รวมสูตรอาชีพ “วิธีเลี้ยงไก่”, วิธีเลี้ยงไก่ไข่, วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ โดยได้ทำการเลือกวิธีการเลี้ยงไก่ พร้อมเริ่มต้นอาชีพเลี้ยงไก่ขาย เริ่มธุรกิจขายไก่ได้ทันที เหมาะสำหรับผู้สนใจอาชีพเสริม, สร้างอาชีพและอาชีพอิสระ
หากคุณมีสูตรอาชีพ “วิธีเลี้ยงไก่” ต้องการแบ่งปันและโปรโมทร้านคุณ โปรดติดต่อ smeleader.thailand@gmail.com
1. ชื่ออาชีพเสริมเลี้ยงไก่ : วิธีการเลี้ยงไก่ไข่
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- แม่พันธุ์ไก่
- พื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ 5-10 ตารางเมตร (ต่อไก่ประมาณ 20 ตัว)
- อาหารไก่
- ยารักษาโรค
วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ :
- เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกไก่อายุ 1 วัน เป็นวิธีที่มีผู้เลี้ยงนิยมกันมากเนื่องจากทุนน้อย ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงไก่ได้ตลอดเวลาด้วยตัวเอง สามารถที่จะดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ ได้รู้ประวัติของไก่ทั้งฝูงตลอดเวลาจึงทำให้ได้ฝึกฝนการเลี้ยงไก่และมีความมั่นใจในการเลี้ยงไก่มากขึ้น แต่การเลี้ยงแบบนี้ต้องใช้เวลานานกว่าไก่จะให้ไข่ เพราะต้องเลี้ยงตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้ความชำนาญค่อนข้างสูงอีกทั้งยังต้องเสี่ยงต่อการตายของไก่ในระยะแรกๆ และจะต้องรอไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 22 สัปดาห์ ไก่จึงจะเริ่มให้ไข่
- เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือน เป็นวิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน โดยการที่ผู้เลี้ยงซื้อไก่รุ่นอายุ 6 สัปดาห์ – 2 เดือน มาจากฟาร์มหรือบริษัทที่รับเลี้ยงลูกไก่ เนื่องจากลูกไก่ในระยะนี้ราคายังไม่แพงมากนักและสามารถตัดปัญหาในเรื่องการเลี้ยงดูลูกไก่และการกกลูกไก่ การเลี้ยงไก่รุ่นอายุ 2 เดือนนี้ มักจะให้อาหารที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ ราคาถูก การเลี้ยงดูก็ไม่ต้องใช้ความชำนาญมากนัก ผู้ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เป็นครั้งแรก จึงสมควรเริ่มเลี้ยงด้วยวิธีนี้
- เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงไก่สาว เป็นวิธีที่ผู้เลี้ยงไก่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้านิยมกันมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงดูไก่เล็กหรือไก่รุ่น นอกจากนี้โรงเรือนก็สร้างไว้เฉพาะกับไก่ไข่เท่านั้นแต่การเลี้ยงไก่วิธีนี้ต้องลงทุนสูง ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักฟาร์มที่ผลิตไก่สาวเป็นอย่างดี ต้องสอบถามถึงประวัติของฝูงไก่สาวที่นำมาเลี้ยงเสมอ เพราะช่วงที่ไก่ยังเป็นลูกไก่และไก่รุ่นผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ประวัติของฝูงไก่สาวที่จะนำมาเลี้ยงได้ การเลี้ยงดูไก่เล็ก การเลี้ยงดูไก่เล็ก (อายุ 1 วัน-16 สัปดาห์) การเลี้ยงไก่ในระยะนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก เพื่อให้ลูกไก่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง และอัตราการเลี้ยงรอดสูง
ขอขอบคุณวิธีการเลี้ยงไก่ไข่จาก manziii01.wordpress.com
2. ชื่ออาชีพเสริม : วิธีการเลี้ยงไก่ไข่
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- แม่พันธุ์ไก่
- พื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ 5-10 ตารางเมตร (ต่อไก่ประมาณ 20 ตัว)
- อาหารไก่
- ยารักษาโรค
วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ :
- การเลี้ยงดูไก่ไข่ (อายุ 21-72 สัปดาห์) ไก่ไข่ระยะนี้เป็นช่วงให้ผลผลิต ถ้าการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องไก่จะเริ่มให้ไข่อายุ 20-21 สัปดาห์ เมื่อไก่เริ่มไข่ ประมาณ 5% ของฝูง ควรเปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่สาวเป็นไก่ไข่ ควรมีโปรตีน 16% อาหารต้องเพียงพอกับความต้องการและการให้ผลผลิตของไก่ ไก่ระยะนี้ต้องการแคลเซียมมาก ประมาณ 4.6 กรัม/ตัวซึ่งให้ในอาหารหรือให้แคลเซียม ความต้องการแคลเซียมจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การไข่เป็นสำคัญถ้าเปอร์เซ็นต์การไข่สูงความต้องการแคลเซียมมาก ถ้าเปอร์เซ็นต์การไข่ต่ำต้องการแคลเซียมต่ำเช่นกัน
- ไก่ไข่จะให้ผลผลิตสูงสุดในช่วงอายุ 25-30 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า ในกรณีเลี้ยงแบบกรงตับต้องจดบันทึกการไข่ทุกวัน หรือถ้าเลี้ยงแบบปล่อยฝูงก็ต้องจดบันทึกจำนวนไข่ทุกวัน เพื่อคิดเปอร์เซ็นต์การไข่ ควรเก็บไข่อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง เพื่อป้องกันการเสียหาย การให้ผลผลิตโดยทั่วไปจะให้ไข่ประมาณ 52 -60 สัปดาห์ การปลดไก่ออก ส่วนใหญ่จะทำเมื่อไก่ให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน เช่น ให้ผลผลิตต่ำกว่า 60% ของฝูง
- หลังจากไก่เริ่มไขแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ความถี่ในการให้ผลผลิตไข่ ขนาดไข่ ขนาดตัวไก่ และประสิทธิภาพในการให้ผลผลิต ในการให้ไข่ของแม่ไก่ในรอบ 1 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ
- ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ไก่ให้ไข่สูงสุด ความถี่การให้ไข่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากฝูงไก่เริ่มไข่ได้ 5 %จนกระทั่งผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อไก่ไข่ไปได้ประมาณ 2-3 เดือน ในระยะนี้ไก่มีการเจริญเติบโตและขนาดของไข่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเปลี่ยนไปตามสภาพการจัดการ การไข่ในระยะ นี้สิ้นสุดเมื่อไก่ อายุได้ประมาณ 10 เดือนครึ่ง หรือไข่ได้ประมาณ 5 เดือน
- ระยะที่ 2 เริ่มตั้งแต่ไก่ไข่ได้ 5 เดือนไปจนถึงไข่ได้ 10 เดือน หรือเมื่อไก่ได้อายุ 15 เดือนครึ่ง เป็นระยะที่ไข่ร่างกาย ขนาดไม่โตอีกแล้ว และไก่หยุดการเจริญเติบโตแต่อาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นบ้างจากการสะสมของไขมันเป็นระยะที่ผลผลิตเริ่มลดลง
- ระยะที่ 3 เป็นระยะสุดท้ายของการไข่ก่อนที่จะหยุดไข่ ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ไก่ไข่ได้ 10 เดือนจนกระทั่งไก่ผลัดขน ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน การให้ผลผลิตลดลงจนกระทั่งไก่หยุดไข่เพื่อผลัดขน แต่ขนาดของไข่ไม่ได้ลดลง หลังจากผลัดขนแล้วแม่ไก่จะเริ่มให้ไข่อีก การไข่ของแม่ไก่ในรอบปีที่ 2 และปีถัดๆไปจะเหมือนกับการไข่ในปีแรก แต่ผลผลิตไข่สูงสุดนั้นจะต่ำกว่าปีแรก ระยะเวลาในการไข่สั้นกว่ารอบปีแรกประมาณ 20 %ไข่ที่ได้ในรอบปีที่ 2 จะมีขนาดใหญ่กว่าปีแรก แต่เปลือกบางกว่า
ขอขอบคุณวิธีการเลี้ยงไก่ไข่จาก sites.google.com
3. ชื่ออาชีพเสริม : วิธีการเลี้ยงไก่ไข่
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- แม่พันธุ์ไก่
- พื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ 5-10 ตารางเมตร (ต่อไก่ประมาณ 20 ตัว)
- อาหารไก่
- ยารักษาโรค
วิธีการเลี้ยงไก่ไข่ :
- ใช้พื้นที่เลี้ยง 5 – 6 ตัวต่อตารางเมตร ไก่เริ่มเป็นสาวเมื่ออายุ 15 สัปดาห์
- ใช้อาหารไก่ไข่ระยะไก่สาว โปรตีน 12-13 เปอร์เซ็นต์
- ควบคุมอาหารให้ไก่สาวกินตามมาตรฐาน สุ่มชั่งน้ำหนักปรับลดอาหาร
- คัดไก่ป่วยไก่แสดงอาการผิดปรกติ แคระแกรนออก
- ทำความสะอาดและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอ ๆ เมื่อพื้นเปียกแฉะ การรักษาพื้นคอกให้แห้งเสมอเป็นการป้องกันโรคไก่ไม่ให้เกิดโรค ได้รับแสงสว่างไม่เกิน 12 ชั่วโมง
- ไก่จะเริ่มมีไข่เมื่ออายุ 150 – 180 วันเมื่อไก่เริ่มให้ไข่จะต้องเปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ที่มีโภชนะและแคลเซี่ยมสูงขึ้นเพื่อนำไปสร้างไข่เปลือกไข่
- จำนวนอาหารที่ไก่กินจะเพิ่มขึ้นอยู่กับอัตราการให้ไข่ของแม่ไก่ ให้ไข่มากก็ให้อาหารมาก 100-120 กรัม / ตัว / วัน ให้ไข่น้อยอาหารก็ลดลงตามส่วน ตามมาตรฐานการให้ไข่ของไก่แต่ละพันธุ์
ขอขอบคุณวิธีการเลี้ยงไก่ไข่จาก กรมปศุสัตว์
4. ชื่ออาชีพเสริมไก่เนื้อ : วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ ขนาดโรงเรือน 10 * 104 เมตร
- โรงเรือนเก็บอาหาร ยา และอุปกรณ์การเลี้ยง
- อาคารอาบน้ำสำหรับบุคคลที่จะเข้าฟาร์ม
- โรงเรือนสเปรย์ยาฆ่าเชื้อรถยนต์ภายนอกฟาร์ม
- โรงเก็บวัสดุรองพื้น
- ระบบน้ำภายในฟาร์ม
วิธีการเลี้ยงไก่เนื้อ :
- ภายในโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อนั้นควรจะสร้างให้มีความกว้าง 10 เมตร และยาวประมาณ 104 เมตร ภายในนั้นแบ่งเป็นล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร และมีที่เก็บอาหารประจำโรงขนาด 40 ตารางเมตร และมีอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงพร้อมโรงเรือนและอุปกรณ์ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อก่อน ต่อมาจะทำการปูด้วยวัสดุรองพื้น และจัดอุปกรณ์เข้าโรงเรือน จากนั้นใช้ยาฆ่าเชื้อฉีดพ่นเป็นฝอยอีกครั้ง
- การนำลูกไก่เข้าเลี้ยงและการเลี้ยงดู ก่อนนำลูกไก่เข้าเลี้ยงจะต้องตรวจความพร้อมอีกครั้ง และนำลูกไก่ลงปล่อย ปกติพื้นที่ 1 ล๊อกขนาด 200 ตารางเมตร จะปล่อยลูกไก่ 1600-2000ตัว
- การให้น้ำและอาหาร เป็นงานปกติที่ต้องทำประจำวัน ไก่เนื้อควรให้อาหารบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ไก่กินอาหารได้มากขึ้น การใช้ถังอาหารแบบแขวน ควรเข้าไปเขย่าบ่อยๆ เช่นกัน สำหรับน้ำควรมีให้กินตลอดเวลา และควรล้างภาชนะให้น้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- การให้แสงสว่างสำหรับไก่เนื้อ ไก่เนื้อต้องการแสงสว่างเพื่อให้สามารถกินอาหารได้ตลอดวันและตลอดคืน ดังนั้นจึงต้องให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ
- การกกไก่เนื้อ เป็นการจัดการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง จำเป็นเพื่อให้ลูกไก่ค่อย ๆ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อม
- การให้วัคซีน ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรค นิวคลาสเซิล ฝีดาษ และ หลอดลมอักเสบ ซึ่งจะให้ตามโปรแกรมวัคซีนสำหรับไก่เนื้อ
- การจับไก่เพื่อจำหน่าย เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเลี้ยงไก่เนื้อการจับไก่จำหน่ายควรทำช่วงอากาศเย็นหรือช่วงเวลากลางคืน
วิธีการควบคุมโรคในไก่เนื้อ :
- การจัดการโดยใช้หลักการ
- Isolation การเลือกพื้นที่ห่างจากชุมชน
- Protection การป้องกันพาหะนำโรค
- All -in all-out system
- Idle period การพักเล้า
- Sanitation การสุขาภิบาล ได้แก่ การล้าง การฆ่าเชื้อ การเข้าเล้าต้องจุมเท้าก่อน หรือการอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้าเล้า และการฆ่าเชื้อภายนอก
- Health Promotion ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดี เช่น การระบายอากาศ การกก น้ำและอาหาร
- การทำวัคซีน (vaccination program)
- การกำจัดโรค( disease elimination)
- คัดเลือกลูกไก่ที่นำมาเลี้ยงควรปราศจากเชื้อ
- ป้องกันความเครียดต่าง ๆ
- รีบให้การรักษา
- คัดไก่ป่วยออก ทำลายซากไก่ที่ตาย
ขอขอบคุณวิธีเลี้ยงไก่เนื้อจาก supakorns24.wordpress.com
5. ชื่ออาชีพเสริม : วิธีเลี้ยงไก่เนื้อ
อุปกรณ์/เครื่องมือเบื้องต้น :
- ลูกไก่
- พื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ 5-10 ตารางเมตร (ต่อไก่ประมาณ 20 ตัว)
- อาหารไก่
- ยารักษาโรค
วิธีการเลี้ยงดูลูกไก่ระยะแรก :
- การเลี้ยงไก่ในระยะกกผู้เลี้ยงจะต้องดูแลเอาใจใส่ลูกไก่อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการกก การให้อาหารลูกไก่ระยะกก ควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อให้ลูกไก่กินหมดภายในระยะเวลา 1 – 2 ชม. ซึ่งการให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเช่นนี้จะทำให้ลูกไก่มีความ กระตือรือร้นในการแย่งกันกินอาหารมากขึ้น และได้กินอาหารใหม่ ๆ อยู่ตลอด ซึ่งการให้ครั้งละมาก ๆ อาหารจะถูกลูกไก่คุ้ยเขี่ยและเหยียบย่ำ และมีอุจจาระ หรือแกลบ ปะปนอยู่ ลูกไก่จะเบื่ออาหารทำให้เจริญเติบโตไม่ดี ความแข็งแรงสมบูรณ์ต่ำลง
- น้ำที่จัดให้สำหรับไก่ดื่มต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อไก่ทั้งทางตรงและทางอ้อม และมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการของไก่
- อุปกรณ์ใส่อาหาร – ใส่น้ำ เมื่อไก่อายุการเลี้ยงมากขึ้นความต้องการอาหารและน้ำย่อมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใส่น้ำ และใส่อาหารจำเป็นต้องจัดให้เพียงพอต่อความ ต้องการของไก่และใช้ภาชนะใส่น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับอายุของไก่โดยปรับระดับภาชนะตามความสูงของไก่ เพื่อลดการคุ้ยเขี่ยตกหล่นและการเปียกชื้นบริเวณที่ตั้งน้ำ ซึ่งอุปกรณ์ใส่น้ำ ก็ต้องล้างให้สะอาดทุกวัน
- การขยายพื้นที่ จำเป็นต้องขยายพื้นที่กกให้กว้างขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ของลูกไก่ การขยายพื้นที่นั้นจะต้องกระทำทุก 3 วัน โดยขนาดแผงล้อมกก ออกครั้งละประมาณ 3 – 5 นิ้ว เป็นรัศมีโดยรอบ
- การเปิดผ้าม่าน ผ้าม่านที่ปิดไว้รอบ ๆ โรงเรือนจะต้องเปิดออกเมื่ออากาศภายในโรงเรือนร้อน และกกที่ใช้กกลูกไก่ร้อน โดยค่อย ๆ เปิดออก การเปิดจะเปิดด้าน บนลงสู่ด้านล่าง เพื่อป้องกันมิให้ลมพัดกระทบตัวไก่โดยตรง
- การปรับความร้อนเครื่องกกให้เหมาะสม เมื่อไก่โตขึ้นการสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายของตัวเองมีมากขึ้น ฉะนั้นเครื่องกกที่ให้ความอบอุ่นก็จะมีความจำเป็น น้อยลงตามลำดับ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่นอย่างเหมาะสม ซึ่งลูกไก่ที่ได้รับความร้อน ความอบอุ่นที่เหมาะสม ลูกไก่จะนอนกระจายเรียงรายภายใต้กก บางตัวนอนยืดคอ พาดไปตามพื้นอย่างสบายและมีความกระปรี้กระเปร่าในการกินน้ำ กินอาหาร ถ้าความร้อนสูงเกินไป ลูกไก่จะหนีห่างจากเครื่องกกไปอยู่รอบ ๆ แผงล้อมกก ส่งเสียงร้องดังอยู่ ตลอดเวลาและถ้าความร้อนมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ๆ ลูกไก่จะแสดงอาการโผเผ ไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปบางตัวปีกตกขนไม่เรียบร้อย ลักษณะของอุจจาระแห้งมากกว่าปกติด้วย แต่ถ้าความอบอุ่นไม่เพียงพอ ลูกไก่จะเบียดเสียดยัดเยียดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ใต้เครื่องกก เพื่อให้ได้ความอบอุ่นจนมีการสุ่มทับ กันตาย หากขาดความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานลักษณะของลูกไก่ที่ได้รับความอบอุ่นไม่เพียงพอจะมีลักษณะ ยืนตัวสั่น, ปีกตก, อุจจาระติดกัน, ท้องเสีย และลักษณะของ อุจจาระจะเปียบมากกว่าปกติ ดังนั้น การปรับความร้อนเพื่อใช้ในการกกจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการเลี้ยงลูกไก่ ซึ่งในทางปฏิบัติการปรับความร้อนให้พอเหมาะกับความต้องการของลูกไก่ที่จะ ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ จะทำควบคู่กันไปกับการขยายพื้นที่กกโดยยกเครื่องกกได้สูงขึ้น 1 นิ้ว ทุก 3 วัน กระทำเช่นนี้จนกว่าจะพ้นระยะการกก
วิธีการสังเกตการเลี้ยงไก่เนื้อ :
- หลังจากให้อาหารแต่ละมื้อควรสังเกตลูกไก่ ภายในกกทุกตัวว่าเป็นอย่างไรโดยทั่วไปลูกไก่ที่สุขภาพแข็งแรง หลังจากให้อาหารความสนใจของลูกไก่จะอยู่ที่อาหาร แย่งกันกินอาหารอย่างเพลิดเพลินทุกตัว หากการให้อาหารมื้อใด ลูกไก่บางตัวหรือส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจอาหารที่ให้ใหม่ แสดงถึงความผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกไก่ฝูงดังกล่าวต้องรีบ ค้นหาสาเหตุ และรีบแก้ไขทันที
- สังเกตุการกินน้ำ โดยทั่ว ๆ ไปการกินน้ำของไก่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามลำดับ ยกเว้นสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น หนาว หรือร้อน ผิดปกติ การกินน้ำ จะน้อยหรือมากตามสภาวะกาลนั้น ๆ หากพบว่าสภาพอากาศปกติ แต่การกินน้ำของไก่ลดลง ลูกไก่ไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของลูกไก่ที่จะแสดง อาการป่วยให้เห็นใน วัน เวลา ถัดมา เมื่อสังเกตุพบการกินน้ำน้อยลงผิดปกติ จึงควรรีบแก้ไขก่อนจะเกิดผลเสียหาย
- การสังเกตุทั่ว ๆ ไป เช่น สภาพกกร้อนเกินไป, หนาวเกินไป, จำนวนไก่แน่นเกินไป, จำนวนที่ใส่น้ำ, ใส่อาหารเพียงพอ หรือไม่, ลักษณะของอุจจาระ, วัสดุรองพื้น ชื้นเกินไป แห้งเกินไปหรือไม่ หากพบปัญหาใดก็ตามที่เกิดขึ้นต้องรีบแก้ไขทันทีทันใด เพื่อลดสภาวะเครียดของลูกไก่ได้ทันท่วงที จะได้ไม่ก่อให้เกิดความเสีย
- การจดบันทึก การเลี้ยงไก่จะประสบผลสำเร็จ มากน้อยเพียงใดต้องอาศัยการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิโรงเรือน, ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมดในการเลี้ยง, น้ำหนักตัว, การทำวัคซีน, ประวัติการเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่มีการบันทึกไว้อย่างละเอียดในระหว่างการเลี้ยงจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงแล้วนำข้อมูล เหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องอันที่สามารถเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า
ขอขอบคุณวิธีเลี้ยงไก่เนื้อจาก ku.ac.th