รวมสูตรอาชีพ “วิธีการเลี้ยงกบ”, วิธีเลี้ยงกบในบ่อดิน, วิธีเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ, วิธีการเลี้ยงกบในกระชังและวิธีเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ โดยได้ทำการเลือกวิธีการเลี้ยงกบ พร้อมเริ่มต้นอาชีพเลี้ยงกบขาย เริ่มธุรกิจขายกบได้ทันที เหมาะสำหรับผู้สนใจอาชีพเสริม, สร้างอาชีพและอาชีพอิสระ
หากคุณมีสูตรอาชีพ “วิธีการเลี้ยงกบ” ต้องการแบ่งปันและโปรโมทร้านคุณ โปรดติดต่อ smeleader.thailand@gmail.com
1. ชื่ออาชีพเสริม : เลี้ยงกบในบ่อดิน
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- เตรียมพื่นที่
- พันธุ์กบ
- อาหาร
วิธีการเลี้ยงกบในบ่อดิน :
- ควรทำในลักษณะกึ่งถาวร โดยขุดบ่อลึกไปในดิน 50-70 เซนติเมตร
- ฝังท่อระบายน้ำก่อขอบบ่อด้วยอิฐบล๊อกสูง 2-3 ก้อน ด้านบนปากบ่อมีตาข่ายคลุมปิดเพื่อป้องกันนก ศัตรูธรรมชาติอื่นๆ และแมลงปอลงวางไข่
- ปัจจุบันบ่อดินมีความนิยมน้อยลง เนื่องจากมีข้อเสีย คือดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันศัตรูได้ยาก ส่วนข้อดีคือการลงทุนต่ำและบริเวณที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาลได้ดีกว่าบ่อซีเมนต์ อาจทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราว ในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาวก่อนไปขาย
วิธีการขยายพันธุ์ :
- เตรียมบ่อโดยการทำความสะอาดบ่อโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคฟอร์มาลีน 40% (35 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) ใส่ทิ้งไว้ 2-3 วัน
- ถ่ายน้ำออกล้างให้สะอาดตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 1-2 วัน เมื่อจะใช้ผสมพันธุ์ให้เติมน้ำลงไป สูง 5-7 เซนติเมตร ถ้าเป็นน้ำประปาต้องใส่น้ำทิ้งไว้ก่อนผสมพันธุ์ 2-3 วัน
- ใส่ใบหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำสำหรับเป็นที่เกาะของไข่ บ่อขยายพันธุ์ควรอยู่กลางแจ้งได้รับแสดงแดดเพียงพอเพื่อช่วยให้ไข่ฟักเป็นตัวเร็วขึ้น
- ทำหลังคาบางส่วนเพื่อป้องกันในกรณีที่มีฝนตกหนักเพราะถ้ามีน้ำฝนลงในบ่อจำนวนมากจะทำให้อุณหภูมิและความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน มีผลทำให้ลูกอ๊อดช๊อคตาย
- ควรมีตาข่ายในล่อนคลุมปากบ่อเพื่อป้องกันแมลงปอลงวางไข่ เพราะตัวอ่อนแมลงปอเป็นศัตรูที่สำคัญของลูกอ๊อดและกบเล็ก
วิธีการเลือกพ่อแม่พันธุ์ :
- พ่อแม่พันธุ์กบนาที่ดีควรมีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปี มีน้ำหนักระหว่าง 200-300 กรัม จากการสังเกตลักษณะภายนอกของกบนาเพศผู้ที่มีความพร้อม จะสังเกตเห็นรอยย่นของถุงเสียงที่ใช้ในการส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียมีลักษณะสีเทาดำคล้ำได้ใต้คางอย่างชัดเจนทั้ง 2 ข้าง และที่บริเวณด้านในของนิ้วหัวแม่มือของเพศผู้ทั้งสองข้างจะพบแถบหนาสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบ ปุ่มนี้ช่วยให้การยึดเกาะบนผิวหนังที่บริเวณเอวของตัวเมียให้ดีขึ้น ปุ่มจะหายไปเมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ส่วนกบนาเพศเมียที่มีความพร้อม สังเกตได้จากที่บริเวณเอวมีลักษณะพองโต ท้องอูม และผิวหนังสดใส เมื่อพลิกด้านท้องขึ้นเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังชัดเจน ในบางตัวอาจสังเกตเห็นเม็ดไข่สีดำและที่ด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง เมื่อใช้มือลูบจะมีลักษณะสากมือเพราะมีปุ่มขนาดเล็กจำนวนมาก ปุ่มนี้จะช่วยให้กบตัวผู้เกาะคู่ได้ดีขึ้น ยิ่งมีความสากมากเท่าใดก็แสดงถึงความพร้อมของเพศเมียมากขึ้นเท่านั้น
คำแนะนำเพิ่มเติม :
- การคัดขนาด เนื่องจากกบเป็นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติ และกินสัตว์เป็นที่มีขนาดเล็กกว่าตัวเองเป็นอาหาร ดังนั้นในการเลี้ยงที่มีความหนาแน่นมากเกินไปหรือให้อาหรไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความแออัดและกบขาดอาหารก่อให้เกิดปัญหาตัวใหญ่กินตัวเล็กเพราะในระหว่างการเลี้ยงลูกกบจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ดังนั้นควรคัดขนาดลูกกบทุก 2 สัปดาห์ โดยคัดกบที่มีขนาดเดียวกันลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันจะช่วยลดการกินกันเอง และเมื่อกบมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรคัดขนาดเช่นเดียวกับลูกกบ เพราะการคัดกบที่มีขนาดใกล้เคียงกับนำมาเลี้ยงด้วยกัน จะทำให้ลดการรังแกกัน กบจะมีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น
- การถ่ายเทน้ำ การเลี้ยงกบในน้ำสะอาดจะทำให้กบมีการเจริญเติบโต ดังนั้นถ้าบริเวณที่เลี้ยงมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ควรถ่ายเทน้ำทุกวันหรือใช้การหมุนเวียนให้น้ำไหลผ่านในระบบน้ำล้นตลอดเวลา แต่ถ้าแหล่งน้ำไม่อุดมสมบูรณ์ อาจจะถ่ายเทน้ำเมื่อสังเกตว่าน้ำเริ่มมีกลิ่นเน่าเสีย ซึ่งจะขึ้นอยูกับชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงกบด้วย ความถี่ในการถ่ายเทน้ำในบ่อเลี้ยงลูกอ๊อดขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของลูกอ๊อดที่ปล่อยและอาหารที่ใช้เลี้ยง ถ้าเลี้ยงในบ่อคอนกรีตควรถ่ายเทน้ำทุกๆ 2-3 วัน จะช่วยให้ลูกอ๊อดแข็งแรงกินอาหารได้มากและมีการเจริญเติบโตเร็ว วิธีการถ่ายเทน้ำต้องใช้วิธีเติมน้ำใหม่ลงก่อนครึ่งหนึ่ง จากนั้นจึงปล่อยน้ำเก่าออกให้เหลือระดับน้ำเท่าเดิมถ้าเลี้ยงลูกอ๊อดในกระชังก็ไม่ต้องถ่ายเทน้ำเนื่องจากในบริเวณนั้นมีการหมุนเวียนของน้ำเกิดขึ้นได้เองเป็นปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนกระชัง ขนาดของสระ หรือ บ่อที่ใช้แขวนลอยกระชัง หรือ ขนาดร่องน้ำและการไหลผ่านของน้ำ ส่วนการถ่ายเทน้ำในบ่อเลี้ยงลูกกบและกบขนาดอื่นๆ ก็ทำได้โดยวิธีเดียวกัน ไม่ควรปล่อยน้ำในบ่อจนแห้งแล้วจึงเติมใหม่ เพราะกบเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย อาจมีการกระโดดกระแทกพื้นบ่อทำให้กบช้ำและตายได้
- โรคกบ การเลี้ยงกบก็คงจะไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ เมื่อมีการเลี้ยงก็มักจะมีปัญหาเรื่องโรคที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเลี้ยงจำนวนมาก การระบาดของโรคอาจเกิดการแพร่กระจายมากขึ้น
ขอขอบคุณเลี้ยงกบในบ่อดินจาก irrigation.rid.go.th
2. ชื่ออาชีพเสริม : วิธีเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- เตรียมพื่นที่
- อาหารกบ
- พ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ
วิธีการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ :
- เริ่มต้นจากการขุดบ่อดินที่จะเลี้ยงกบ ขนาดที่เหมาะสม 3×4 เมตร ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
- ขุดให้มีที่พักหรือเนินดินตรงกลางบ่อเพื่อให้กบได้ขึ้นมารับแสงแดดตามธรรมชาติ หรือให้บ่อนั้นมีลักษณะตามต้องการ จากนั้นก็ปรับปรุงดินโดยการโรยปูนขาวทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงถ่ายน้ำเข้าบ่อประมาณ 3-5 วัน
- นำน้ำหมักจุลินทรีย์เทลงในบ่อเพื่อปรับปรุงน้ำ ประมาณ 1 ขันน้ำ จากนั้นก็นำลูกพันธุ์กบมาเลี้ยงตามปกติ โดย 1 บ่อนั้นจะใส่ลูกกบลงไป 1,000 ตัว ให้อาหารคือ หอยเชอรี่ต้มสุกและอาจจะเสริมด้วยหัวอาหารบ้าง ธรรมชาติของกบนั้นไม่ไม่กินสัตว์ที่อยู่นิ่งหรือตายแล้ว ดังนั้นจะต้องมีการฝึกให้มันกินหอยเชอรี่ต้มโดยการให้กินเป็นประจำจะช่วยให้กบนั้นเจริญเติบโตเร็ว และแข็งแรง และที่ปล่อยให้กบอยู่รวมกันโดยไม่แยกหรือคัดขนาด ก็อาจจะมีบ้างที่กบจะกัดกันจนตาย อย่างใส่กบลงไปสัก 1,000 ตัว ในบ่อแต่จะเลหือสัก 7-8 ร้อยตัวก็ถือว่าดีแล้ว เป็นการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ จะได้กบที่ไม่มีไขมัน และไม่มีกลิ่นเหม็นของกบเวลานำไปปรุงอาหารด้วย
วิธีการให้อาหารกบ :
- การให้อาหารและขนาดเม็ดอาหาร ให้ดูคร่าวๆจากอายุกบ
- อาหารยิ่งเบอร์เล็ก ยิ่งแพง เพราะว่าในช่วงกบอายุน้อยๆจะต้องการโปรตีนปริมาณสูงกว่ากบโต จึงทำให้อาหารเบอร์เล็กแพงกว่าเบอร์ใหญ่ๆ
- กบเล็ก อายุ 30 – 60 วัน ให้กินอาหารวันละ 3 มื้อ ให้กินพออิ่ม อันนี้ต้องดูเอาว่ากบกินทั่วถึงแล้วหรือไม่ ไม่ต้องไปคำนวณตามสูตรอะไรมากมาย เอาง่ายๆพอ
- กบรุ่นและกบโต อายุ 60 วันขึ้นไปให้กินอาหารวันละ 2 มื้อ จะได้ไม่เปลืองมาก อย่าให้อาหารมากเกิน เพื่อป้องกันกบท้องอืด และตาย
- การให้อาหารควรเคล้ายาให้กบบ้าง ตามอาการที่กบเป็นโรค หรือเพื่อป้องกันโรค ส่วนยาก็ไปที่ร้านเกษตรทั่วไปแล้วเลือกดูเอาครับตามที่พบอาการว่ากบมีอาการเป็นอะไรบ้าง สมัยนี้มียารักษาและป้องกันหลายยี่ห้อครับ แต่แนะนำให้ใช้ยาให้น้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็น ตรงนี้สำคัญมากถ้าต้องการส่งออกกบในอนาคต
- ตามปกติกบจะกินอาหารเรื่อยๆไม่มีหยุด เรียกว่ากินจนท้องอืดและตายในที่สุด ดังนั้นอย่าคิดว่ากบกินอาหารหมดแสดงว่ากบหิว จริงๆแล้วให้ดูโดยรวมๆว่ากินทั่วถึงแล้วหรือยัง ถ้าทั่วถึงแล้วก็ให้หยุดให้อาหารในมื้อนั้นๆและจำเป็นมาตรฐานไว้ว่าเราควรจะให้มื้อละกี่กิโลกรัม
ขอขอบคุณวิธีเลี้ยงกบแบบธรรมชาติจาก ประเทือง รำศรีไพร
3. ชื่ออาชีพเสริม : วิธีการเลี้ยงกบในกระชัง
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- พันธุ์กบขนาด 1 นิ้ว จำนวน 500 ตัว ๆ
- อาหารปลาดุกเม็ดกลาง จำนวน 1 กระสอบ
- อาหารปลาดุกใหญ่ จำนวน 2 กระสอบ
- EM จำนวน 1 ลิตร
- เกลือแกง จำนวน 1 ห่อ
- ผ้าพลาสติก (ปูบ่อ) ขนาด 3.6X 6 เมตร จำนวน 1 ผืน
- ผ้าพลาสติก (ล้อมบ่อเลี้ยงกบ) ขนาด 3.6 X 12 เมตร 1 ผืน
- มุ้งเขียว จำนวน 1 ม้วน
วิธีการเลี้ยงกบในกระชัง :
- โดยจะขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซ็นติเมตร ไว้หลายๆบ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นทุ่งนามาก่อน
- นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป(ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง เลยทีเดียว โดยมักจะใส่จนเต็มพอดีกับพื้นที่ และมีทางเดินตรงกลางเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบทยอยขายได้
- สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซ็นติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ใผ่ และนำแผ่นยางลอยน้ำ รองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอาศัยอยู่
- ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ
- ปกติถ้าน้ำดีๆจะถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน ก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมาก
น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบกระชัง :
- หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำและตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ
- น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอหรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้นควรพิจารณาในการนำมาใช้ ถ้าจะนำมาใช้ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน
- หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาลควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้ แต่บางที่มีคุณภาพดีก็นำมาใช้เลี้ยงกบรุ่นๆได้เลย
อาหารที่นิยมเลี้ยงกบ :
- อาหารสด ได้แก่ หนอน , ปลวก , ปลาเป็ด และไส้ไก่
- อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดสำหรับปลาดุก และอาหารเม็ดสำหรับกบ
คำแนะนำเพิ่มเติม :
- การให้อาหาร ควรให้วันละ 2 ครั้ง คือเช้าและเย็น พยายามอย่าให้อาหารเหลือในบ่อมากเพราะจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้
ข้อควรระวัง :
- หากผู้เลี้ยงมีอายุมาก จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มเป็นอัมพาต หรือเป็นลมแดด จมน้ำเสียชีวิตได้ เพราะอาจต้องใช้สะพานเดินลงไปให้อาหารภายในบ่อ(ถ้าบ่อใหญ่ๆ)(แนะนำกระชังแบบตั้งบนพื้นดิน เติมน้ำใช้เลี้ยงกบได้ทันที ทั้งประหยัดและปลอดภัยที่สุด)
- ถ้าน้ำเสีย กบในบ่อทุกกระชังจะได้รับผลกระทบพร้อมกันหมดทั้งบ่อ เป็นโรคแล้วควบคุมหรือรักษาให้หายค่อนข้างยากกว่าบ่อปูนพอสมควร
- ถ้าทำกระชังไม่ดีพอ หรือเย็บเองโดยขาดความรู้ กระชังมักจะมีรูรั่วหรือขาดโดยที่เราไม่รู้ จนกบหนีไปหมดในที่สุด
ขอขอบคุณวิธีการเลี้ยงกบในกระชังจาก นายไพรินทร์ ทำยา
4. ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
- เตรียมพื้นที่
- อาหารกบ
วิธีการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์:
- ความสูงจากพื้นเพียง 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดสุด พื้นที่เป็นที่ขังน้ำนี้ นำวัสดุลอยน้ำ เช่น ไม้กระดาน ขอนไม้ ต้นมะพร้าว ให้ลอยน้ำ เพื่อให้กบขึ้นไปเป็นที่อยู่อาศัย สามารถเลี้ยงปลาดุกเพื่อให้เก็บกินเศษอาหารและมูลกบได้ในอัตราส่วนกบ : ปลาดุก 100:20 ด้านบนของบ่อจะเปิดกว้างเพื่อให้แดดส่องลงไปทั่วถึง มุมใดมุมหนึ่งของบ่นำทางมะพร้าวมาปกคลุม เพื่อเป็นส่วนของร่มบ่อเลี้ยงกบแบบซีเมนต์ ถ้าทำขนาด 3 x 4 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงได้ 1,000 ตัวและปลาดุกอีก 200 ตัวพื้นล่างของบ่อ
วิธีการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์กบ :
- ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ด้วยด่างทับทิมเข้มข้น 10 ppm แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดด่างทับทิมออกให้หมด
- เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย เพราะว่าขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง จะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก
- เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่เราจะเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำท่อ PVC ขนาดครึ่งนิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำเข้าไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก แล้วนำท่อท่อนนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อ และเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ
วิธีการการผสมพันธุ์กบ :
- ปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ลงไปในบ่อที่เตรียมไว้ โดยให้มีตัวผู้ต่อตัวเมียจำนวน 1:1 ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. และต้องปล่อยให้กบผสมกันในตอนเย็น เมื่อปล่อยกบลงไปแล้วจึงเปิดฝนเทียมเพื่อเป็นการกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลา ประมาณ 17.00 น. – 22.00 น. ซึ่งภายในบ่อเพาะต้องมีท่อให้น้ำล้นออกด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปโดยกบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด
- หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเช้า ค่อย ๆ ลดน้ำในบ่อลงและใช้สวิงผ้านิ่ม ๆ รองรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา ในขณะที่น้ำลดนั้นต้องคอยใช้สายยางฉีดน้ำเบา ๆ ไล่ไข่ ขั้นตอนนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตก และจะต้องทำในตอนเช้าในขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียวหุ้มอยู่ และนำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วๆ บ่อแต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทับกันมาก เพราะจะทำให้ไข่เสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้วช่วงระยะ 2 วันยังไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกกบยังไใช้ไข่แดง (yolk sac) ที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไรแดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด
วิธีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ :
- เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ที่ระดับความลึก 30 ซม.
- ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำาการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 ซม.
- เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
- ทุกๆ 3-4 วัน ทำการย้ายบ่อพร้อมกับคัดขนาดลูกอ๊อด
- เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดระดับน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 ซม. และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับเกาะอาศัยลงไปในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟ
คำแนะนำเพิ่มเติม :
- การให้อาหารกบควรจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ เวลา 07.00 น. และ 17.00 น. โดยให้ปริมาณอาหารเท่ากับ 10 % ของน้ำหนักกบ เช่น กบในบ่อมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม ควรให้อาหาร 10 กิโลกรัม
- อาหารของกบมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงสามารถหาอาหารแบบใดได้ เช่น เนื้อปลาสับ หรือ ปลายข้าว 1 ส่วน ผักบุ้ง 2 ส่วน ต้มรวมกับ เนื้อปลา เนื้อหอยโข่ง
ขอขอบคุณการวิธีเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์จาก rent2rich.com