อุปกรณ์เสริม …เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

อุปกรณ์เสริม …เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัว
ของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

ปัจจุบัน อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคยุคดิจิตอลไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนเมือง ประกอบกับการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น และราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตถูกลงสู่ระดับราคาที่ผู้บริโภคทุกระดับชั้นสามารถจับจ่ายได้ อันเนื่องมาจากการแข่งขันการทำการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่หลายราย ส่งผลให้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตขยายตัวเข้าสู่ตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้นและได้รับกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ความนิยมในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ย่อมเป็นส่วนผลักดันหลักที่ทำให้อุปกรณ์เสริมของอุปกรณ์เคลื่อนที่ดังกล่าวมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จึงทำให้ “ธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต ทั้งนี้ อุปกรณ์เสริมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) อุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) เช่น หูฟัง สายชาร์จแบตเตอรี่ หรือที่ชาร์จแบตเตอรี่สำรอง เป็นต้น และ 2) อุปกรณ์เสริมที่ไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics) เช่น ฟิล์มกันรอย เคส ซองกันน้ำ หรืออุปกรณ์แฟชั่นตกแต่งอื่นๆ เป็นต้น

อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม

แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม: ในปัจจุบัน อุปกรณ์เสริมยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการเติบโตของการใช้งานในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต อีกทั้ง ราคาของอุปกรณ์เสริมต่างๆ มีหลากหลายระดับและมีราคาเฉลี่ยที่ไม่สูงมากนัก และช่องทางการจัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมก็มีอยู่อย่างหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าตามแหล่งช้อปปิ้งต่างๆ ร้านค้าออนไลน์ หรือแม้แต่ร้านค้าแผงลอยขนาดเล็กตามแหล่งชุมชนหรือสถานที่ทำงานต่างๆ เป็นต้น ส่งผลให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเลือกจับจ่ายสินค้าได้ง่ายตามความต้องการ

รูปแบบการให้บริการของร้านขายอุปกรณ์เสริม: รูปแบบการให้บริการจะมีอยู่ 2 รูปแบบหลักๆ คือ

1. การให้บริการขายอุปกรณ์เสริมแบบครบวงจร โดยมีทั้งสินค้าในรูปแบบที่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าจะมีขนาดใหญ่และมักจะตั้งอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ คอมมูนิตี้มอลล์ หรือร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ร้านค้าบางแห่งก็จะมีให้บริการรับซ่อมอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รวมถึงการลงแอพพลิเคชั่นต่างๆ อีกด้วย

2.การให้บริการขายอุปกรณ์เสริมแบบไม่ครบวงจร โดยส่วนใหญ่แล้ว สินค้าที่ขายอาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งร้านค้าจะมีขนาดปานกลางถึงขนาดเล็ก และอาจเป็นร้านค้าออนไลน์หรือร้านค้าแผงลอยซึ่งมักจะตั้งอยู่ตามสถานที่ช้อปปิ้งในแหล่งชุมชนหรือสถานที่ทำงานของบริษัทต่าง ๆ เช่น ตลาดนัด หรือทางเท้า เป็นต้น

อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลักจะอยู่ในกลุ่มผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

สภาวะการแข่งขันในตลาด: สำหรับตลาดอุปกรณ์เสริมในประเทศไทยจะเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงมาก เนื่องจากอุปกรณ์เสริมต่างๆ เป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะอุปกรณ์เสริมที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเคส หรืออุปกรณ์แฟชั่นตกแต่งต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยมีโอกาสเข้ามาทำการผลิตหรือจัดจำหน่ายในตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ที่พร้อมจะทำการผลิตสินค้าในราคาที่ต่ำกว่า ส่งผลให้อุปกรณ์เสริมในตลาดปัจจุบันมีให้เลือกเป็นจำนวนมากทั้งรูปแบบ ระดับราคา หรือแบรนด์ ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย อย่างไรก็ดี อุปกรณ์เสริมต่างๆ จะมีการแปรผันตามกระแสการเปิดตัวและความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในระยะเวลานั้นๆ ผู้ประกอบการจึงต้องอาศัยการปรับตัวและการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดีภายใต้โอกาสทางธุรกิจ ก็ยังมีความท้าทายแฝงอยู่สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์จุดอ่อน/ จุดแข็ง/ โอกาสและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม ดังนี้

อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

การลงทุนและโอกาสสำหรับธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม

สำหรับการลงทุนในธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม ผู้ประกอบการจะต้องทำการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมอันจะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ดังต่อไปนี้

สินค้าและบริการ: เนื่องด้วยสินค้าอุปกรณ์เสริมต่างๆ เป็นสินค้าที่มีการวางจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลาย โดยสินค้าชนิดเดียวกันก็จะมีรูปแบบและแบรนด์อย่างหลากหลาย และมีระดับราคาที่แตกต่างกัน จึงนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่จะต้องทำให้สินค้าของตนเองมีจุดเด่น และมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไป เช่น มีการออกแบบตกแต่งสินค้าให้มีความสวยงามเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตนเอง หรือมีการนำวัสดุที่มีความคงทนแข็งแรงมาใช้ในการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมควรมีการคาดการณ์ถึงกระแสความนิยมในรุ่นของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแบรนด์ต่างๆ เพื่อทำการผลิตอุปกรณ์เสริมให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

ทำเลที่ตั้ง: แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1) ในกรณีที่เป็นร้านขายอุปกรณ์เสริมขนาดใหญ่ถึงขนาดกลางแบบครบวงจรที่มีทั้งอุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควรตั้งอยู่ตามแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีตามห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือร้านค้าออนไลน์ตามโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เป็นต้น

2) ในกรณีที่เป็นร้านขายอุปกรณ์เสริมขนาดกลางถึงขนาดเล็ก รวมถึงร้านค้าแผงลอยที่มีการขายอุปกรณ์แบบไม่ครบวงจร โดยอาจจะมีการขายอุปกรณ์เสริมที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่ไม่ใช่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรตั้งอยู่ตามแหล่งช้อปปิ้งหรือตามแหล่งชุมชนหรือสถานที่ทำงานต่างๆ ที่มีผู้คนพลุกพล่าน อาทิเช่น คอมมูนิตี้มอลล์ ตลาดนัด หรืออาจจะตั้งในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ตามโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เป็นต้น

การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เนื่องจากตลาดขายอุปกรณ์เสริมของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีการแข่งขันที่สูง ประกอบกับเป็นสินค้าที่มีอายุอยู่ในตลาดสั้น เพราะแปรผันไปตามอุปกรณ์ไอทีอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อออกรุ่นใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการผู้ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจะต้องมีการวางแผนการผลิตและบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ โดยทำการคาดการณ์ถึงกระแสความนิยมของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในรุ่นต่างๆ และต้องทำการติดตามความเคลื่อนไหวของการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการออกรุ่นใหม่ๆ ของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่เสมอ เพื่อให้สินค้าอุปกรณ์เสริมที่ผลิตออกมาหรือซื้อมาเพื่อจะจำหน่ายนั้น สามารถจำหน่ายออกหมด หรือมีต้นทุนสำหรับสินค้าคงคลังน้อยที่สุด

ช่องทางการทำการตลาด: แบ่งลักษณะการทำการตลาดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตโดยสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง ซึ่งอาจเป็นผู้จัดจำหน่ายเองด้วยการเปิดร้านขายอุปกรณ์เสริมตามแหล่งช้อปปิ้งต่างๆ หรือร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง หรืออาจจะจัดหาตัวแทนการจัดจำหน่ายก็เป็นได้ ควรทำการตลาดผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณา หรือสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น เพื่อให้สินค้าเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคให้มากที่สุด

2) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดจำหน่าย (ซื้อมา-ขายไป) ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะมีคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเป็นจำนวนมาก และสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดส่วนใหญ่ก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน ดังนั้น การทำการตลาดด้วยการจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดความน่าสนใจของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาสินค้า หรือการขายพ่วงกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ อาทิเช่น ขายที่ชาร์จแบตเตอรี่สำรองพร้อมสาย USB หรือขายเคสพร้อมของตกแต่งแฟชั่นต่างๆ เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม

การประกอบธุรกิจขายอุปกรณ์เสริมให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

 อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

 อุปกรณ์เสริม ...เติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต (Start-Up Business)

 บทสรุป

“ธุรกิจขายอุปกรณ์เสริม” เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับแรงผลักดันหลักมาจากการเติบโตของการใช้งานในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ยังคงได้รับกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการในอุปกรณ์เสริมของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอยู่ในระดับสูงตามไปด้วย ประกอบกับ ราคาของอุปกรณ์เสริมต่างๆ มีหลากหลายระดับโดยมีราคาเฉลี่ยที่ไม่สูงมากนัก ทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปสามารถเลือกจับจ่ายสินค้าได้ง่ายตามความต้องการ

อย่างไรก็ดี ตลาดขายอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีการแข่งขันสูง กล่าวคือ มีกลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีต้นทุนไม่สูงมากนัก อีกทั้ง สินค้าก็มีให้เลือกหลากหลายทั้งระดับราคา รูปแบบ หรือ แบรนด์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ให้ครบรอบด้านเพื่อที่จะใช้จุดแข็งและโอกาสทางธุรกิจที่มีให้เกิดประโยชน์ ในขณะที่ต้องขจัดจุดอ่อนหรือหาทางแก้ไขและปรับตัวกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น อันจะได้มาซึ่งกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจขายอุปกรณ์เสริมให้ประสบความสำเร็จ

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล
ตลาดอุปกรณ์ไอทีปีม้า
(ที่มา: นสพ. ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 30 มีนาคม 2557)
อุปกรณ์เสริม อีกด้านของไอทีที่ยังโต
(ที่มา: นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 5 สิงหาคม 2556)
อุปกรณ์เสริมโตตามสมาร์ทดีไวซ์ ตลาดแบตเตอรี่ทดแทนซบเซา-เพาเวอร์แบงก์บูม
(ที่มา: นสพ. ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2556)

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *