ร้านเบียร์วุ้นสถานที่ให้ความบันเทิงในยามค่ำคืน การได้นั่งจิบเบียร์เย็นๆไปพร้อมๆกับฟังเพลงสบายๆ ช่างเป็นช่วงเวลาที่แสนจะสุข ร้านเบียร์วุ้นที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ และได้รับความนิยมทั้งในกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มวัยทำงาน
สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะลงทุนเปิดร้านเบี้ยร์วุ้น และกำลังมองหาข้อมูลในการเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นตอนการขอใบอนุญาต และงบการลงทุนเบื้องต้นต่างๆ เราได้รวบรวมเบื้องต้นมาให้ท่านนำไปประกอบการตัดสินใจลงทุนดังนี้
ขั้นตอนจดทะเบียนและขอใบอนุญาต
1. จดทะเบียนพาณิชย์ สามารถไปจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลทุกจังหวัด
2. ขอใบอนุญาตเปิดสถานที่บริการ หลังจากที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์แล้วก็นำใบจดทะเบียนพาณิชย์ไปติดต่อขออใบอนุญาตเปิดสถานบริการ โดยติดต่อที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอทุกจังหวัด
3. ขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ติดต่อขออนุญาตได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือ ยื่นขออนุญาตผ่านระบบออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพสามิต ลิ้งค์นี้ >> https://www.excise.go.th
เอกสารใช้จดทะเบียนพาณิชย์
- แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ทพ.) รายละเอียดเพิ่มเติมได้ในลิงค์นี้ >> https://www.dbd.go.th
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)
- กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นเจ้าบ้าน ให้แสดงทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน เว้นแต่มิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
- หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ หรือสำเนาสัญญาเช่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
- แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
เอกสารขออนุญาตจำหน่ายสุรา
- แบบฟอร์มคำขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบบ สยพ.1 ดาวน์โหลดได้ในลิงค์นี้ >> https://edweb.excise.go.th/eform
- บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ยื่นขออนุญาต
- หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
- กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า
- แผนที่ตั้งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเช่าพื้นที่)
เปิดร้านเบียร์วุ้น ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
- ค่าเช่าร้าน ประมาณ 5,000 – 25,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านและทำเลขาย)
- ค่าตู้แช่เบียร์วุ้น ประมาณ 10,000 – 20,000 บาท/ตู้
- ค่าเครื่องดื่ม (เบียร์) ประมาณ 20,000 บาท
- ค่าอาหารทานเล่นต่างๆ ประมาณ 5,000 บาท
- ค่าจ้างนักดนตรี ประมาณ 1,000 – 2,000 บาทต่อวัน
- ค่าน้ำประมาณ 500 บาท/เดือน
- ค่าไฟประมาณ 5,000 บาท/เดือน
- ค่าจ้างพนักงาน ประมาณ 9,000 – 13,000 บาทต่อคน
- ค่าอุปกรณ์เปิดร้าน เช่น โต๊ะ-เก้าอี้ แอร์ และค่าตกแต่งร้านอื่นๆ ประมาณ 35,000 – 50,000 บาท
- เงินหมุนเวียนในร้าน ประมาณ 20,000 บาท
งบประมาณดังกล่าวเป็นเพียงการคำนวนเบื้องต้นโดยอิงจากราคากลาง ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มหรือลดงบประมาณได้ตามความเหมาะสมและสัมพันธ์กับขนาดของร้านและทำเลขายได้ตามต้องการ
คำนวณราคาขายอย่างไร?
ราขายเบียร์วุ้นนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีราคาที่แพงกว่าเบียร์ธรรมดา โดยเฉลี่ยแล้วราคาจะแพงขึ้นประมาณ 3 – 5 บาท เนื่องจากต้องบวกต้นทุนสำหรับตู้แช่และค่าไฟที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากคำนวณราคาขายเบียร์วุ้นต่อขวดเบื้องต้นจะได้ดังนี้
ราคาต้นทุน
- เบียร์ช้าง (620ML) ลังละ 589 บาท คิดเป็น ขวดละ 49 บาท
- เบียร์ลีโอ (630ML) ลังละ 614 คิดเป็น ขวดละ 51 บาท
- สิงห์ (630ML) ลังละ 676 บาท คิดเป็น ขวดละ 56 บาท
ราคาขายปลีกและเมื่อเป็นเบียร์วุ้น
- เบียร์ช้าง (620ML) ขวดละ 56 บาท คิดเป็น 56+3 = 59 บาท/ขวด เมื่อขายเป็นเบียร์วุ้น
- เบียร์ลีโอ (630ML) ขวดละ 58 บาท คิดเป็น 58+3 = 61 บาท/ขวด เมื่อขายเป็นเบียร์วุ้น
- สิงห์ (630ML) ขวดละ 63 บาท คิดเป็น 63+3 = 66 บาท/ขวด เมื่อขายเป็นเบียร์วุ้น
หมายเหตุ คิดส่วนต่างเพิ่มเฉลี่ย 3 บาท เมื่อขายเป็นเบียร์วุ้น
กำไรเฉลี่ย (คิดจากตู้บรรจุเบียร์วุ้นได้ 120 ขวด)
ต่อไปนี้จะขอคำนวณ 1 ตัวอย่างจากเบียร์ทั้ง 3 ยี่ห้อ โดยจะเลือกนำเอาเบียร์ลีโอมาคิดคำนวณ จะได้ดังนี้
- เบียร์ลีโอ ต้นทุนขวดละ 51 บาท ขายเบียร์วุ้น 61 บาท คิดเป็นกำไรต่อขวด 11 บาท
- หากขายได้ 120 ขวด คิดเป็น ( 120X11 = 1,320 บาท) *หักต้นทุนแล้ว
สรุป กำไรต่อ 120 ขวดสำหรับเบียร์ลีโอจะอยู่ที่ 1,320 บาท ซึ่งอาจต้องไปนำไปหักค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นด้วย เช่น ค่าไฟ ซึ่งคิดเป็นตัวเลขกลมๆหักค่าไฟวันละ 20 บาท กำไรสุทธิ 1,300 บาท นั่นเอง ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวเป็นการคำนวนเบื้องต้นเท่านั้น ในแต่ละวันผุ้ประกอบการอาจสามารถขายได้มากกว่า 120 ขวดก็เป็นได้ กำไรที่ได้ก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คำนวณไว้นี้