เริ่มให้เมื่อหลังย้ายปลูก 7-10วัน อัตรา 20 กก./ไร่
- ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เริ่มให้หลังจากให้ปุ๋ยครั้งแรก15วัน และให้ทุกๆ10วันครั้ง และเมื่อเริ่มติดผลให้ผสมปุ๋ยสูตร 13-13-21 กับ 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 อัตรา 20-30 กก./ไร่
การเก็บเกี่ยว :
- มะเขือจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมืออายุ 80-90 วัน หลังหยอดเมล็ด และเก็บทุกๆ4-5วันครั้ง ข้อสำคัญในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องให้น้ำและบำรุงปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ และสามารถเก็บผลผลิตได้3-4เดือน นับจากหยอดเมล็ด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.advanceseeds.com
5. ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศเถาวัลย์
การเตรียมดิน :
- ในการปลูกมะเขือเทศนั้นการเตรียมดินต้องพิถีพิถันมาก ดินควรต้องระบายน้ำได้ดี และกำจัดวัชพืชให้หมด เพราะมะเขือเทศต้องการดินที่มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี ส่วนวัชพืชนั้นนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย
การเพาะกล้า :
- การเพาะกล้ามะเขือเทศสามารถเพาะได้ทั้งในกระบะและแปลงเพาะ ในกะบะเพาะนิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนน้อย วิธีนี้จะเพาะเมล็ดได้ผลมากเพราะสามารถอบฆ่าเชื้อในดินก่อนทำการเพาะได้ โดยใช้สารเคมีจำพวกเมธีลโบรไมด์คลอโรฟิคริน หรีอ เบอร์คิวริ คลอไรด์ อัตราส่วน 1 ส่วน ต่อน้ำ 2,000 ส่วน รดไปบนดินที่จะเพาะแล้วทิ้งไว้สัก 2 สัปดาห์ก็ทำการเพาะได้
การปลูก :
- ในแปลงปลูกควรขุดไถดินให้ลึก 25-30 เขินติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 4-5 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าลงไปในดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินแล้วพรวนย่อยบนผิวหน้าดินให้มีขนาดเล็กลง ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินด้วย
การให้ปุ๋ย :
- ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัดตรา 20 กรัม/หลุม ส่วนหลังจากนั้นก็ต้องให้ปุ๋ยเสริมตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ถ้าเป็นดินเหนียว ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ปุ๋ย 12-25-12 หรือ 15-30-15 ถ้า เป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น 10-20-15 ส่วนดินทรายควรให้ ปุ๋ยสูตร 15-20-20, 13-13-21 หรือ 12-12-17 แต่ถ้าเป็นมะเขือเทศนอกฤดู ควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ปุ๋ยที่จะให้แก่ต้นมะเขือเทศควรให้ประมาณ 50-100 กก./ไร่ โดยดูจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ครั้งแรกนอกจากปุ๋ยรองก้นหลุม จะใส่หลังจากย้ายปลูก 7 วัน ครั้งที่สองหลังจากย้ายปลูก 22 วัน และครั้งสุดท้าย ใส่เมื่อย้ายปลูก 40 วัน
การให้น้ำ :
- มะเขือเทศต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่คือ เริ่มเปลี่ยนสี หลังจากนั้นแล้วควรลดการให้น้ำลง มิฉะนั้นจะทำให้ผลแตกได้ โดยทั่วไปนิยมให้น้ำปล่อยตามร่อง การให้น้ำมากเกินไปจะทำให้ดินชื้นและเกิดโรคง่าย
การพรวนดิน :
- เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้นเพื่อเป็นการเปิดร่อง ระหว่างแถวทำให้ให้น้ำได้สะดวกและช่วยกำจัดวัชพืชไปด้วย หลังจากพรวนดินครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน ก็ทำการพรวนดินกลบโคนต้นอีกครั้งหนึ่ง
การปักค้าง :
- เมื่อปลูกมะเขือเทศพันธุ์ขึ้นค้างซึ่งเป็นพันธุ์รับประทานสด ควรทำค้างให้เมื่อต้นเริ่มเลื้อย หรืออายุได้ 8-10 วันหลังย้ายปลูก โดยปักค้างไม้ไผ่รอบปากหลุม เอนปลายเข้าหากันแล้วผูกเป็นกระโจมวางไว้พาดประมาณ 2-3 ช่วง หรืออาจจะปักไม้ค้างไว้ที่หัวแถวกับท้ายแถวแล้วใช้ลวดขึงระหว่างหัวท้าย ใช้เชือกผูกต้นมะเขือเทศ ไว้ที่ราวลวดอีกทีหนึ่งก็ได้ การทำค้างก็เพื่อให้สะดวกต่อการดูแลรักษา ฉีดยาป้องกัน แมลงได้ทั่วถึง และผลไม่เปรอะเปื้อนพื้นดิน สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว :
- ผลเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อมะเขือเทศถึงตลาดก็จะเริ่มสุกพอดี ส่วนการเก็บผลเพื่อส่งโรงงานต้องเก็บในขณะที่ผลสุกเป็นสีแดงหรือสีส้มแล้วแต่พันธุ์และเก็บไม่ให้มีขั้วผลติดมาด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thaikasetsart.com
6.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศสีดา
อุปกรณ์ปลูกมะเขือเทศสีดา :
- เมล็ดพันธ์ุ
- อุปกรณ์ในการเพาะต้นกล้า
- กระบะเพาะ
- ถาดเพาะ
- กล่องพลาสติก
- ถุงปลูก
- ดินผสม
- ขุยมะพร้าวหรือฟาง
- เครื่องมือการเกษตร
ปลูกในสวนหลังบ้าน :
- ท่านสามารถเลือกปลูกมะเขือเทศได้เกือบทุกสายพันธุ์ โดยเริ่มจากการหาพื้นที่ในบริเวณบ้านที่มีแสงส่องตลอดทั้งวัน หรืออย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
- นำต้นกล้าอายุประมาณ 15 วันมาลงในแปลงปลูก โดยผู้ปลูกต้องให้น้ำอยู่เสมอ ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนผลเริ่มแก่ และอย่าลืมหมั่นดูแลต้นมะเขือเทศโดยการใส่ปุ๋ยหรือสารชีวภาพ
- รวมถึงการกำจัดวัชพืชบริเวณแปลงผัก และป้องกันสัตว์อื่น ๆ ไม่ให้มาทำลายหรือทำให้เกิดโรคได้
ปลูกแบบแขวน :
- เป็นอีกวิธีที่สะดวกในเคลื่อนย้าย แต่ผู้ปลูกจำเป็นต้องรดน้ำบ่อยขึ้น เพราะต้นมะเขือเทศไม่ได้อยู่บนพื้นดิน และโครงสร้างวัสดุที่ใช้ก็ต้องแข็งแรง
- ทั้งนี้การปลูกแบบแขวนมีข้อดีอยู่มากและยังทำได้ง่ายอีกด้วย เพียงแค่นำต้นกล้ามะเขือเทศพันธุ์ใดก็ได้จากกระบะเพาะอายุประมาณ 7-10 วันมาปลูกลงในกระถาง
- แล้วนำลวดหรือวัสดุมายึดไว้ จากนั้นนำไปแขวนในพื้นที่ที่ต้องการ เพียงแค่นี้ก็เสร็จสิ้น เหมาะสำหรับท่านที่มีพื้นที่จำกัดแต่อยากปลูกผักไว้ทาน
ปลูกในถุง :
- อีกหนึ่งวิธีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็คือ การปลูกมะเขือเทศในถุง ซึ่งวิธีการก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำต้นกล้าอายุประมาณ 7-10 วันจากกระบะเพาะ ย้ายมาปลูกในถุงดำขนาด 8 นิ้วขึ้นไป
- เมื่อต้นเริ่มโต ให้นำไม้มาทำหลักให้ต้นมะเขือเทศได้เกาะยึด จากนั้นก็ให้ปุ๋ยอินทรีย์เร่งใบ เร่งดอก หมั่นรดน้ำเป็นประจำ และที่สำคัญอย่าลืมให้ต้นมะเขือเทศได้รับแสงแดดที่เพียงพอ
การดูแล :
- การพรวนดินกลบต้น:เพื่อสามารถให้น้ำได้อย่างสะดวก น้ำไม่ขัง ช่วยให้มะเขือเทศเกิดรากมากขึ้น โดยให้ทำในช่วงที่ต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว
- คลุมด้วยหญ้า: ให้นำหญ้าหรือฟางมาคลุมต้นจะช่วยกำจัดวัชพืชและกักเก็บความชื้นไว้ได้
- การปักค้าง: เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ดูแลและฉีดยากำจัดวัชพืชได้ทั่วถึง ควรทำก่อนระยะออกดอก
- เขย่าไม้ค้ำหรือหลักเบา ๆ : เพื่อเป็นการกระตุ้น ช่วยเพิ่มปริมาณการออกผล โดยทำสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 2-5 วินาที ให้ทำในช่วงที่เริ่มผลิดอก
- รดน้ำทุก 7-10 วัน: แต่สำหรับการปลูกแบบแขวนแนะนำให้รดน้ำ 3-5 วัน ซึ่งการรดน้ำแบบหยดหรือฝังท่อ จะดีกว่าการรดน้ำจากด้านบน
การเลือกปุ๋ย : เพื่อช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตที่ดี รวมถึงต้องเลือกสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการ เช่น สูตรปุ๋ยเร่งใบ สูตรปุ๋ยเร่งดอก หรือสูตรปุ๋ยบำรุงผล
การเก็บเกี่ยว :โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อปลูกได้ประมาณ 30-45 วัน มะเขือเทศก็จะเริ่มออกดอก ถัดมาเมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน (3เดือน) ก็สามารถที่จะเริ่มเก็บเกี่ยวผลได้ รอจนผลสุกดีแล้วค่อยเก็บมาทำอาหารตามที่ต้องการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.baania.com
7.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศเชอร์รี่ 2
การเตรียมดิน :การปลูกมะเขือเทศ ดินควรระบายน้ำได้ดี และกำจัดวัชพืชให้หมด และดินที่มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศได้ดี
การบ่มเมล็ด : นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ แช่ในน้ำสะอาด 1 ลิตร โดยให้เมล็ดทุกส่วนถูกน้ำ แช่เมล็ดนาน 20 นาทีนำเมล็ด (ไม่ควรวางหนาแน่นเกินไป) มาวางในกระดาษเพาะกล้าหรือผ้าขาวบางชุบน้ำมาดๆ แล้วจึงห่อเมล็ดห่อกระดาษเพาะเมล็ดอีกครั้งด้วยถุงพลาสติก โดยใส่ในภาชนะที่มิดชิด นาน 24 ชั่วโมง
การเพาะกล้า : บรรจุวัสดุเพาะกล้า ลงในถาดเพาะกล้า รดน้ำให้ชุ่ม นำเมล็ดหยอดลงในถาดเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ รดน้ำให้ชุ่ม บริเวณที่มีแสงแดด รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 25-30 วัน
การย้ายกล้า : ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 25-30 วัน หลังจากหยอดเมล็ด
การปลูก : ในแปลงปลูกควรขุดไถดินให้ลึก 25-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 4-5 ตัน/ไร่ คลุกเคล้าลงไปในดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินแล้วพรวนย่อยบนผิวหน้าดินให้มีขนาดเล็กลง ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินด้วย
การให้น้ำ : มะเขือเทศต้ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่ เริ่มเปลี่ยนสี หลังจากนั้นควรลดน้ำลงมิฉะนั้นผลจะเริ่มแตก
การดูแลรักษา :
- การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตกหรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 – 40 %
- การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 – 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 – 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.railungtop.com
8. ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศเชอร์รี่ 3
วิธีปลูก :
- มะเขือเทศขยายพันธุ์ง่ายด้วยการเพาะเมล็ด ให้ลองเพาะในกล่องพลาสติกใสที่มีฝาปิด โดยโรยเมล็ดบาง ๆ ลงบนกระดาษทิชยก
- รดน้ำให้ชุ่มทิ้งไว้เพื่อให้สังเกตการณ์ เพียง 3-4 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกและมีใบเลี้ยงเล็กๆ โผล่ให้เห็น
- หลังจากเมล็ดงอกจนต้นกล้ามีอายุได้ 15 วันหรือเริ่มมีใบจริง ค่อยย้ายปลูกลงในกระถางหรือถุงปลูกขนาดเล็ก
- เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันจึงย้ายปลูกลงแปลงหรือภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าปลูกลงแปลงควรใช้ระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 50 x 70 เซนติเมตร สำหรับมะเขือเทศแบบไม่ใช้ค้าง
- ส่วนพันธุ์ที่ต้องใช้ค้างใช้ระยะประมาณ 30 x 70 เซนติเมตร โดยทำค้างเมื่อต้นเริ่มเลื้อยหรืออายุประมาณ 8-10 วันหลังย้ายปลูก
- อาจทำค้างแบบใช้ไม้ปักผูกเป็นกระโจม หรือใช้เชือกผูกต้นมะเขือเทศไว้ที่ราวลวดก็ได้
- สำหรับการปลูกมะเขือเทศในสวนครัวนิยมปลูกแบบขึ้นค้าง แล้วตัดแต่งกิ่งแขนงออกโดยเหลือเพียง 1-2 กิ่งต่อต้น
- เพื่อให้ให้ได้มะเขือเทศผลใหญ่ขึ้น ทั้งยังช่วยลดปัญหาโรคแมลงที่อาจซ่อนตัวตามกิ่งใบด้วย
การใส่ปุ๋ย :
- แนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลไส้เดือนทุก 20 วัน เมื่อต้นเริ่มผลิดอกออกผลก็เริ่มให้ปุ๋ยบำรุงผล แนะนำให้เก็บผลเมื่อเริ่มสุกแดงประมาณหนึ่งในสามแล้วเก็บในตู้เย็น จะเก็บได้นานกว่าเก็บผลสุกสีแดงทั้งผล
เคล็ดลับ :
- ต้องให้น้ำตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่อย่างสม่ำเสมอ กระทั่งผลมะเขือเทศเริ่มเปลี่ยนสีจึงลดการให้น้ำลงเพื่อให้ป้องกันผลแตก แต่ไม่ควรให้น้ำจนดินขังแฉะเพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคโคนเน่าได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.trgreen.co.th
9.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศเชอรี่ลูกแพร์ สีแดง
การเพาะเมล็ด :
- นำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดประมาณ ประมาณ ไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะสังเกตุเห็นรากสีขาวโผล่ออกจากเมล็ดให้รีบย้ายปลูกได้เลยครับ
การเพาะกล้า :
- บรรจุวัสดุเพาะกล้า (พีทมอส, เพอร์ไลท์, ฟองน้ำ ฯลฯ)
- นำเมล็ดทีบ่มการงอกมาหยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอนทำมุมประมาณ 45 องศา และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ
- ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง กลบด้วยวัสดุเพาะกล้า แล้วกดทับเบาๆ
- รดน้ำให้ชุ่ม นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดรำไร
- รดน้ำทุกวัน เพื่อให้วัสดุเพาะกล้าชุ่มอยู่เสมอ จนอายุกล้าได้ 20-30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกได้เลยครับ
การย้ายกล้า :
- ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบแท้ 4-5 ใบ หรืออายุไม่เกิน 20-30 วัน ข้อควรระวังในการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง
การเก็บเกี่ยว : ขึ้นกับสายพันธุ์และชนิดของมะเขือเทศ
- Cherry type 40-50 วันหลังย้ายกล้า
- Seda type 50-60 วันหลังย้ายกล้า
- Processing , Roma , Table type 60-75 วันหลังย้ายกล้า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://zen-hydroponics.blogspot.com
10.ชื่ออาชีพเสริม : มะเขือเทศลูกท้อ
การเพาะกล้า :
- การปลูกมะเขือเทศนั้นส่วนมากจะเพาะกล้าก่อนปลูก เนื่องจากเมล็ดมีราคาแพง และยังสามารถคัดต้นที่เป็นโรค ไม่แข็งแรง หรือไม่สมบูรณ์ออกเสียก่อน ดินที่จะใช้เพาะควรเป็นดินละเอียดและฆ่าเชื้อโรคแล้ว โดยการอบหรือตากแดดมานานพอควร นำมาผสมกับทรายในอัตรา 1:1 และผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเทศบาล 1-1.5 ส่วน ถ้ามีแกลบเผาอาจจะเพิ่มได้อีก 1/2 ส่วนปุ๋ยคอกที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีการสลายตัวดีแล้ว
การเตรียมดินและแปลงปลูก :
- เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชที่มีโรคต่างๆ รบกวนมาก จึงต้องพิถีพิถันในการเตรียมดินและการกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูก เพราะนอกจากจะแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลง นำโรคระบาดมาสู่มะเขือเทศ การเตรียมดินที่ดีจะป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน
- มะเขือเทศต้องการดินที่ระบายน้ำดี จึงควรเตรียมดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ใช้เครื่องทุนแรงหรือรถไถ 2-3 ครั้ง โดยไถกลบดินไปมาและตากดินให้แห้ง 3-4 สัปดาห์ แล้วย่อยดินให้ละเอียดพอควร อย่าให้ละเอียดมาก เพราะมะเขือเทศชอบดินก้อนโตพอประมาณ ซึ่งมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ถ้าดินมี pH ต่ำหรือสูงเกินไปควรทำการปรับเสียก่อน ส่วนมากดินจะมี pH ต่ำ ให้ใช้ปูนขาวหว่านและคลุกเคล้ากับดิน อาจจะหว่านก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้าย การใส่ปูนขาวควรจะทำก่อนปลูก 1-2 สัปดาห์
การปลูก :
- แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกัน แล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร และเพื่อป้องกันวัชพืชขึ้นรวมทั้งรักษาความชื้นในแปลง
- ควรคลุมแปลงด้วยผ้าพลาสติกทึบแสงและเจาะรูเฉพาะหลุมปลูกให้ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เชนติเมตร
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหนึ่งกระป๋องนมต่อหลุม ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัมต่อหลุม และใช้สารเคมีฟูราดานรองกันหลุมอัตรา 1 กรัมต่อต้น คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วจึงย้ายกล้าลงหลุม
ปลูกหลุมละ 1-2 ต้น - กลบดินให้เสมอระดับผิวดินอย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุมในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย
การดูแลรักษา :
- การปลูกมะเขือเทศนั้น ถ้าทำการเตรียมดินและดูแลอย่างดีโดยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ มะเขือเทศจะแข็งแรงดี ให้ผลผลิตสูง
การใส่ปุ๋ย :
- ควรใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเทศบาลรองพื้นอัตรา 4-5 ต้นต่อไร่
- เพราะปุ๋ยเหล่านี้จะทำให้การอุ้มน้ำและการระบายน้ำของดินดีขึ้น มักจะใส่ตอนเตรียมดินครั้งสุดท้ายและรองกันหลุม ควรแบ่งใส่เป็นระยะๆ
- ครั้งแรกใส่ก่อนปลูกโดยคลุกกับดินตอนตรียมหลุมปลูก
- ครั้งที่ 2 หลังจากต้นมะเขือเทศตั้งตัวแล้ว 10-15 วันหลังจากปลูก
- ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้ง 2 ประมาณ 20 วัน
- ขณะต้นมะเขือเทศเริ่มตั้งตัวได้แล้วควรให้ปุ๋ยทางใบช่วยจะทำให้มะเขือเทศเจริญเติบโตแข็งแรงดีและให้ผลผลิตสูงมาก
- ถ้าให้ปุ๋ยช้าเกินไปหรือมะเขือเทศแสดงอาการอ่อนแอโอกาสเป็นโรคจะมีมากขึ้น
การเก็บเกี่ยว :
- มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ ฉะนั้นระยะเวลาการเริ่มเก็บเกี่ยวจะไม่พร้อมกัน ทั่วไปจะอยู่ในระหว่าง 75-90 วันนับจากวันเพาะเมล็ด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bokujou.org