การออกแบบผลิตภัณฑ์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาคุณภาพสินค้า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย ยิ่งจะช่วยดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากใช้สินค้าและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในที่สุด ปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆในการออกแบบ คือ แพ็กเกจจิ้งของสินค้าจะสามารถสร้างจุดขายหรือเล่าเรื่องราวที่มาของสินค้าให้เป็นที่เตะตากับลูกค้าได้อย่างไร ตลอดจนความสำคัญและเป้าหมายในการออกแบบแพ็กเกจจิ้ง ก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่จดจำด้วยความเรียบง่ายและเข้าถึงใจลูกค้าได้อย่างไร ประกอบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือผู้ประกอบการท้องถิ่นนั้นยังขาดความรู้และทักษะในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าชุมชนให้มีความน่าสนใจต่อสายตาชาวโลกได้อย่างไรหากต้องการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
ล่าสุด กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIPT) โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA) เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาความรู้และทักษะการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับฐานรากไปจนถึงผู้ประกอบการที่ต้องการทำการค้าระหว่างประเทศ จึงได้จัด “โครงการพัฒนานักส่งออกรุ่นใหม่ Young Exporter from Local to Global (YELG) ผลักดันให้สินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลก” ในระยะที่ 1 จะเป็นการอบรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความพร้อมให้ผู้ส่งออกรุ่นใหม่มีศักยภาพที่จะสามารถส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลกได้ โดยมีการจัดอบรมหัวข้อ “ความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าส่งออก พร้อมกรณีศึกษาไทยที่ประสบความสำเร็จ” บรรยายโดย คุณสมชนะ กังวารจิตต์ PROMPT PARTNERS ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่การันตีด้วยรางวัลระดับโลก มาให้ความรู้เกี่ยวกับ “3 ทริคเด็ด ออกแบบแพ็กเกจจิ้งสำคัญอย่างไรถึงส่งออกได้” ดังนี้
1) สินค้าต้องตั้งชื่อให้โดน (Brand name)
ในโลกใบนี้มีแบรนด์ดังหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ถูกวางขายแตกต่างกันแต่ละประเทศและชื่อไม่เหมือนกัน ตรงนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญ ว่าชื่อแบรนด์สินค้าของคุณอาจจะตรงใจ พอใจ แต่อาจจะวางขายบางประเทศแล้วไม่เกิดความเข้าใจ อาจเนื่องด้วยภาษาที่แตกต่างกัน เช่น เลย์ ถ้าไปออสเตรเลีย กลายเป็นชื่อสมิท หรือบางประเทศนั้นไม่อนุญาตชื่อนี้ อาจใช้แล้วไม่สุภาพ หลายๆครั้งดิสทิบิลเตอร์เขาจะมีความหมายที่สอดคล้องกับจริตประเทศนั้น ดังนั้นไปประเทศไหนเอาคนที่รู้จริงมาแปล หรือแนะนำการตั้งชื่อ การตั้งชื่อแบรนด์สินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญว่าจะบ่งบอกถึงสิ่งที่เราขาย และสื่อสารสินค้าของเรากับผู้ซื้ออย่างไร จะสามารถสร้างการจดจำแบรนด์ในวงกว้างได้หรือไม่ วิธีการง่ายๆ คือ ตั้งชุดความคิดแบบง่ายๆ ขายอะไร อยากเล่าเรื่องราวอะไร และลองสุ่มเทสดูว่า ในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง หากได้ยินชื่อที่ตั้งขึ้นทดสอบสัก 50 ชื่อ เวลาผ่านไป 3 วัน ลองกลับมาย้อนถามดูใหม่ หากจำชื่อไหนได้ นั้นหมายความว่า ชื่อแบรนด์นั้นมีประสิทธิภาพในตัวของมันเองอย่างสมบูรณ์แบบ
2) สร้างเรื่องราวให้ทัชใจลูกค้า (Storytelling)
การเล่าเรื่องราว เราอยู่ในยุคที่นวัตกรรมที่หาได้ง่าย ความแตกต่างของสินค้าจะไม่มี เพราะงั้นหลายคนทำสินค้าเหมือนกัน เช่น ทุเรียนมีหลายเจ้า เป็นพันๆเจ้า ดังนั้นไม่มีความแตกต่าง เรื่องที่จะขายได้ยุคนี้คือเรื่องเล่า จะขายทุเรียน คิดว่าจะเหมือนกันไหม จนไม่มีทางคิดว่าจะเหมือนไหม ก็เล่าเรื่องราว storytelling มีอายุของมันระยะหนึ่ง แต่หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยน ตรงนี้ยังไม่มีใครเล่ามากเท่าไหร่ มันมีแบรนดที่เล่าก็จริงอยู่ แต่ในทุกแบรนด์ไม่เล่าอะไรเลย เราต้องเล่าเรื่องราวเบื้องต้นก่อนเพื่อเราจะได้ไปอยู่ในใจเขา
3) สื่อสารอย่าซับซ้อน ต้องง่ายและชัดเจน (Be Simple, Bold and Clear)
สุดท้ายการสื่อสารอย่าซับซ้อน แต่ต้องแตกต่างเคลียร์ชัดเข้าใจง่าย ภาษาที่พูดเป็นสากล ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมากมาย เพราะในตลาดมีความวุ่นวายอยู่แล้ว ในตลาดมีแบรนด์ทุกคนหากเป็นแบบนี้ถ้าเราเป็นแบรนด์ใหม่ต้องทำตัวให้เรียบง่าย ยกตัวอย่าง แบรนด์ Raimaijon (ไร่ไม่จน) ทำน้ำอ้อยมาขาย สมัยแรกเริ่มทำขายเป็นระบบแฟรนไชส์ เพราะบริหารจัดการไม่วุ่นวายนัก แต่ขายได้ไม่มากเท่าไหร่ สิ่งแรกที่ต้องกลับมาคิดคือ แพ็กเกจจิ้งน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำอ้อยได้อย่างไร จึงได้ตัดสินใจช่วยกันคิดใหม่ ทำใหม่ โดยเริ่มเปลี่ยนขวด และเปลี่ยนโลโก้ก่อน เปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษหมด “RAIMAIJON” และ lobo type เป็นท่อนอ้อย และ 3 บรรทัดอ่านง่ายๆ ได้ logo ใหม่ พอบอกว่าต้องเป่าขวดเป็นเรื่องใหญ่ อยากได้รูปทรงต่อเป็นท่อนอ้อยได้ เพื่อต่อกันได้ จึงส่งไปเป่าขวด ทำเทสมาเพื่อต่อให้ได้ ต้องเทสหลายทีเพื่อให้ต่อกันให้ได้ พอทำมาแล้วจึงเริ่มมีโครงการหลายๆ โครงการนำไปออกบูธในไทย และหลายรายการโทรทัศน์นำไปเผยแพร่ ทำให้เป็นที่รู้จักจากความน่าสนใจในตัวแบรนด์มากยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : smeone.info