คุณ Adrian Shepherd ได้แชร์ประสบการณ์จากการอยู่ญี่ปุ่นมา 20 ปี ถึงเคล็บลับในความสำเร็จของชาวญี่ปุ่น ที่เราสามารถเอามาปรับใช้ได้ญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์ แต่เมื่อไรก็ตามที่คุณก้าวเท้าไปยังประเทศญี่ปุ่น คุณจะรู้สึกได้เลยว่า ที่นั่นไม่ได้มีแค่วัดสวยๆกับซูชิ แต่เป็นประเทศเราสามารถมองเห็นที่อดีตและอนาคตได้ในที่เดียว อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ สามารถเข้ามาอยู่ในสถาปัตยกรรมหรืออาคารโบราณต่างๆ ได้อย่างกลมกลืน ผมใช้ชีวิตอยู่ญี่ปุ่นมา 20 ปี จึงได้เรียนรู้ว่าการทำธุรกิจที่ญี่ปุ่นเขาทำกันอย่างไร และ นี่คือ 4 เคล็ดลับที่ผมได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจให้เติบโต
1. ความน่ารัก มักจะเวิร์ค
ขณะที่ญี่ปุ่นนั้นถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของโลก แต่ในทุกวันนี้นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นที่รู้จักอย่างมากไม่แพ้กันนั่นก็คือ วัฒนาธรรมและการ์ตูนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Pokemon, Hello Kitty และอื่นๆ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ
ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 Mr.Donuts ได้ผสมผสาน Pokemon เข้าไป ทำออกมาเป็นรูป Pokemonต่างๆ และประสบความสำเร็จอย่างมาก ขายหมดทุกวัน โดยเฉพาะในกลุ่มแฟนๆที่คลั่งไคล้ตัวการ์ตูนเมืองต่างๆ เช่น คุมาโมโตะในคิวชู ได้สร้างน้องหมีดำ หรือ คุมะมง ที่เรารู้จักกันในปี 2010 และ สามารถสร้างยอดขายที่น่าประหลาดใจได้ถึง 100 พันล้านเยน (มากกว่า 900 ล้านดอลลาร์) ภายในปี 2015
ผมยอมรับว่าผมเคยคิดว่าการเอาตัวการ์ตูนน่ารักๆ หรือ Mascot มาใช้สื่อสาร เป็นตัวแทนองค์กรนั้นเป็นเรื่องไร้สาระ ทำไปเพื่อ ? แต่นั่นเป็นเพราะผมมองไม่เห็นความอัจฉริยะ ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การสร้างการจดจำ ทุกๆคนมีความเป็นเด็กอยู่ในตัว สามารถดึงดูดคนได้ทุกวัย เคยมีลูกค้าชาวยุโรปคนหนึ่งถามผมว่า รู้จักใครที่สร้างโลโก้ให้กับบริษัทเขาในสาขาที่ญี่ปุ่นได้บ้าง ? ผมก็ได้ส่งผลงานของศิลปินที่รู้จักให้เขาดู ตอนนั้นผมคิดในใจว่างานมันดีมาก แต่สิ่งที่ลูกค้าชาวยุโรปคนนั้นตอบกลับมาคือ “ it’s too childish หรือ งานดูเด็กเกินไป ” ซึ่งเป็นเรื่องปกติของชาวยุโรป เพราะวัฒนธรรมของเขา แตกต่างจากคนญี่ปุ่น ผมก็ได้แนะนำว่า คนญี่ปุ่นนั้นชื่อชอบการ์ตูน และ ความน่ารักเป็นอย่างมาก และ มีบทพิสูจน์มาแล้วว่าหลายๆ ตัวการ์ตูนที่มีความน่ารัก เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้องค์กร หรือ สินค้าขายได้
(Key Takeaway : การเข้าใจพฤติกรรม วัฒนธรรม และ ความชอบของลูกค้า)
2. ปริมาณ มาก่อน คุณภาพ
ทุกวันนี้ ผู้ใหญ่หลายๆ คนยังให้ความสำคัญกับการทำงานมาก ส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างหนัก บางคนถึงขั้นไม่ได้พบเจอหน้าคนในครอบครัว หวังเพื่อให้คนในครอบครัวอยู่สุขสบาย มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่คนรุ่นใหม่นั้นแตกต่างออกไป พวกเขาต้องการมีความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ให้ความสำคับกับเวลาส่วนตัวมากขึ้น (นอกเหนือจากเวลางาน) แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่ไม่สนใจเรื่องนี้ จนถูกตั้งชื่อว่า Black Company หมายถึงบริษัทที่ใช้งานพนักงานอย่างหนัก ทำ Overtime โดยที่ไม่จ่ายเงินเพิ่ม
ครั้งนึงผมเคยเจอลูกค้าที่ถูกไล่ออกเนื่องจากการเลิกงานตรงเวลา เธอทำงานเก่ง แต่พวกเขาอ้างว่าเธอเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสำหรับผู้มาใหม่ จึงได้ไล่เธอออก ความคิดของบริษัทตอนนั้นคือ เขาให้ความสำคัญกับปริมาณมาก่อนคุณภาพ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ไม่มีพนักงานคนอื่นๆ สามารถมาทำงานตรงนั้นแทนเธอได้ ส่งผลให้คนอื่นๆยิ่งเลิกงานช้าลง
( Key Takeaway : การทำงานหนัก เลิกงานช้า ไม่ได้เป็นตัวกำหนดคุณภาพในการทำงาน )
3. สนใจในรายละเอียด
ความละเอียดเป็นปกติของคนญี่ปุ่น ถ้าให้ยกตัวอย่าง ซูชิจะเห็นภาพชัดที่สุด เมื่อพูดถึงซูชิหลายๆคนอาจคิดว่าเป็นอะไรที่ทำง่ายสุดๆ แค่ข้าวและปลาดิบประกบติดกัน แต่เมื่อผมรู้มาว่ากว่าจะเป็นหัวหน้าเชฟซูชิได้นั้นใช้เวลาถึง 10 ปี แสดงถึงความยากลำบาก ประสบการณ์ และความละเอียดในการทำงาน
ผมมีโอกาสได้ไปดูงานของบริษัทในญี่ปุ่นมา และตกใจอย่างมากกับความละเอียดของเขา กว่าจะผลิตสินค้าได้แต่ละตัว เขาต้องคิดหลายสูตรมาก ไม่ว่าจะส่วนผสม เนื้อสัมผัส เพื่อให้สินค้านั่นออกมาดีที่สุด ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเวลาเราทำงานกับคนญี่ปุ่น เราถึงรู้สึกว่าเขาเก่งมากๆ
(Key Takeaway : ละเอียดเข้าไว้ คิดให้รอบคอบ)
4. กฎไม่ได้มีไว้แหก
ถ้าคุณอยู่ญี่ปุ่นมาสักพักนึง คุณจะต้องเจอประเด็นนี้แน่นอน ที่ว่ากฏไม่ได้มีไว้แหก ไม่มีการต่อรอง ไม่มีการถกเถียงกัน ซึ่งบางครั้งมันก็น่าหงุดหงิดสำหรับคนต่างวัฒนธรรม ที่ถูกสอนให้ทุกอย่างสามารถต่อรอง และปรับเปลี่ยนได้ เรื่องบางเรื่องเราอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่คนญี่ปุ่นคือไม่ได้เลย แถมยังปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่เข้าโรงเรียน มีกฏระเบียบ และข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนที่เป๊ะมาก
(Key Takeaway : ทำตามระเบียบไว้ จะได้ไม่เกิดปัญหา)
เรียบเรียงโดย BLOG.SCGLogistics
อ้างอิงบทความจาก คุณ Adrian Shepherd ใน BusinessInsider