ขั้นตอนเปิดร้านขาย”ถังหูลู่”ง่ายๆ อาชีพเสริมนักเรียน นักศึกษาช่วงปิดเทอม

ถังหูลู่ ของว่างทานเล่นที่ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานั้นกระแสแรงเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าบรรดาเด็กๆ นักเรียน วัยรุ่น ต่างก็พากันกรูเข้าหาร้านขายถังหูลู่ จะด้วยเพราะความนิยมหรือความชอบในรสชาติความอร่อย เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสินค้าที่กำลังฮิตและหากใครที่กำลังอยากจะขายสินค้าตามกระแสต้องรีบกระโดดคว้าโอกาสในการสร้างเงิน สร้างกำไร ก่อนที่จะแสความนิยมรับประทานถังหูลู่นั้นจะซาลงไปเสียก่อน

ถังหูลู่ คืออะไร ?

ถังหูหลู หรือ ถังหูลู่ คำว่าถังในภาษาจีนหมายถึงน้ำตาล ส่วนคำว่าหูลู่หมายถึงน้ำเต้า
เป็นขนมขบเคี้ยวหรือของหวานของคนจีน เรามักจะเห็นในหนังจีนย้อนยุค ที่พระเอกมักจะซื้อให้นางเอกรับประทานอยู่บ่อยๆ ลักษณะจะเป็นผลไม้เคลือบน้ำตาลแล้วนำมาเสียบไม้ เสียบต่อๆกันเหมือนทรงน้ำเต้า จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกดังกล่าว

อยากขายถังหูลู่ ต้องทำอย่างไร ?

สำหรับผู้ที่กำลังสนใจอยากมีอาชีพ หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังมองหารายได้เสริม ทำขายหลังเลิกเรียนหรือทำขายในช่วงของวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เราได้รวบรวมเอารายละเอียดวิธีการเริ่มต้นอาชีพขายถังหูลู่เบื้องต้นมาให้ท่านได้นำไปประกอบการลงทุนเปิดร้านเล็กๆของท่านดังต่อไปนี้

วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้เบื้องต้น

  • ผลไม้ตามใจชอบ เช่น องุ่น ลูกพลับ พุทรา สตรอว์เบอร์รี เป็นต้น
  • น้ำตาลทราย
  • น้ำเปล่า
  • ไม้เสียบ

วิธีทำถังหูลู่ สูตรที่ 1 

อุปกรณ์และวัตถุดิบ

  • สตรอว์เบอร์รี่สด 1 กล่อง
  • องุ่นเขียวไซน์มัสแคท 1 พวง
  • น้ำตาลทราย 400 กรัม
  • น้ำเปล่า 100 กรัม
  • แบะแซ 60 กรัม
  • ไม้เสียบปลายแหลม

วิธีทำ

  • เตรียมผลไม้ โดยเด็ดองุ่นออกจากพวงองุ่น ส่วนสตรอว์เบอร์รี่ ให้เด็ดกลีบเลี้ยงสีเขียว เหลือแต่จุกด้านบนไว้
  • นำผลไม้ทั้ง 2 ชนิดไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วซับให้แห้ง จากนั้น เสียบไม้ปลายแหลมเตรียมไว้
  • ทำน้ำตาลเคลือบ โดยใส่น้ำเปล่าลงไป ตามด้วย น้ำตาลทราย จากนั้น เปิดไฟแรง ต้มให้น้ำเดือด
  • พอน้ำเดือดดีแล้ว ให้ใส่แบะแซลงไป ไม่ต้องคน จากนั้น ต้มไปเรื่อย ๆ ให้น้ำเดือด อยู่ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส (ควร
  • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ เพื่อไม่ให้ต้มนานเกินไป จนน้ำเชื่อมกลายเป็นคาราเมล)
  • เมื่อร้อนได้ที่แล้ว ให้ปิดไฟ เช็กว่าน้ำตาลเคลือบได้ที่หรือยัง โดยการหยดน้ำตาลเคลือบลงบนน้ำเย็นจัด ถ้าหนดแล้ว จับตัว
  • เป็นก้อนผลึก แสดงว่าใช้ได้ ให้ตักน้ำตาลเคลือบ เคลือบองุ่นและสตรอว์เบอร์รี่ ให้ทั่ว เป็นอันเสร็จ

ขอขอบคุณสูตรจาก SGE x เชฟเจิน

วิธีทำถังหูลู่ สูตรที่ 2

ส่วนผสม สตรอเบอร์รี่เคลือบน้ำตาล

  • น้ำตาลทรายขาว 250 g
  • น้ำสะอาด 80 g
  • เลม่อน 1-2 ชิ้น (ใช้มะนาวเขียวได้)
  • สตรอเบอร์รี่สด
  • (เลม่อนหรือมะนาว ช่วยลดการตกตะกอนของน้ำตาล)

วิธีทำ สตรอเบอร์รี่เคลือบน้ำตาล

  • นำสตรอเบอรี่สดล้างและเช็ดให้แห้ง จากนั้นนำมาเสียบไม้ทิ้งไว้
  • ใส่น้ำตาลทรายขาวและน้ำลงในหม้อ ตั้งเตาเปิดไฟกลาง นำเลม่อนหั่นบาง 1-2 ชิ้นใส่ลงไป ระหว่างที่ต้มไม่ต้องกวน ให้ใช้
  • วิธีวนก้นหม้อนิดหน่อยพอ
  • เมื่อน้ำเชื่อมเริ่มเป็นสีน้ำตาล ให้นำเลม่อนออก แล้วต้มต่อจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ได้สีที่ชอบแล้วจึงปิดไฟ
  • นำสตรอเบอรี่เสียบไม้ที่เตรียมไว้ลงจุ่มน้ำเชื่อม ทำต่อไปเรื่อยๆ จนหมด (หากน้ำเชื่อมแข็งตัวให้เปิดไฟอุ่นน้ำตาลจะละลายจนเป็นน้ำเชื่อมอีกครั้ง)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก FB : Pimmy ชวนกินของอร่อย
Youtube : PIMMY TASTY

คำแนะนำเพิ่มเติม

ความสดของผลไม้ เนื่องจากผลไม้นั้นช้ำ หรือเสียได้ง่าย ยิ่งอยู่ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงความสดก็จะยิ่งน้อยลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเก็บรักษาผลไม้ให้คงความสดอยู่ได้นาน นอกจากการแช่ในตู้เย็นแล้ว อาจจะเพิ่มด้วยการเก็บใส่กล่องสูญญากาศ ถุงกล่องสูญญากาศ หรือถุงเก็บความเย็นสำหรับผักและผลไม้ก็ได้เช่นกัน เพื่อรักษาอุณภูมิและยืดระยะรักษาความสดของผลไม้ให้นานขึ้น

อย่าให้น้ำตาลเป็นก้อน หรือตกผลึกจะดูไม่สวยไม่น่ารับประทาน การที่น้ำตาลเกาะตัวกันเป็นก้อนเวลาเคลือบ สาเหตุมาจากการที่เคี้ยวน้ำตาลยังไม่ได้ที่ หรือน้ำตาลยังไม่ผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันจนกลายเป็นน้ำเชื่อมนั่นเอง วิธีการแก้ปัญหาก็คือให้รอจนน้ำตาลละลายได้ที่และอย่ารีบนำไปเคลือบผลไม้ทันทีรอให้น้ำเชื่อมเซ็ทตัวสักครู่ หรือเติมคอร์นไซรัป หรือ กลูโคสไซรัป (แบะแซ) ลงไปด้วย จะช่วยชะลอน้ำเชื่อม ให้ตกผลึกได้ช้าลง

เพิ่มความหลากหลาย นอกจากการเคลือบด้วยน้ำเชื่อมแบบธรรมดาแล้ว ก็อาจจะเพิ่มความน่าสนใจหรือความแปลกใหม่ลงไปด้วย เช่น เคลือบช็อคโกแลต เคลือบรสสตรอว์เบอรี่ เป็นต้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าและสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น

กะปริมาณให้พอเหมาะ ดูให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายด้วย หากเลือกเป็นกลุ่มเด็กๆ วัยรุ่น ปริมาณ 5 ลูกต่อไม้เป็นปริมาณที่กำลังดี ทั้งนี้ต้องพิจารณาด้วยว่าผลไม้ที่นำมาทำถังหูลู่นั้นมีขนาดใหญ่หรือไม่ หากลูกใหญ่ก็อาจจะลดปริมาณลง เพราะเด็กๆอาจจะรับประทานได้ไม่หมด

แสดงความคิดเห็น