รวมสูตรอาชีพ “วิธีเลี้ยงผึ้งขาย”, วิธีเลี้ยงผึ้งโพรง, วิธีเลี้ยงผึ้งชันโรง, วิธีเลี้ยงผึ้งในสวน, วิธีเลี้ยงตัวต่อโดยได้ทำการเลือกวิธีเลี้ยงผึ้ง พร้อมเริ่มต้นอาชีพเลี้ยงผึ้งขาย เริ่มธุรกิจเลี้ยงผึ้งได้ทันที เหมาะสำหรับผู้สนใจอาชีพเสริม, สร้างอาชีพและอาชีพอิสระ
หากคุณมีสูตรอาชีพ “วิธีเลี้ยงผึ้งขาย” ต้องการแบ่งปันและโปรโมทร้านคุณ โปรดติดต่อ smeleader.thailand@gmail.com
1.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งโพรง
สถานที่ตั้งรังผึ้งโพรง :
- เลือกพื้นที่ที่มีพืชอาหารของผึ้งโพรงอุดมสมบูรณ์
การหาผึ้งโพรงมาเลี้ยง :
- สามารถเลือกทำได้หลายวิธีโดยการซื้อผึ้ง การล่อผึ้ง หรือการจับผึ้งเข้าคอนเลี้ยง ควรดูแลทำความสะอาดรังไม่ให้มีมดเข้ามาทำรังอาศัยอยู่ โดยตรวจสอบรังทุก 7 – 10 วัน
การจัดการดูแลรังผึ้งโพรง :
- ควรตรวจรังผึ้งทุก 10 วัน ในช่วงเช้าหรือเย็น
ทั้งนี้ ข้อควรปฏิบัติการจัดการดูแลรังผึ้งโพรง ได้แก่ การตรวจภายนอกรังผึ้ง สังเกตได้จากตัวผึ้งที่เลี้ยงมีสุขภาพดี คือผึ้งงานมีเกสรติดขาหลังมา และบินเข้าออกจากปากทางเข้าสม่ำเสมอ หน้ารังสะอาด ไม่มีศัตรูรบกวน เช่น มด คางคก เป็นต้น การตรวจภายในรังผึ้ง ตรวจได้จากการดูปริมาณผึ้งให้สัมพันธ์กับคอน โดยที่มีผึ้งเกาะเต็มทุกด้านของคอน มีการเก็บน้ำผึ้งมาก และตรวจดูการวางไข่ของนางพญาผึ้ง นางพญาผึ้งที่ดีจะมีการวางไข่สม่ำเสมอ ผึ้งไม่ดุ ขยันหาอาหาร ต้านทานโรค และไม่ควรให้มีการสร้างหลอดนางพญาบ่อย ๆ ตลอดจนตรวจดูสภาพรวงผึ้ง โรคและศัตรูผึ้ง สำหรับการเก็บน้ำผึ้งในได้คุณภาพควรเก็บในช่วงที่มีน้ำผึ้งปริมาณมาก ๆ น้ำผึ้งที่ได้ควรมีความชื้นไม่เกิน ร้อยละ 21
การเก็บน้ำผึ้ง :
- วิธีที่ 1 เก็บน้ำผึ้งจากรังล่อ ผึ้งโพรงจะสร้างรวงอยู่ใต้ฝารัง ให้หงายฝารัง ตัดเอาเฉพาะรวงน้ำผึ้ง ส่วนรวงตัวอ่อนและดักแด้ให้นำเข้าคอนแล้วเก็บไว้ในรัง นำส่วนที่เป็นน้ำผึ้งมาสับลงบนตะแกรงกรองสแตนเลสเพื่อให้น้ำผึ้งไหลออกมา
- วิธีที่ 2 เก็บน้ำผึ้งจากรังที่นำรวงผึ้งใส่คอน ให้ตัดเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำผึ้งแล้วนำไปสับบนตะแกรงเพื่อให้น้ำผึ้งไหลออกมา เพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน แล้วจึงนำน้ำผึ้งไปบรรจุในภาชนะที่สะอาดเพื่อจำหน่ายต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://thaifarmer.lib.ku.ac.th/news
2.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึิ้งโพรง 2
อุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย :
- กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
- กระป๋องพ่นควัน
- ไขผึ้ง
- แปรงปัดผึ้ง
- ชุดป้องกันผึ้งต่อย (เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมวกตาข่าย ถุงมือยาง)
- อุปกรณ์สำหรับการเก็บน้ำผึ้ง เช่น หม้อ ถาด ถังสลัดน้ำผึ้ง กรองน้ำผึ้ง เป็นต้น
การดักล่อจับผึ้งโพรงไทยในธรรมชาติ :
- นำกล่องผึ้งไปวางดักผึ้งให้เข้ากล่อง โดยเลือกสถานที่วางที่มีร่มเงาพอสมควร และควรเป็นบริเวณลานบินของผึ้ง (สังเกตจากเสียงบินของผึ้ง)
- นำไขผึ้งทาตรงบริเวณฝาบนด้านในของกล่องผึ้ง (เพื่อล่อให้ผึ้งเข้ามาทำรังอยู่ในกล่อง)
- ทาน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วตรงบริเวณขาวางกล่อง เพื่อป้องกันศัตรูของผึ้ง เช่น มด ปลวก จิ้งจก แมลงสาบ เป็นต้น
- ใช้แผ่นกระเบื้องวางบนกล่อง เพื่อเป็นหลังคากันแดดและฝน
- ช่วงที่เหมาะสมในการดักจับผึ้งโพรงไทย คือ ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน โดยเฉพาะช่วงปลายกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม จะดักได้ง่ายขึ้น
- หลังการวางกล่องดักแล้วประมาณ 1-3 วัน ผึ้งจะเริ่มเข้ามาอยู่ในกล่อง ปล่อยให้ผึ้งค่อยๆสร้างรวงรังต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ ขนย้ายกล่องเพื่อนำผึ้งโพรงไทยมาเลี้ยง
- เลี้ยงผึ้งโพรงไทย
การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง :
- หลังจากเลี้ยงผึ้งโพรงไปได้ประมาณ 3-4 เดือน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งได้ (อาจจะเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2-3 ครั้ง) ทำโดยการพ่นควันไล่ผึ้ง และใช้แปรงปัดตัวผึ้งออกอย่างเบามือ
ขั้นตอนในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย :
- เลือกสถานที่สำหรับตั้งรัง
- ควรจะอยู่ในที่ที่ร่มรื่น แสงสว่างสาดส่องรำไร อาจเป็นใต้ต้นไม้ก็ได้ ลมพัดไม่แรง มีแหล่งน้ำสะอาดอยู่ใกล้ ๆ มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์
- หาผึ้งโพรงจากธรรมชาติ เพื่อนำมาเลี้ยง
- เตรียมกล่องเลี้ยงผึ้ง คอน เครื่องพ่นควันสยบผึ้ง กล่องขังนางพญา และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
- เตรียมบริเวณที่จะจับ ให้มีความสะดวกต่อการปฏิบัติงาน โดยกำจัดสิ่งกีดขวางให้หมดก่อน จากนั้นสำรวจดูว่าผึ้งมีจำนวนรวงประมาณเท่าใด
- พ่นควันให้ทั่วทั้งรังทั้งหมด เพื่อสยบผึ้ง ระวังอย่าให้มากเกินไป อาจทำให้ผึ้งตายได้
- จากนั้น ใช้มือค่อย ๆ จับรวงผึ้ง และค่อย ๆ ดึงรวงผึ้งใส่ภาชนะ ที่ละรวง ในการเคลื่อนไหวร่างกาย ควรกระทำอย่างช้า ๆ
- ในขณะที่ดึงรวงผึ้งนั้น ต้องระวังจับให้เบา ๆ เพราะรวงผึ้งอาจจะบี้แบน ทำให้เสียหาย ขณะที่ดึงรวงผึ้งนั้น ต้องใช้สายตามองหาผึ้งนางพญา อย่างละเอียดตลอดเวลา ถ้าหากพบผึ้งนางพญา ให้ใช้มือรวบปีกทั้ง ๔ เข้าด้วยกัน จับเบา ๆ อย่าจับที่ตัวนางพญา เพราะอาจทำให้ตายได้ หลังจากนั้น จับนางพญาใส่กล่องขังนางพญา แล้วจับผึ้งงานอายุน้อย ๆ ใส่ลงไปด้วย ๓-๕ ตัว พร้อมกับตัดเอารวงผึ้งที่มีน้ำหวาน ใส่ลงไปด้วยเพื่อเป็นอาหารสำรอง
- เมื่อจับผึ้งนางพญาได้แล้ว ก็นำรวงผึ้งมาผนึกใส่คอนไม้
- นำรวงผึ้งมาวางบนฝ่ามือ แล้วนำคอนมาทาบ ตัดให้ได้ขนาดพอที่จะใส่คอนได้ โดยรวงผึ้งที่จะนำมาใส่นั้น พยายามเลือกรวงผึ้งที่มีอายุน้อย ๆ และมีตัวอ่อนของผึ้งมาก ๆ
- เมื่อวัด และตัดรวงผึ้งได้ขนาดแล้ว พลิกคอนให้เส้นลวดทับรวงผึ้ง แล้วใช้มีดคม ๆ กรีดตามรอยเส้นลวด ให้ลึกประมาณครึ่งรวง ตามรอยเส้นลวดทั้งสามเส้น ใช้มือกดเส้นลวด ให้ฝังลึกลงไปในรวงผึ้ง แล้วใช้เชือกเส้นเล็ก ๆ ผูกประกอบรวงผึ้งเพื่อไม่ให้หลุด (เชือกนี้จะแก้ออกในวันที่ ๓)
- นำรวงผึ้งที่ใส่คอนเสร็จแล้ว วางใส่ในกล่องเลี้ยงผึ้งที่เตรียมไว้ ซึ่งในการวางคอนผึ้งให้ห่างกัน ๑ ซม.
- .นำเอาผึ้งนางพญา ที่ใส่ในกล่องขังนางพญา มาผูกติดกับคอนผึ้งคอนใดก็ได้
- หลังจากผูกนางพญาติดกับคอนแล้ว ให้นำกล่องเลี้ยงผึ้งไปตั้งไว้ที่ตำแหน่งเดิม ที่รังเคยอยู่ ผึ้งจะบินเข้าสู่รัง เพื่อหานางพญาที่ถูกขังไว้ ประมาณ ๑ คืน ผึ้งก็จะเข้ากล่องเลี้ยงเกือบทั้งหมด
- รุ่งขึ้น ให้นำกล่องเลี้ยงที่ขังผึ้งทั้งหมด เคลื่อนย้ายไปตั้งยังสถานที่ที่จะเลี้ยง แล้วรีบเปิดหน้ารัง เพื่อให้ผึ้งงานออกหากินตามปกติ และปล่อยผึ้งนางพญาให้ดำรงชีวิตต่อไปตามปกติ
การดูแลรักษา :
- หมั่นตรวจตราสภาพภายใน สัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง ดังนี้
- ตรจดูการวางไข่ของผึ้งนางพญาว่าปกติดีหรือไม่ สม่ำเสมอเพียงใด
- ตรวจดูอาหารภายในรังว่ามีพอเพียงหรือไม่ ถ้าสภาพภายในรังขาดน้ำหวานก็ให้น้ำเชื่อมแทน
- ตรวจดูว่า ปริมาณผึ้งมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับรังหรือไม่ ถ้าผึ้งมากก็ให้เสริมคอนเปล่าในกรณีต้องการให้ผึ้งสร้างรวงเพิ่ม และเสริมแผ่นรังเทียมกรณีต้องการน้ำหวาน
- ตรวจดูภายในรวงรัง ถ้าหากพบหลอดนางพญา ที่ผึ้งงานสร้างขึ้นมา ให้รีบทำลายเสียโดยเร็ว เพื่อป้องกันการแยกรังของผึ้ง
การเก็บน้ำผึ้งออกจากรวง :
- ในการเก็บน้ำผึ้งออกจากรวงนั้น ทำได้โดย “การสลัดน้ำผึ้ง” ขั้นตอนในการสลัดน้ำผึ้งออกจากรวง มีดังนี้
- ยกคอนที่มีน้ำผึ้ง แต่ไม่มีตัวอ่อนของผึ้งแล้วค่อย ๆ ไล่ให้ตัวผึ้งออก
- ใช้มีดบางแช่น้ำร้อนจนมีดร้อน ปาดแผ่นไขผึ้งที่ปิดหลอดรวงเก็บน้ำหวานออก
- นำตะแกรงลวดห่าง ๆ มาประกอบติดคอนน้ำผึ้งทั้งสองด้าน ก่อนที่จะสลัดนำภาชนะที่มีขนาดโตกว่าคอนผึ้ง มาไว้รองรับน้ำผึ้ง
- ยกคอนน้ำผึ้งขึ้นในแนวระดับ แล้วสลัดอย่างแรงให้น้ำผึ้งตกลงในภาชนะ สำหรับคอนรวงเปล่า ที่สลัดน้ำผึ้งออกแล้ว ก็นำไปใช้เก็บน้ำหวานในรังผึ้งได้อีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://web.ku.ac.th
3.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งโพรง 3
ขั้นตอนการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยง :
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงผึ้ง
- หีบเลี้ยงผึ้ง
- คอน
- แผ่นรังเทียม
- กล่องนางพญา
- หมวกคลุมศีรษะ
- ซึ่งมีผ้าตาข่ายข้างหน้ากันผึ้งต่อย
- เหล็กงัดรัง
- มีด
- ค้อน
- ตะปู
- เลื่อย
การจับผึ้งมาเลี้ยง :
- เตรียมอุปกรณ์จับผึ้ง ไดแก่ หีบจับผึ้ง (10x12x10 ลูกบาศก์นิ้ว) ซึ่งมีถุงตาข่ายปลายเปิดติดอยู่ด้านล่าง หมวกตาข่ายกันผึ้งต่อย กาบมะพร้าว ไม้ขีดไฟ สิ่ว ค้อน และตะปู
- เมื่อพบรังผึ้ง ซึ่งอยู่ในโพรง สำรวจรูทางเข้าออกของผึ้ง ถ้ามี 2 ทางให้ปิดเหลือเพียงรูเดียว จากนั้นเจาะรูทางเข้าออกให้กว้างพอสำหรับมือที่จะล้วงเข้าไปอย่างสะดวก ข้อควรระวังในขณะที่เจาะขยายทางเข้าออก ควรสวมหมวกตาข่าย และอุดรูทางเข้าออกไว้ด้วย เพราะแรงสั่นสะเทือนขณะที่เจาะ จะทำให้ผึ้งทหารที่เฝ้าหน้ารังเข้าโจมตีคนจับผึ้งได้3.ค่อยๆ เปิดรูทางเข้าออกที่เจาะไว้ จุดไฟที่กาบมะพร้าวให้มีแต่ควันไฟ เพื่อไล่ผึ้งให้ขึ้นไปอยู่เหนือโพรงให้หมด จากนั้นดึงรวงผึ้งออกมา พร้อมกับใช้ควันไล่ผึ้ง ถ้ามีผึ้งติดรวงรังออกมา ควรตรวจดูให้ดี อย่าให้นางพญาหลุดหนีออกไป ในขณะที่ดึงรวงผึ้งออกมาเป็นอันขาด ถ้านางพญาหนีหายไป การจับผึ้งรังนั้นเป็นอันไร้ผล เพราะการจับผึ้งไปโดยไม่มีนางพญา จะไม่สามารถเลี้ยงสำเร็จได้เลย ถ้าพบนางพญาให้จับใส่ในกล่องขังนางพญาทันที
- เมื่อดึงรวงผึ้งออกหมดแล้ว ใช้มือหรือไม้สอดเข้าไปในโพรง เพื่อวัดความสูงของโพรง แล้วเจาะรูเล็กๆ ประมาณ 2×2 ตารางนิ้ว ให้พอดีกับความสูงของโพรง จากนั้นเอาหีบจับผึ้งแขวนไว้เหนือรู โดยให้ถุงตาข่ายซึ่งติดอยู่ใต้หีบคลุมปิดปากรูอย่างมิดชิด
- ใช้ควันรมที่ปากรูใหญ่ทางด้านล่างอีกครั้ง ฝูงนี้จะหนีควันออกทางรูบน เข้าสู่หีบจับผึ้ง ตรวจดูในโพรงอีกครั้งว่า ไม่มีผึ้งหลงเหลืออยู่แล้ว จึงผูกปากถุงให้แน่น โดยที่ประชากรผึ้งทั้งรั้งอยู่ในหีบ
- นำหีบจับผึ้งกลับไป เพื่อย้ายเข้าสู่หีบเลี้ยงมาตรฐาน โดยนำรวงผึ้งที่ดึงออกมาจากรังเดิมมาตัดให้พอดีกับขนาดคอน พยายามเลือกรวงผึ้งที่มีหลอดรวงตัวอ่อนของผึ้งระยะดักแด้มากๆ เมื่อวัดและตัดรวงผึ้งได้ขนาดแล้ว นำคอนมาทาบ ให้เส้นลวดทับรวงผึ้ง จากนั้นใช้มีดคมๆ กรีดตามรอยเส้นลวด ให้ลึกประมาณครึ่งหนึ่งของความหนาของรวงผึ้ง ตามรอยเส้นลวดทั้งสามเส้น ใช้มือกดเส้นลวดให้ฝังลึกลงไปในรวงผึ้ง ใช้เชือกเส้นเล็กๆ ผูกรวงผึ้งให้ติดกับคอน แล้วแก้เชือกออกในวันที่สาม นำกล่องที่ขังนางพญามาผูกติดกับคอน ในกรณีที่นางพญาอยู่ในหีบจับผึ้งอยู่แล้ว ให้ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้เลย
- นำหีบจับผึ้งไปใส่ในหีบเลี้ยง เปิดปากถุง ให้ผึ้งออกไปหานางพญา และห่อหุ้มรวงรังปิดฝาหีบเลี้ยงทิ้งไว้ 1 คืน และเปิดปากรังตอนเช้า ให้ผึ้งบินออกหาอาหารตามปกติ
การจับผึ้ง :
- ควรจับในตอนเย็นๆ เพราะมีประชากรผึ้งเกือบทั้งหมด เมื่อนำผึ้งไปใส่ในหีบเลี้ยงเป็นเวลามืดพอดี ตอนเช้าผึ้งก็จะออกหาอาหารตามปกติ แต่สถานที่เลี้ยงผึ้งควรห่างจากที่จับผึ้งอย่างน้อย ๓ – ๕ กิโลเมตร มิฉะนั้นผึ้งจะบินกลับไปรังเดิมอีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://saranukromthai.or.th
4.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งชันโรง
อุปกรณ์ :
- กระถางดินเผา /กล่องไม้สำหรับเลี้ยงผึ้ง หรือยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
- พ่อแม่พันธุ์ชันโรง
ขั้นตอนการเลี้ยง :
- นำวัสดุในการสร้างรังให้ชันโรง เช่นกระถางดินเผาคว่ำลงให้เหลือทางออกทางเดียว หรือยางรถยนต์ซ้อนกันหลายๆเส้น หรือกล่องไม้ที่ใช้สำหรับเลี้ยงผึ้ง
- นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชันโรง มาใส่ในรัง ต้องปล่อยในเวลากลางคืนเพราะถ้าเจอแสงชันโรงจะหนีออกจากรัง
- บริเวณที่เลี้ยงต้องมีพืชอาหาร เช่น ดอกของไม้ผล ดอกของวัชพืช ดอกของไม้ดอกต่างๆ ช่วงเวลาการบานของดอกต่างๆกัน ซึ่งจะทำให้ชันโรงมีอาหารตลอดทั้งปี
- หลังจากนั้นชันโรงจะอยู่อย่างถาวร เนื่องจากชันโรงไม่ชอบย้ายถิ่นฐานเหมือนผึ้ง
- เนื่องจากชันโรงชอบความสงบ จึงไม่ควรมีสิ่งรบกวนหรือย้ายรัง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.rakbankerd.com
5.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งโพรง 4
สถานที่ตั้งรังผึ้ง :
- ที่ตั้งรังผึ้งต้องอยู่ในที่ร่มเย็น หรือใต้ร่มไม้ ไม่มีลมโกรก
- ห่างจากแหล่งชุมชน เพื่อป้องกันผึ้งต่อยผู้อื่น
- สถานที่ที่ไม่ควรตั้งรังผึ้ง คือบริเวณที่แห้งแล้ง เช่น ทุ่งนา บริเวณที่มีแสง ไฟในเวลากลางคืน เพราะผึ้งจะบินมาเล่นไฟทำให้ผึ้งตาย
แหล่งอาหารผึ้ง :
- เกสรดอกไม้ ซึ่งผึ้งจะไปเก็บเกสรจากดอกไม้ต่าง ๆ เช่น มะพร้าว ลำไย พืชตระกูลปาล์ม นุ่น เงาะ ข้าวโพด เป็นต้น เพื่อใช้เป็นอาหารโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน ของผึ้ง
- น้ำหวาน ผึ้งจะเก็บน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกเสม็ด มะพร้าว กาแฟ ลำไย ทุเรียน เป็นต้น โดยผึ้งจะนำมาบ่มเป็นน้ำผึ้งซึ่งจะเป็นสารคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ผึ้ง
นอกจากนี้ผู้เลี้ยงผึ้งควรจัดน้ำสะอาดให้ผึ้งไว้บริโภค ถ้าในบริเวณใกล้เคียงไม่มีแหล่งน้ำในธรรมชาติ การจัดหาน้ำสะอาดให้ผึ้งมีน้ำบริโภคอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่จำเป็นเพราะผึ้งจะนำน้ำไปเจือจางน้ำผึ้งสำหรับไปเลี้ยงตัวอ่อน และช่วยในการละลายความร้อนภายในรังผึ้ง รวมทั้งรักษาความสมดุลและความชื้นภายในรวงรังในการช่วยให้ไข่ฟักออกเป็นตัวหนอน ผึ้งจะชอบน้ำอุ่นเล็กน้อย การจัดน้ำสะอาด ๆ ให้ผึ้งโดยการใส่น้ำสะอาดลงไปในภาชนะแล้วใส่ก้อนหินลงไปตามความเหมาะสมเพื่อใช้เป็นที่เกาะของผึ้งขณะมากินน้ำ แต่ต้องคอยเติมน้ำเรื่อย ๆ อย่าให้น้ำขาดโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
การให้น้ำหวานแก่ผึ้ง :
- ในกรณีนำผึ้งมาจากแหล่งอื่น การนำผึ้งไปเลี้ยงในที่ที่เราเตรียมไว้เป็นการบังคับสถานที่อยู่ของผึ้งที่เรา นำหีบเลี้ยงไปตั้ง ณ สถานที่ใหม่ หากสถานที่นั้นมีการเลี้ยงผึ้งอยู่บ้างแล้ว เราควรนำหีบผึ้งใหม่ไปวางให้ห่างจากหีบเลี้ยงที่อยู่เดิม เพราะเมื่อเปิดทางออกแล้วผึ้งงานจะบินเข้าออกชุลมุน ผึ้งงานที่บินเข้าผิดรังจะกัดกันตาย บางครั้งก็จะทำให้ผึ้งหนีรังได้ ในระยะแรกของการนำผึ้งมาเลี้ยงอาจจะต้องนำน้ำเชื่อมมาให้ผึ้งได้กินสักระยะหนึ่ง (โดยสังเกตจากรวงผึ้งว่ามีปริมาณน้ำผึ้งเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีน้ำผึ้งน้อยก็เติมน้ำเชื่อมให้) เนื่องจากผึ้งในรังต้องใช้น้ำหวานมาเลี้ยงตัวอ่อนและซ่อมแซมรัง และต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่ จึงไม่มีเวลาออกหาน้ำหวาน
- ในกรณีแหล่งอาหารในธรรมชาติไม่เพียงพอ สังเกตว่าคอนด้านบนส่วนที่เป็นน้ำผึ้งนั้นมีน้ำผึ้งอยู่น้อยหรือไม่มี ถ้าไม่ มีควรจะเติมน้ำหวานให้แก่ผึ้ง เพื่อจะให้ผึ้งมีอาหารกินและเลี้ยงดูตัวอ่อนต่อไป
วิธีการให้น้ำหวานแก่ผึ้ง :
- โดยใช้น้ำหวานผสมน้ำสะอาดอัตราส่วนประมาณ 1:1 โดยน้ำหนัก นำไปตั้งไฟแล้วปล่อยให้เย็น น้ำเชื่อมที่ได้จะมีความเข้มข้นพอเหมาะกับความต้องการของผึ้ง แล้วหาถ้วยแก้วธรรมดาหรือใช้พลาสติกใส่น้ำเชื่อม แล้วหาจานเล็ก ๆ ซึ่งมีขนาดโตกว่าปากถ้วยเล็กน้อยนำมาคว่ำปิดที่ปากถ้วยแล้วค่อย ๆ ประคองเมื่อคว่ำถ้วยแก้วลงจานเล็ก แล้วน้ำเชื่อมจะซึมออกมารอบ ๆ ถ้วยแก้ว นำไปวางไว้ในหีบเลี้ยงผึ้งที่เพื่อป้องกันผึ้งอื่นมาเอาน้ำหวานไป
การดูแลผึ้ง :
- เวลาในการตรวจเช็ครัง ควรเป็นช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่มีอากาศแจ่มใส ท้องฟ้าโปร่งไม่อบอ้าวหรือร้อนเกินไปเพราะผึ้งจะมีอารมณ์ดี ไม่ค่อยดุและผึ้งไม่ตื่น ผู้เลี้ยงผึ้งควรตรวจเช็ครังผึ้งทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง
การตรวจดูไข่ :
- ภายในรังผึ้งที่ตรวจสอบนั้นบางครั้งจะไม่ สามารถหานางพญาได้ ซึ่งเราก็มีวิธีการที่จะดูว่าภายในหลอดรวงผึ้งมีไข่อยู่หรือไม่ ถ้าพบว่ามีไข่อยู่ภายในหลอด หลอดละหนึ่งใบอยู่อย่างสม่ำเสมอภายในรวงก็แสดงว่าผึ้งโพรงนั้นมีนางพญาอยู่ (เพราะไข่จะมีอายุไม่เกิน 3 วัน) และนางพญาตัวนั้นเป็นนางพญาที่ดี แต่ถ้าไข่อยู่ในหลอดไม่สม่ำเสมอทั่วรวงแสดงว่านางพญาตัวนั้นไม่ดีควรจะเปลี่ยนใหม่ หรือในกรณีที่พบว่าไข่ผึ้งวางไม่เป็นระเบียบมีหลายฟองในหลอดเดียวกันก็แสดบงว่ารังนั้นอาจจะขาดนางพญา หรือนางพญาไข่ไม่ดีก็ได้ ให้ทำการตรวจเช็คให้ละเอียดอีกครั้ง และพิจารณาว่าควรจะเปลี่ยนนางพญา
การตรวจดูตัวอ่อน :
- ภายในรังผึ้งจะพบผึ้งระยะต่าง ๆ ผึ้งทุก ระยะโดยเฉพาะตัวอ่อนนั้นมีความสำคัญมากที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ที่แข็งแรงพร้อมที่จะเป็นประชากรผึ้งต่อไป ดังนั้นตัวอ่อนจะต้องสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค มีการเจริญเติบโตที่ปกติ หากผิดปกติก็ให้ดำเนินการแก้ไขต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.agriman.doae.go.th
6.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้ง
อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้ง :
- ตัวรัง
- คอน
- ขาตั้งรังผึ้ง
- ฝาปิด หรือไม้กั้นรัง
- เครื่องมือพ่นควัน
- ชุด
- ถุงมือ
- หมวกตาข่ายป้องกันผึ้งต่อย
- เหล็กงัดรังผึ้ง
- ถังสลัด
ขั้นตอนการเลี้ยงผึ้ง :
- ทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติและวงจรชีวิตของผึ้ง และลำดับชั้นทางสังคมของผึ้ง เพื่อให้เข้าใจการทำงานของผึ้งและรัง
- เลือกทำเลที่เหมาะสมในการวางรัง โดยควรมีแหล่งน้ำ ไม่แห้งแล้ง ใกล้สวนมะพร้าว ป่าตาล หรือสวนผลไม้และสวนดอกไม้ที่ผึ้งจะใช้เป็นแหล่งอาหารจากดอกไม้ของต้นพืช รังควรอยู่ใต้ร่มเงาไม้ที่ไม่มีลมโกรก ไม่ควรตั้งรวงผึ้งในนาข้าว พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ที่มีแสงไฟ เพราะผึ้งอาจทำอันตรายหรือเล่นกับไฟจนตายได้ ส่วนการวางรังผึ้งนั้นควรวางรังผึ้งแยกออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 30-50 รัง
- เมื่อย้ายผึ้งเข้ามาไว้ในพื้นที่ใหม่ๆ ควรจัดหาน้ำหวานให้ผึ้งใช้ในการเลี้ยงตัวอ่อนและซ่อมแซมรัง เพราะในช่วงแรกผึ้งอาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับสถานที่ใหม่ ทำให้ไม่มีเวลาออกหาน้ำหวาน
- ควรตรวจเช็ครังในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นที่อากาศแจ่มใส อากาศไม่อบอ้าว เพราะจะทำให้ผึ้งอารมณ์ดี ไม่ดุ สามารถตรวจเช็ครังทุก 7-10 วัน เพื่อดูว่าผึ้งงานยังทำงานและหาอาหารเป็นปกติอยู่หรือไม่ ประชากรผึ้งไม่ได้ลดลงและไม่มีศัตรูผึ้งรบกวน และที่สำคัญคือการตรวจดูว่านางพญาผึ้งยังอยู่หรือไม่
- ในการเก็บน้ำผึ้ง หากเลี้ยงแบบสมัยเก่าจะเป็นการตัดรวงผึ้งออกมาสับบนตะแกรงให้น้ำผึ้งไหลลงถัง หากเลี้ยงแบบสมัยใหม่จะนำรวงน้ำผึ้งมาสลัดในถัง และนำน้ำผึ้งบรรจุขวดต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://kasetgo.com
7.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งในสวน
อุปกรณ์ :
- คอนประกอบด้วยลังเลี้ยง ทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด 27x45x21 ซ.ม. ที่เกาะรวงผึ้งประกอบด้วย ไม้รูปสี่เหลี่ยม ขนาด 21x24x3 ซ.ม. ภายในขึงด้วยลวด 4-5 เส้น
- ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
- แผ่นฐานรวง
- เหล็กงัดรังผึ้ง
- กระป๋องรมควัน
- อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวง
แหล่งของผึ้งที่จะนำมาเลี้ยง :
- จากธรรมชาติ โดยการทำรังล่อไปวางไว้ในแหล่งที่มีผึ้งและเป็นที่ร่มรื่นใกล้แหล่งอาหาร ด้วยการปักเสาหลักสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อวางรังล่อโดยทาฝารังด้านในด้วยไขผึ้งหลังจากมีผึ้งเข้ามาอาศัย จึงเคลื่อนย้ายไปยังลานเลี้ยงต่อไป
- จากแหล่งเลี้ยงผึ้ง ผึ้งที่ซื้อมาเลี้ยงควรเป็นผื้งที่มีความสมบูรณ์สูง และมีครบทุกวัยทำงาน มีปริมาณเกสรน้ำผึ้งมาก นางพญาวางไข่ดี
การเก็บน้ำผึ้ง :
- ให้สังเกตดูที่ส่วนบนของคอน ถ้าพบว่ามีสีขาวขุ่นแสดงว่ามีน้ำผึ้งอยู่ภายใน ใช้มีดกรีดรวงผึ้งเป็นรูปตัวยูแล้วเลือกส่วนบนที่ติดกับสันคอนออก นำไปใส่ผ้ากรองที่มีถังรองรับ คอนฝึ้งที่ถูกตัดน้ำผื้งออก ให้นำกลับไปเลี้ยงตามเดิม หลังจากนั้นผึ้งก็จะสร้างรวงขึ้นมาใหม่ภายใน 1-2 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bloggang.com
8.ชื่ออาชีพเสริม : การเลี้ยงผึ้งโพรง 5
สถานที่ตั้งรังผึ้ง :
- เลือกพื้นที่มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์
- สถานที่เลี้ยงผึ้งควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาด อยู่ในที่ร่มเย็น หรือใต้ต้นไม้ ไม่มีลมโกรก ห่างจากแหล่งชุมชน และปลอดจากการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
พืชอาหารผึ้งโพรง :
- ต้องมีแหล่งอาหารที่สำคัญของผึ้งได้แก่ น้ำหวาน และเกสรดอกไม้
อุปกรณ์ :
- รังเลี้ยง
- คอนผึ้งรังล่อผึ้งโพรง
- ชุดกันผึ้งต่อย
- หมวกกันผึ้งต่อย
- แปรงปัด
- ตัวผึ้ง
- กลักขังนางพญา
- เครื่องพ่นควัน
- มีด
- ลวดสแตนเลส
การตรวจรังผึ้งโพรง :
- ควรทำการตรวจรังผึ้งทุก 10 วัน ควรตรวจในช่วงเช้าหรือเย็น
การให้น้ำหวานแก่ผึ้งโพรง :
- กรณีน้ำผึ้งมาจากแหล่งอื่น ควรนำรังผึ้งใหม่ไปตั้งให้ห่างจากที่ตั้งรังผึ้งเดิมและให้น้ำหวานสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ผึ้งซ่อมแซมรังและปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ใหม่
- กรณีแหล่งอาหารธรรมชาติไม่เพียงพอ เติมน้ำหวานโดยใช้น้ำหวานผสมน้ำอัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก
การแยกรังผึ้งโพรง : ผึ้งโพรงจะมีการแยกรัง 1-6 ครั้งต่อปีการแยกรังจะเป็นการเลียนแบบธรรมชาติซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
- รังผึ้งที่ควรแยกเป็นรังผึ้งที่สมบูรณ์มีหลอดนางพญา
- ลานเลี้ยงควรมีผึ้งตัวผู้เพียงพอ
- คัดเลือกหลอดนางพญาที่สมบูรณ์ไว้ 2-3 หลอด
- ช่วงนางพญาใกล้จะแยกรังประมาณ 2-3 วัน แยกรังหนึ่งอยู่กับที่อีกรังให้หันคนละทิศ เว้นระยะทางพอสมควร
- ตรวจเช็คผึ้งทุก 10 วัน จนกว่าผึ้งจะสมบูรณ์ตามปกติ
การเก็บน้ำผึ้ง :
- เมื่อผึ้งอยู่ในกล่องได้ประมาณ 1-3 เดือนให้เปิดดูรังผึ้งหากมีรวงผึ้ง 4 รวงขึ้นไป จะสามารถเก็บน้ำผึ้งได้โดยใช้มีดตัดแบ่งออกมา 1-3 รวง
การเก็บไขผึ้ง :
- หลังจากเก็บน้ำผึ้งแล้วรวงที่เหลือให้นำไปต้มจะได้ไขผึ้งล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.agriman.doae.go.th