ปลาเผาเกลือจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดสุดแซ่บ เมนูขายดีที่สามารถรับประทานกันได้ทั้งครอบครัว และนับว่าเป็นเมนูทำเงินที่สามารถขายได้และขายดีตลอดทั้งปี อีกช่องทางสร้างอาชีพที่หลายคนเลือกกับการขายปลาเผา ด้วยวิธีการขั้นตอนเปิดร้านที่ไม่ยุ่งยากบวกกับเป็นเมนูอาหารที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ไม่ยาก
สำหรับท่านผู้ประกอบการ ผู้เริ่มต้นธุรกิจหรือท่านที่กำลังมองหาอาชีพเสริม สร้างรายได้ และกำลังอยากจะลงทุนเปิดร้านขายปลาเผา ปลาเผาย่างเกลือ ลงทุนเปิดร้านเล็กๆ ขายตามตลาดนัด ย่านชุมชนต่างๆ เราได้รวบรวมข้อมูลการเปิดร้านขายปลาเผา มาให้ท่านได้นำไปพิจารณาลงทุนดังนี้
ขั้นตอนเปิดร้านขายปลาเผา
ก่อนอื่นผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับการเริ่มต้นอาชีพขายปลาเผา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาทำเลขาย งบการลงทุน แหล่งซื้อหาวัตถุดิบ ตลอดจนสูตรน้ำจิ้มรสเด็ดและกลยุทธ์ในการขาย เพื่อให้การประกอบอาชีพขายปลาเผานั้นสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นอย่างมีกำไร ดังคำอธิบายเพิ่มเติมนี้
- ทำเลขาย – ทำเลที่เหมาะสมในการขายปลาเผา หากเป็นตลาดนัด ให้เน้นตลาดนัดกลางคืน ที่มีการเปิดขายสินค้ากันในช่วงเย็นไปจนจนถึงช่วงดึก เนื่องจากปลาเผานั้นเป็นเมนูที่นิยมรับประทานกันเป็นมื้อค่ำ หรือรับประทานเป็นกับแกล้ม
- งบประมาณ – ลงทุนเปืดร้านเล็กๆเบื้องต้น เน้นขายแบบซื้อกลับบ้าน จะเป็นการประหยัดต้นทุนอุปกรณ์หน้าร้านต่างๆ ทั้งโต๊ะเก้าอี้ ของแต่งร้าน และลดภาระการเช่าพื้นที่ขายขนาดใหญ่ เพราะหาเปิดร้านปลาเผาแบบให้นั่งรับประทานที่ร้าน จำเป็นจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการเช่าร้านที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่
- แหล่งซื้อวัตถุดิบ – วัตถุดิบที่สำคัญในการขายปลาเผานั่นก็คือ “ปลา” โดยทั่วไปจะนิยมใช้ปลาทับทิมหรือปลานิลในการทำมาเผาหรือย่างเกลือ การมีแหล่งซื้อวัตถุดิบที่ดี จะทำให้ง่ายต่อการสต็อกวัตถุดิบต่างๆ เราสามารถกะเกณฑ์หรือกำหนดเวลาที่จะต้องซื้อวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำ เมื่อเรามีแหล่งซื้อขายที่แน่นอนอยู่แล้ว
- น้ำจิ้มรสเด็ด – สิ่งสำคัญนอกเหนือจากปลาแล้วก็คือน้ำจิ้มสูตรพิเศษที่จะต้องมีรสชาติจัดจ้านถึงใจ เพราะการรับประทานปลาเผาให้อร่อยนั้นน้ำจิ้มคือสิ่งที่ต้องคู่กัน เพื่ออัธรสในการรับประทาน
งบการลงทุนขายปลาเผา
- ปลาทับทิม ราคาประมาณ 80 – 90 ต่อกิโลกรัม
- ปลานิล ราคาประมาณ 50 – 58 ต่อกิโลกรัม
- ผักต่างๆ ใช้งบประมาณ 300 – 500 บาท
- เกลือป่นหยาบ ราคาประมาณ 20 – 35 บาทต่อกิโลกรัม
- โต๊ะขนาดกลาง ราคาประมาณ 500 บาท
- เตาย่างแบบถ่าน ราคาประมาณ
- ถ่านอัดแท่ง ราคาประมาณ 10 – 20 บาทต่อกิโลกรัม
- ถาดใส่ปลา ราคาประมาณ 20 บาท
- โหลน้ำจิ้ม ราคาประมาณ 20 – 50 บาท
- กระบวยตักน้ำจิ้ม ราคาประมาณ 20 บาท
- ตะแกรงใส่ปลา ราคาประมาณ 20 – 100 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)
- ที่คีบอาหาร ราคาประมาณ 10 บาท
- ถาดหลุม(สำหรับใส่เกลือโรยปลา) ราคาประมาณ 20 บาท
- กระดาษฟอร์ย(สำหรับห่อปลา) ราคาประมาณ 20 บาท
- ถุงร้อนใส่น้ำจิ้ม ราคาประมาณ 10 บาท/แพ็ค
- ถุงพลาสติกหูหิ้ว ราคาประมาณ 10 – 20 บาท/แพ็ค
หมายเหตุ : ราคาวัตถุดิบอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบราคา ณ ปัจจุบัน
ต้นทุนอื่นๆ
- ค่าเช่าพื้นที่ ประมาณ 50 – 100 บาท (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ขายนั้นๆ)
- ค่าน้ำ – ค่าไฟ วันละประมาณ 20-50 บาท (หรือรวมอยู่ในค่าเช่าแล้วสำหรับบางตลาด)
- เงินหมุนเวียนในร้าน 500 – 1,000 บาท
แหล่งซื้อวัตถุดิบขายปลาเผา
- ตลาดสดขายส่ง ในแต่ละพื้นที่ของแต่ละจังหวัดจะมีตลาดสดขายส่งสินค้า ซึ่งมักจะทำการซื้อขายกันในช่วงเช้ามืด ให้ลองหาร้านขายส่งวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ หรือผักสดต่างๆ
- สั่งซื้ออนไลน์ ความรวดเร็วในการขนส่งทำให้เราสามารถสั่งซื้อสินค้าจากแหล่งขายส่งได้ทั่วประเทศได้อย่างสะดวกสบาย หากไม่เร่งรีบและอยากได้ราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดก็สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ ข้อดีคือราคาถูก แต่ก็มีข้อเสียคือเราไม่สามารถเลือกดูสินค้าได้ ดังนั้นจึงต้องเลือกร้านที่น่าเชื่อถือ
- แมคโคร คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าราคาส่งได้จากแมคโครใกล้บ้าน ไปที่เดียวครบครันทั้งของสด และวัตถุดิบในการขายปลาเผา
คำแนะนำเพิ่มเติม ขายปลาเผา
- ปลาต้องสด วัตถุดิบหลักอย่าปลาที่จะนำมาเผาหรือย่างเกลือนั้นจะต้องสดใหม่ สะอาด ถูกหลักอนามัย นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยพื้นฐานของผู้บริโภคแล้ว ปลาที่ยังสดใหม่นั้นรสชาติจะอร่อย เน้นปลานุ่มเด้งดีกว่า เมื่อนำมาย่างหรือเผาแล้วกลิ่นจะหอม ไม่คาวเหมือนปลาที่จับและตายมาแล้วหลายวัน
- น้ำจิ้มต้องเด็ด ปลาเผาจะอร่อยยิ่งขึ้นเมื่อรับประทานคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด แซ่บซี๊ด เรียกน้ำลาย รับประทานเข้าไปคำนึงแล้วจะต้องหยุดไม่ได้ นั่นถึงจะเรียกว่ารสชาติที่แท้จริงของปลาเผา
- ผักสดต้องมี อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับปลาเผานั่นก็คือผักชนิดต่างๆ ถึงเรียกว่าครบเครื่อง ส่วนเส้นหมี่นั้นแล้วแต่ใครจะมีพิจาราณามีหรือไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานคู่กับผักสดเสียมากกว่า ต้องมั่นใจว่ามีผักที่เพียงพอให้ลูกค้าและผักต้องสด
- เสริมน้ำจิ้มเด็กหรือสูตรเผ็ดน้อย การเพิ่มตัวเลือกอย่างน้ำจิ้มสูตรสำหรับเด็กจะทำให้คุณสามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้นนอกจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นเด็ก วัยรุ่นแล้ว ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถรับประทานเผ็ดได้แต่ต้องการที่จะซื้อปลาเผาไปลองรับประทานดู
- อย่าเอาเปรียญลูกค้า โดยทั่วไปแล้วปลาเผานั้นมีราคาค่อนข้างสูงและถึงจะมีราคาที่สูงแต่ถ้าหากราคานั้นเหมาะสมกับสิ่งที่จะได้ลูกค้าก็ยินที่จะจ่าย ดังนั้นอย่าเอาเปรียบลูกค้าด้วยการขายปลาเผาที่ไม่สดใหม่ ขนาดของปลาเล็กจนเกินไป ให้ผักน้อย ให้น้ำจิ้มน้อย สิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น
- จัดโปรโมชั่น ส่งเสริมการขายบ้าง เพื่อกระตุ้นยอดขาย เช่น ซื้อครบ 500 บาท ลด 10% เป็นต้น หรือหากวันไหนที่ขายไม่ดี ไม่มีลูกค้า ก็ให้ลดราคาลดจากราคาปกติ 20 – 30% เพื่อคืนทุนกลับมาบ้าง เพราะการขายได้กำไรน้อยลงยังดีกว่าการต้องทิ้งไปโดยเสียเปล่า เพราะหากนำกลับมาขายใหม่รสชาติผิดเพี้ยนไปจากเดิมอย่างแน่นอน และลูกค้าก็คงไม่ซื้อสินค้าที่เหลือแล้วนำมาขายใหม่
- เพิ่มช่องทางติดต่อ เช่น Facebook page, Line, เพื่อให้ลูกค้าได้รีวิวรูปภาพสวยๆ สั่งจองปลาเผาล่วงหน้า หรือแจ้งข่าวสารโปรโมชั่นแก่ลูกค้า
และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลการเปิดร้านขายปลาเผาเกลือ ปลาย่างเกลือ เบื้องต้น ท่านที่สนใจลงทุนเปิดร้านขายปลาเผาเล็กเป็นของตัวเอง สามารถนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการพิจารณาลงทุนให้เหมาะสมตามความต้องการและงบประมาณของท่านได้