เพาะเห็ดฟางขาย หนึ่งในอาชีพเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ ทำเงินได้เรื่อยๆ รอไม่นานก็เก็บเกี่ยวไปขายได้ ใช้พื้นที่น้อย ดูแลไม่ยาก สำหรับท่านที่สนใจอยากจะหายรายได้เสริมจากการปลูกเห็ดฟางขาย เราได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกร เพาะเห็ดฟางขาย มาให้ท่านได้นำไปประยุกต์ให้เข้ากับความต้องการของท่านผู้ประกอบการ ผู้เริ่มต้นอาชีพ ดังต่อไปนี้
ลักษณะทั่วไปของเห็ดฟาง
เห็ดฟางเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิระหว่าง 28 ถึง 37 องศาเซลเซียสและสามารถขึ้นได้ดีกับวัสดุหลายชนิด เช่น เปลือกถั่ว กองฟาง มันสำปะหลัง ไส้นุ่น เห็ดฟางเพาะง่าย ใช้เวลาในการเพาะและเก็บผลผลิตประมาณ 15 ถึง 20 วัน
ผลผลิตโดยเฉลี่ย
เห็ดฟางหนึ่งกองกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 1-1.20 เมตร สูง 30 เซนติเมตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยกองละ 2-3 กิโลกรัม
งบประมาณที่ใช้
- หัวเชื้อเห็ดฟาง ราคาประมาณ 10 – 20 บาท/ก้อน
- ฟางข้าวอัดก้อน ฟางใหม่ ก้อนละ 130 บาท น้ำหนักต่อก้อนประมาณ 13-17 กก.
- ปุ๋ยคอกแห้ง ราคาประมาณ 50 บาท/กระสอบ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม/กระสอบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง
- ฟางตากแห้ง ฟางต้องแห้งสนิทจะต้องไม่ชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางเข้าเจ้าหรือตอซังข้าวก็ใช้ได้ดี เพราะเป็นบริเวณที่มีสารอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดีกว่าปลายฟางข้าว
- ปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาสับเป็นชิ้นเล็กๆแล้วตากแห้ง จอกแห้ง เป็นต้น
- เชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางที่ดีจะต้องไม่มีราหรือดอกเห็ดชนิดอื่นๆอยู่ปะปนอยู่ด้วย ถุงเชื้อเห็ดนั้นควรมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ด และหัวเชื้อเห็ดควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า ที่สำคัญจะต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง หัวเชื้อที่ได้มาควรเพราะภายใน 7 วัน
การเพาะเห็ดฟาง
การเพาะเห็ดฟางนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากในปัจจุบันจะเป็นการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เพราะมีวิธีทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้ก็หาได้ง่ายและผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ
วิธีการเพาะเห็ด
- นำฟางข้าวอัดใส่ไม้แบบและใส่ไส้นุ่น ไส้ฝ้ายหรือปุ๋ยมูลวัวแห้งลงไป เพื่อเป็นอาหารเสริม
- ใส่เชื้อเห็ดฟางและทำชั้นที่2 ชั้นที่3 เหมือนชั้นแรก ระยะห่างระหว่างกอง 6 นิ้ว จำนวนกอง/ไร่ 300 ถึง 400 กอง
- คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิดแล้วคลุมด้วยฟางอีกชั้นหนึ่ง
การดูแลรักษา
- หลังจากที่ปิดพลาสติกไว้ 3 วันแล้ว ควรเปิดให้อากาศร้อนภายในกองฟางระบายออกทุกวัน วันละครั้ง
- ควรดูแลเรื่องความสะอาด ทั้งในโรงเรือนและบริเวณรอบโรงเรือน หรือกองฟางที่เพาเห็ดไว้ เพื่อป้องกันปัญหามดปลวกและแมลงสาปมากัดแทะทำลายเชื้อเห็ด
- ควรเก็บฟางข้าวหรือวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดอย่าขึ้นรา
- ทำความสะอาดบริเวณรอบรอบกองเพาะ โรงเรือนเพาะเห็ดอยู่เสมอๆ วัสดุที่เหลือใช้จากการเพาะเห็ดแล้วควรนำไปทำปุ๋ย ไม่ควรกองทิ้งไว้
ระยะเวลาในการเก็บเห็ดฟาง
เมื่อเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆเกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดฟางต่อไปหลังจากนั้นประมาณเจ็ดถึง 10 วันจะเริ่มเก็บเห็ดได้ การที่เห็ดจะเติบโตเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับการเพาะและฤดูกาลด้วยฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็ว
ศัตรูพืชและการป้องกัน
- ศัตรูพืชที่สำคัญของเห็ดฟางได้แก่ ปลวก ไร มด แมลงสาป วิธีการแก้ไขโดยใช้สารเคมีเชฟวินโรยรอบรอบกองฟางห่างประมาณหนึ่งศอก ควรจะโรยสารเคมีประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มเก็บเห็ด ห้ามโรยภายในกองฟางที่กำลังเพาะเห็ด เพราะจะมีผลต่อการออกดอกและอาจเกิดสารพิษตกค้าง
- หากมีเหตุชนิดอื่นงอกขึ้นมาด้วยวิธีการแก้ไขก็คือ เก็บฟางข้าวไม่ให้โดนฝนหรือหากฟางข้าวนั้นมีราขึ้นให้นำฟางข้าวนั้นไปเผาทิ้งเสีย
ขอบขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมเกษตร https://esc.doae.go.th