สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558

 สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558

มูลค่าธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทย ปี 2558 มีมูลค่าประมาณ 2,107,692.88 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.69 ของมูลค่าขายสินค้าและบริการทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก ปี 2557 ร้อยละ 3.65 โดยส่วนใหญ่เป็นมูลค่าดังนี้

1. แบบ B2B จำนวน 1,230,160.23 ล้านบาท (ร้อยละ 58.37)
2. แบบ B2C จำนวน 474,648.91 ล้านบาท (ร้อยละ 22.52)
3. แบบ B2G จำนวน 402,883.74 ล้านบาท (ร้อยละ 19.11)

อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce มากที่สุดตามลำดับต่อไปนี้
1. หมวดอุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า E-Commerceจำนวน 658,909.76 ล้านบาท (ร้อยละ 38.43)
2. หมวดอุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 350,286.83 ล้านบาท (ร้อยละ 20.43),
3. หมวดอุตสาหกรรม การค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 325,077.48 ล้านบาท (ร้อยละ 18.96),
4. หมวดอุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 303,111.48 ล้านบาท (ร้อยละ 17.68)
5. หมวดอุตสาหกรรมการขนส่ง มีมูลค่า E-Commerce จำนวน59,572.42 ล้านบาท (ร้อยละ 3.47)
6. หมวดอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 11,694.22 ล้านบาท (ร้อยละ 0.68)
7. หมวดอุตสาหกรรมกิจการการบริการด้านอื่นๆ มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 4,348.23 ล้านบาท (ร้อยละ 0.25)
8. หมวดอุตสาหกรรมการประกันภัย มีมูลค่า E-Commerce จำนวน 1,751.62 ล้านบาท (ร้อยละ 0.10)

จากข้อมูลสถิติที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยมีแนวโน้ม การเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ยกเว้น หมวดอุตสาหกรรมการผลิต และหมวดอุตสาหกรรม การประกันภัย

โดยปัจจัยภายในที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยด้านการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในด้าน E-Commerce ส่งผลให้เกิดการจ้างคนภายนอก (Outsource) โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดต้นทุนในการดำเนินการ ที่สูงขึ้น รวมถึงปัจจัยด้านการขนส่ง หากมองตามโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ในขณะนี้ของประเทศ ยังคงก่อให้เกิดต้นทุนในการขนส่งที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในด้านอื่นๆ

ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย ปัจจัยด้านโครงสร้างภาษีของธุรกิจ E-Commerce ปัจจัยโครงสร้างด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและความปลอดภัย

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558
จากภาพจะเห็นได้ว่ามูลค่า E-Commerce ของกลุ่มอุตสาหกรรมการให้ บริการที่พักสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ สาเหตุมาจากการเติบโตของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งในด้านการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติในเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ (กรมการท่องเที่ยว, 2557) รวมถึง การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มชนชั้นกลาง (Rising Middle Class) โดยในปี 2557 มีการเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มชนชั้นกลางทั่วโลกกว่า 2 พันล้านคน (1 ใน 3 ของ ประชากรโลก) ซึ่งส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคเอเชีย

อีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก คือ การเพิ่มขึ้นของธุรกิจ สายการบินต้นทุนต่ำ (Rising of Low Cost Airline) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2558 อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าปลีก และการค้าส่ง มีอัตราการเติบโตร้อยละ 28.68 รองลงมาเป็นอุตสาหกรรม ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ มีอัตราการเติบโตร้อยละ 25.03 และอุตสาหกรรม การขนส่ง มีอัตราการเติบโตร้อยละ 19.94

ส่วนอุตสาหกรรมที่ มีแนวโน้มการเติบโตลดลงในปี 2558 คือ อุตสาหกรรมการประกันภัย และอุตสาหกรรม การผลิต มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 28.62 และร้อยละ 20.50 ตามลำดับ สาเหตุมาจากการผันผวนทางเศรษฐกิจโลก และการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบ ด้านลบให้แก่สองอุตสาหกรรมนี้มากที่สุด

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558 จากภาพ เมื่อพิจารณาลงไปในรายละเอียดของอุตสาหกรรมที่มีอัตรา การเติบโตมากที่สุด 2 อันดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง และอุตสาหกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ พบว่า ในปี 2557 สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่งที่มีมูลค่า E-Commerce สูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

อันดับที่ 1 คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ การสื่อสาร มีมูลค่าคิดเป็น 64,821.52 ล้านบาท (ร้อยละ 25.66)
อันดับที่ 2 เครื่องสำอาง อาหารเสริม น้ำหอมและอุปกรณ์เสริมความงาม มีมูลค่าคิดเป็น 61,682.50 ล้านบาท (ร้อยละ 24.42)
อันดับที่ 3 เครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ มีมูลค่าคิดเป็น 43,619.19 ล้านบาท (ร้อยละ 17.27)

ในปี 2558 คาดการณ์ว่าสินค้าที่จะมีอัตราการเติบโตของมูลค่า E-Commerce สูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ อาหาร อาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 143.36 อันดับที่ 2 คือ ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ จะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 66.55 ส่วนเครื่องสำอาง อาหารเสริม น้ำหอมและอุปกรณ์เสริมความงาม จะมีอัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับที่ 3 โดยคิดเป็นร้อยละ 29.53

ในขณะที่สินค้าที่มีอัตราการเติบโตน้อยที่สุด คือ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน โดยจะมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 10.39
ในปี 2558 พบว่า สินค้า ที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดได้แก่ ธุรกิจเพลง โรงภาพยนตร์ และ e-movie โดยมีอัตรา การเติบโตร้อยละ 40.03 รองลงมาคือ การศึกษา, e-book, บริการที่เกี่ยวข้อง และแอปพลิเคชัน โดยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 29.34

ผู้ประกอบการ E-Commerce ในประเทศไทย จำแนกตามการให้บริการช่องทางการชำระเงิน

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558.

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558.
จากภาพ พบว่า ช่องทางการชำระเงินทางออนไลน์ที่ผู้ประกอบการนิยมเปิดให้บริการมากที่สุดเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค
อันดับที่ 1 ได้แก่ e-banking เป็นการชำระเงินผ่าน Internet Banking, Mobile Banking และ ผ่านตู้ ATM (ร้อยละ 54.25)
อันดับที่ 2 เป็นการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต (ร้อยละ 22.39)
อันดับที่ 3 เป็นการชำระเงิน ผ่าน Mobile Payment Aggregator ต่างๆ เช่น M-Pay, True Money, Paysbuy, 2C2P เป็นต้น (ร้อยละ 14.53)

จากผลการสำรวจ พบว่า ช่องทางการขนส่งที่ผู้ประกอบการใช้
อันดับที่ 1 ได้แก่ การใช้บริการขนส่งผ่านบริษัทจัดส่งสินค้า เช่น DHL, FedEx หรือ บริษัทให้บริการด้านโลจิสติกส์ (Third-party logistics),
อันดับที่ 2 ใช้บริการส่งผ่าน บริษัทไปรษณีย์ไทย (Thailand Post)
อันดับที่ 3 บริษัทมีบริการจัดส่งสินค้าเป็นของ ตนเอง (Own Transportation)
อันดับที่ 4 คือ การกำหนดจุดรับสินค้าระหว่าง ผู้ประกอบการกับลูกค้า เช่น สำนักงานใหญ่, 7-eleven, Big C, Lotus, Family Mart เป็นต้น

สรุปประเด็นสำคัญ มูลค่าธุรกิจ E-commerce ประเทศไทย ปี 2558

อ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่ : https://www.etda.or.th

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *