อบรมอาชีพ ต่อยอดธุรกิจด้านศิลปหัตถกรรม
ศ.ศ.ป. จัดโครงการประจำปี ดึงโมเดลพัฒนา SMEs
อบรมอาชีพ เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการส่งเสริมอาชีพให้มีพัฒนาการ สามารถต่อยอดกิจการสู่การสร้างรายได้ที่มากขึ้น หรือเป็นที่ยอมรับเพิ่มขึ้น “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ” (องค์การมหาชน) ได้จัดอบรมขึ้นประจำปี เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจการค้างานศิลปหัตถกรรม ดึงโมเดลการพัฒนา SMEs มาปรับใช้ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดโลก ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจผ่านการอบรมอาชีพด้วยหลักสูตรที่เติมเต็มองค์ความรู้ใหม่
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ที่มี “นางพิมพรรณ ชาญศิลป์” เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอำนวยการ ได้จัดโครงการขึ้นเพื่ออบรมอาชีพในการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ด้านศิลปหัตกรรม ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการประกอบการทุกด้าน ทั้งในด้านการผลิตสินค้าและด้านการบริหารจัดการ มุ่งผลักดันให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องพร้อมด้วยอัตราการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง สู่ความเป็นสากลหรือการก้าวสู่ตลาดโลกอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้เป็นโครงการที่เน้นอบรมอาชีพเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วให้สามารถเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเองจากความคิดสร้างสรรค์ สามารถผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการเพิ่มเสน่ห์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อผลักดันให้สินค้าออกสู่ตลาดโลก
จากการดำเนินงานทั้ง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่าสินค้าที่ได้รับการตอบรับมากที่สุด เป็นสินค้าที่ผลิตจากผ้า เนื่องจากผ้าสามารถนำไปทำสินค้าได้หลากหลาย เช่น กระเป๋า ผ้าพันคอ เครื่องแต่งกาย เป็นต้น โดยตลาดหลักของสินค้าจากผ้าทอ จะอยู่ที่สหรัฐฯ ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจากจีน ที่ให้การตอบรับดีต่อผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ ซึ่งเป็นสินค้าจากภูมิปัญญาไทย
โครงการอบรมอาชีพนี้มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ ผู้ประกอบการหัตกรรมไทย นักดีไซน์ หมู่บ้าน/ชุมชน และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสานต่อในธุรกิจ ภายในโครงการได้ดึงเอาโมเดลการพัฒนา SMEs มาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการด้านศิลปหัตกรรม เพิ่มทักษะการบริหารจัดการ ยกระดับผลิตภัณฑ์ในมิติต่างๆ เกิดการรวมกลุ่มเครือข่ายหัตกรรม และเกิดเครือข่ายทางการค้า การแลกเปลี่ยนความรู้ และเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ของทั้งระบบงานหัตถกรรม
ภายในโครงการยังมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพโดดเด่น เพื่อการเข้าทดสอบตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศกับ ศ.ศ.ป. โดยจะมีผู้ผ่านจากผู้ประกอบการในระดับเอทั้งหมด 5 รายจาก 30 รายที่สามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศได้ ทั้งนี้เพื่อการสนับสนุนช่องทางและโอกาสทางการค้า ให้สามารถนำสินค้าออกสู่ตลาดโลกได้ ส่วนอีก 25 รายที่เหลือนั้นจะถือว่าประสบความสำเร็จของตลาดในประเทศ
โครงการอบรมอาชีพดังกล่าวได้จัดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 3 ปีด้วยกัน ซึ่งจะมีขึ้นประจำปี ด้วยจุดประสงค์หลักคือการพัฒนา SMEs ด้านศิลปหัตกรรมโดยเฉพาะ ช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาไทยให้ก้าวไกลไปทั่วโลก สามารถใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันธุรกิจด้านศิลปหัตกรรมออกสู่ตลาดในต่างประเทศ สามารถกระจายสินค้าในภูมิปัญญาไทยให้มีตลาดที่กว้างขึ้น โดยเริ่มต้นที่ผู้ประกอบการเป็นสำคัญด้วยการอบรมอาชีพให้มีหลักการในการดำเนินธุรกิจที่แข็งแรง มีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยภูมิปัญญา เกิดการรวมกลุ่มและเกิดเครือข่ายทางการค้าที่แข็งขัน ที่จะส่งผลต่อผู้ประกอบการโดยตรงและส่งผลต่อตลาดศิลปหัตกรรมให้ขยายใหญ่ขึ้นด้วย
ข้อมูลติดต่อโครงการเพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจ
ที่อยู่ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
โทรศัพท์ : 0-3536-7054
Fax : 0-3536-7051
Website : www.sacict.net
Facebook : https://www.facebook.com/sacict
Twitter : @SACICT
Youtube Channel : SACICTchannel
หมายเหตุ รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Facebook ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)