เจาะเทรนด์ธุรกิจความงาม ปี 2018 โดย TCDC

ธุรกิจความงาม

เทรนด์ธุรกิจความงาม01
เทรนด์ธุรกิจความงาม01

เจาะเทรนด์ธุรกิจความงาม ปี 2018 โดย TCDC

  • Inherent beauty แบคทีเรียหน้าใส

มีการประเมินว่ามูลค่าของตลาดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในสหรัฐอเมริกา จะมีมูลค่าสูงถึง 1 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019 และกลายเป็นหนึ่งในส่วนแบ่งตลาดที่มากที่สุดในอุตสาหกรรมด้านความสวยงาม โดยผู้เล่นคนใหม่ในสนามจะเข้ามาท้าทายแบรนด์เจ้าเดิมในตลาด โดยใช้ “แบคทีเรีย” เป็นอาวุธสำคัญ

คำว่าไมโครไบโอติกส์ (Microbiotic)ที่แปลว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและอนาคตใหม่ของเทรนด์ความสวยงามในปีหน้า การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้ทำให้ต้นทุนด้านความสวยงามนั้นไม่ได้หยุดอยู่ที่วัตถุดิบที่จับต้องได้ แต่ยังรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ระบบนิเวศของความสวยงามที่ทำหน้าที่ฟื้นฟูและสร้างสมดุลให้กับชีวนิเวศบนใบหน้า

ก่อนอื่นจะต้องทำความรู้จักกับคำว่าไมโครไบโอม (Microbiome) หรือกลุ่มรวมของจุลินทรีย์ในร่างกาย ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในเซลล์ร่างกายของมนุษย์ซึ่งมีจำนวนเป็นล้านล้านหน่วย ผลรายงานจากโครงการ Human Microbiome นักวิทยาศาสตร์ได้ประเมินตัวเลขของจำนวนเซลล์ของไมโครไบโอมทั้งในและนอกร่างกายของมนุษย์ พบว่ามีจำนวนเซลล์มากกว่า 10 เท่าของเซลล์มนุษย์ ซึ่งไมโครไบโอมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิทยาศาสตร์ความงามเริ่มต้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอมและสุขภาพผิว การศึกษาทำให้ค้นพบว่าสารเสริมชีวนะ (Probiotic) ที่อยู่ในอาหารอย่างโยเกิร์ตนมนั้น สามารถนำมาช่วยฟื้นฟูผิวให้ดีขึ้นได้ทั้งเรื่องของสิว โรซาเซียหรือสิวอักเสบ ริ้วรอย และความเสื่อมโทรมของผิวหน้าตามอายุ

ในวารสาร Cosmetic Science ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ ปี 2012 แสดงผลการศึกษาว่าสารละลายในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่มีแลคโบาซิลลัสจำนวน 5% ช่วยรักษาสิวได้ ยิ่งไปกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาการศึกษาเรื่องโลชั่นที่มีสารเสริมชีวนะที่ทำมาจากแบคทีเรีย ซึ่งได้มาด้วยการใช้ไมโครไบโอมของคนที่มีผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เพื่อนำมาต่อสู้กับสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส แบคทีเรียที่ทำ ให้ผิวหนังติดเชื้อ

“ครั้งหนึ่งผู้บริโภคเคยคิดว่าแบคทีเรียบนผิวหนังของพวกเขาเองนั้นอันตราย แต่ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนความคิดเหล่านี้” คำกล่าว จากเดวิด เทอร์เรลล์ (David Tyrrell) ในรายงาน Future of Facial Skincare 2017 ที่แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันแบคทีเรียบนผิวหนังนั้นเป็นผลดีต่อสุขภาพผิว ทั้งแบรนด์ต่างๆยังสามารถนำชุดความรู้ไปปรับประยุกต์กับการพัฒนาสินค้าในอนาคตได้อีกด้วย

La Roche-Posay เสนอขายในฐานะวัตถุดิบธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมดุลด้วยไมโครไบโอมให้กับผิวหน้าที่แห้งและขาดความชุ่มชื้นเป็นที่น่าพึงพอใจว่าผู้บริโภคในปัจจุบันก็เปิดใจรับแบคทีเรียที่ “เป็นมิตร” ต่อใบหน้า เพราะเชื่อในคุณสมบัติที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิวหน้าได้จริงรวมถึงยังทำงานร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติและส่วนผสมต่างๆ ที่อยู่ในสูตรของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้เป็นอย่างดี โดยที่ปรึกษานักวิจัยอย่าง นาวา ดายัน (Nava Dayan) เสนอข้อแนะนำให้นักวิทยาศาสตร์และนักผสมสูตรสำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เริ่มต้นให้ความสำคัญกับไมโครไบโอมและเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแบคทีเรียมีชีวิต มีจุลินทรีย์ตามธรรมชาติเป็นส่วนผสมเริ่มมีให้เห็นมากขึ้น แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากแบรนด์ขนาดเล็กหรือสตาร์ทอัพที่คัดสรรแบคทีเรียดีมาเป็นส่วนผสมหลักในครีมบำรุงและโลชั่น เพื่อโปรโมตสุขภาพผิวที่ดีกว่า เช่น บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในบาร์เซโลนา Greenaltech ที่ได้พัฒนาสารเสริมชีวนะจากสาหร่ายเซลล์เดียวเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าชื่อว่า Algaktiv ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบและลดจำนวนแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค หรือสตาร์ทอัพด้านความสวยงามที่ประสบความสำเร็จมากจากฝรั่งเศสอย่าง Gallinée ที่เข้าไปแทรกซึมการทำงานของแบคทีเรียบนใบหน้า เพื่อบำรุงแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บนผิวหน้าได้อย่างเต็มที่ แต่แบรนด์ใหญ่เองก็ไม่ปล่อยให้แบรนด์เล็กต้องเดินหน้าเพียงลำพังแบรนด์ใหญ่อย่าง Clinique,Elizabeth Arden หรือ Oskia ก็ขยับตัวลงมาเล่นในสนามนี้เช่นกัน นำทีมโดย L’Oréal ที่ตัดสินใจจดสิทธิบัตรให้กับสารสกัดชื่อ Vitreoscilla ที่ได้มาจากแบคทีเรีย โดยนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์แบรนด์

เทรนด์ธุรกิจความงาม02
เทรนด์ธุรกิจความงาม02
  • ธุรกิจความงาม Data-to-skin สวยได้ตามใจ เปลี่ยนให้ข้อมูลเป็นความสวยงาม

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดบริการและผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเฉพาะแต่ละบุคคล และจะเป็นเทรนด์ในปี 2018 ความสามารถในการผลิตสินค้าที่ทุกคนเป็นเจ้าของและจับจองได้ ด้วยนวัตกรรม AI และแชทบอทที่เข้ามาช่วยประมวลข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ตามเงื่อนไขและลักษณะเฉพาะของผิวหน้าแต่ละคน ลองดูตัวอย่างจาก HelloAva บริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยหนึ่งในนักข่าวจากนิตยสารบลูมเบิร์ก ซิกี้ โม (Siqi Mou) แพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้งานสร้างผลิตภัณฑ์ที่แสนจะเฉพาะเจาะจง ด้วยการส่งข้อความผ่านเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ และตอบชุดคำถามจำนวน 12 ข้อ พร้อมส่งรูปถ่ายเซลฟี่ใบหน้าตัวเองมาให้กับแชทบอทที่ชื่อ เอวา ระบบจะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับไปประมวลผลจากประเภทของผิวที่แตกต่างกันทั้ง 30 แบบ ก่อนจะส่งรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดจากฐานข้อมูลจำนวน 250 รายการมาให้ หรือธุรกิจสปาความงามที่ออกแบบโปรแกรมทรีตเมนต์ให้เหมาะสมกับสภาพผิว ด้วยการสแกนผิวหน้าด้วยแสงแบล็กไลต์ (Black Light) หลอดเปล่งรังสีอัลตราไวโอเลต เพื่อวินิจฉัยสภาพและลักษณะเฉพาะของผิว

ธุรกิจความงามวิเคราะห์ผิวง่ายๆ ด้วยแก็ดเจ็ตใกล้ตัว

แก็ดเจ็ตและแอพพลิเคชั่นจะกลายเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์สภาพผิว ทั้งเพื่อการวิจัยและป้องกันอันตรายที่อาจมาทำร้ายผิวโดยไม่รู้ตัว ผลงานล่าสุดจากซัมซุงกับแก็ดเจ็ตขนาดเล็กพกพาง่ายอย่าง S-Skin เครื่องวิเคราะห์สภาพผิวที่จะประเมินเรื่องของความชุ่มชื้น รอยแดง ปริมาณเมลานินในผิว ด้วยแสง LED ผู้ใช้สามารถเห็นผลได้แบบเรียลไทม์ผ่านแอพฯ ในโทรศัพท์มือถือ ทั้งยังมี Microneedle Patch แผ่นแปะสำหรับใต้ดวงตาและจุดบนหน้า ที่เป็นสารบำรุง ลดริ้วรอย เพิ่มความกระชับให้กับตำแหน่งที่ต้องการ หรืออย่างการเกิดขึ้นของ Lumini ที่เป็นขวัญใจของเหล่าเจนวายผู้ชอบเซลฟี่เป็นกิจวัตร เครื่องมือนี้จะช่วยวิเคราะห์ผิวเพียงผู้ใช้ถ่ายภาพเซลฟี่แล้วส่งข้อมูลเข้าแอพฯ ไม่ว่าจะเป็นรอยสิว ริ้วรอย หรือรอยแดงจากการอักเสบ จะถูกแสดงผลผ่านแอพฯ อย่างละเอียด พร้อมฟังก์ชั่นคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ทันการณ์

เทรนด์ธุรกิจความงาม03
เทรนด์ธุรกิจความงาม03

ธุรกิจความงามสวยทันทีทุกที่ทุกเวลา

แอพพลิเคชั่นแบบออน-ดีมานด์นั้นได้จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับเหล่าสาวๆ ในอเมริกาใต้และตะวันออกกลางที่ต้องการความสวยงามฉบับทันด่วน เมื่อมีความต้องการก็มีอุปทานตอบรับ ไม่ว่าจะเป็น Be Pretty แอพฯ สำหรับผู้ใช้ในชิลีและโคลอมเบีย กับฐานข้อมูลที่เปรียบเทียบและรีวิว ร้านทำ ผม สปา ฟิตเนส และการบริการจับจองบริการร้านต่างๆ คล้ายกับแอพฯสัญชาติบราซิล Singu ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการให้ผู้ใช้สามารถนัดวันและเวลารับบริการเสริมสวยถึงบ้าน หรือออฟฟิศ แอพฯ Spoilee จากซาอุดีอาระเบีย ที่ผู้ใช้สามารถค้นหาและจองบริการความสวยงามหรือทรีตเมนต์สปาได้ตามต้องการตัวอย่างทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่รีบเร่งของผู้หญิง แอพพลิเคชั่นแบบออน-ดีมานด์นี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นทางลัดใหม่ให้ทุกความสวยเป็นจริงได้ทุกที่ทุกเวลา

ข้อมูลด้านเวลาและสถานที่จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสวยเสกได้จริงดั่งมีเวทมนตร์ แบรนด์ชั้นนำอย่าง Estee Lauder (รวมถึงแบรนด์ Clinique และ Bobbi Brown) ก็ตอบรับความต้องการของคุณผู้หญิงยุคใหม่นี้เช่นกันด้วยการนำเสนอบริการสวยทันใจใน 60 นาที เดลิเวอรี่ผลิตภัณฑ์ที่สั่งผ่านเฟสบุ๊คเมสเซนเจอร์ ภายใน 60 นาทีในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยจัดส่งทันใจทั่วกรุงลอนดอน คริส กู้ด (Chris Good) ประธานบริหาร Estee Lauder กล่าวว่า“พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันทำให้เราต้องปรับตัวเข้ากับความต้องการในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของเราแบบทันที” เช่นเดียวกับแอพฯ Nomi ที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทำงาน ที่ต้องเดินทางไปเมืองต่างๆ ทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึงช่างแต่งหน้าและทำผมฝีมือดีประจำเมือง โดยสามารถจองให้เข้ามา บริการได้ถึงห้องพักและเก็บค่าใช้จ่ายรวมกับค่าห้องพักในโรงแรมได้ในคราวเดียว

ขอบคุณข้อมูลธุรกิจความงามจาก E-Book เจาะเทรนด์โลก 2018 โดย TCDC

แสดงความคิดเห็น