“แฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม ” … ทางเลือกสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ
“แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม” เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ เนื่องจากการเข้าสู่ธุรกิจไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประการสำคัญ ยังเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต ฉะนั้น ธุรกิจนี้จึงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนและรายได้ ประชากร รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น
โดยค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 69,000 บาท/ครัว เรือน/ปี หากแยกเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มที่ซื้อสำเร็จรูปหรือออกไปทานนอกบ้านจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 24,000 บาท/ครัว เรือน/ปี หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมสูงถึงประมาณ 5.3 แสนล้านบาท และมีการเติบโตประมาณร้อยละ 5-10 ทั้งนี้การลงทุนในธุรกิจร้านอาหาร และเครื่องดื่ม
สามารถเริ่มต้นได้ทันทีสำหรับผู้ที่มีความพร้อมทางด้านเงินทุนรวมทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ แต่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจ แต่ยังขาดสิ่งดังกล่าว การติดต่อกับเจ้าของ แฟรนไชส์ซึ่งมีรูปแบบและองค์ความรู้ ที่ประสบความสำเร็จในตลาดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก น่าจะเป็น ทางเลือกที่สะดวกและไม่ยุ่งยากหากต้องการจะเริ่มต้นและเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม: มีมูลค่าสูง … จูงใจคนเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง
ปัจจุบัน มีธุรกิจมากมายที่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะมีการต่อยอดด้วยการหันมาขายแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจที่มีทุน และต้องการดำเนินธุรกิจ แต่ ยังขาดประสบการณ์หรือองค์ความรู้ที่จำเป็น ซึ่งธุรกิจที่มีการดำเนินการในรูปแบบแฟรนไชส์และมีจำนวนค่อนข้างมากกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ ก็คือ ธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่ม
เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นและมีมูลค่าตลาดค่อนข้างสูงดังได้กล่าวเบื้องต้น ทั้งนี้ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ไทยมี จำนวนร้านอาหารรวมกันกว่า 4 แสนราย แบ่งเป็นร้านหาบเร่แผงลอย 3 แสนรายและร้านอาหาร 1 แสนราย ในขณะที่ธุรกิจเครื่องดื่ม แม้ว่า จะไม่มีการรวบรวมสถิติไว้ชัดเจน แต่ก็คาดว่าจะมีจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทย เอื้อต่อการทำธุรกิจเครื่องดื่มที่ดับกระหาย คลายร้อน โดยเฉพาะร้านเครื่องดื่มประเภทแผงลอย รถเข็น หรือซุ้มเครื่องดื่ม ที่กระจายตัวอยู่ตามแหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
ทั้งนี้ คาดว่า จำนวนร้านอาหารและเครื่องดื่มจะยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ ดำเนินการในรูปแบบแฟรนไชส์ เนื่องจากการลงทุนธุรกิจทำได้ง่าย โดยจากข้อมูลที่มีการรวบรวมพบว่า จำนวนธุรกิจที่มีการเปิดในรูปแบบ แฟรนไชส์มีจำนวน 707 ราย โดยแฟรนไชส์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มมีจำนวนมากที่สุดประมาณร้อยละ 45.8 ซึ่งแฟรนไชส์ดังกล่าว กำลัง พัฒนาขยายสาขาออกไปจากแฟรนไชส์ต้นทางไปสู่ผู้สนใจเพิ่มมากขึ้น
การเริ่มต้นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มด้วยแฟรนไชส์
เนื่องจากแฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีความหลากหลายทางธุรกิจค่อนข้างมาก ดังนั้น สิ่งที่ผู้สนใจประกอบธุรกิจต้องพิจารณาคือ การคัดเลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตนเอง ทั้งเงื่อนไขทำเล สถานที่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมทั้งเงินลงทุนที่มีเป็นค่าแฟรนไชส์ ค่าตกแต่งอาคาร สถานที่ ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอประเภทหรือรูปแบบแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มที่มีในตลาด รวมทั้งต้นทุนค่าแฟรนไชส์ และลักษณะเด่นของ ธุรกิจ เพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของธุรกิจแฟรนไชน์อาหาร เครื่องดื่ม
การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน ถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากนัก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของ แฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จ ที่พร้อมจะหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมมือกันพัฒนาและขยายสาขาออกไป อย่างไรก็ตาม การจะเริ่มต้นธุรกิจให้ ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ที่มีอยู่ในแต่ละธุรกิจให้ถ่องแท้เสียก่อน
ในเบื้องต้นนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงขอนำเสนอสภาพแวดล้อมของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นปัจจัยประกอบการตัดสินใจ แก่ผู้สนใจลงทุนธุรกิจด้านนี้ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ข้อแนะนำในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่มให้ประสบความสำเร็จ
ที่ผ่านมา ร้านอาหารและเครื่องดื่มมีการเปิดกิจการจำนวนมาก โดยธุรกิจที่สามารถประคองตัวจนอยู่รอดได้ก็มีจำนวนมาก แต่ผู้ลงทุน บางรายที่ไม่ประสบความสำเร็จ และต้องออกจากตลาดไปก็มีจำนวนมิใช่น้อย สำหรับการทำธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มภายใต้แฟรนไชส์ที่ซื้อ มาจากเจ้าของ แม้ว่าจะช่วยให้เกิดเส้นทางลัดในการดำเนินธุรกิจที่สะดวก รวดเร็ว และมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จ
เนื่องจากแฟรนไชส์นั้น ได้รับการทดสอบและยอมรับจากตลาดระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเปิดขายในรูปแบบแฟรนไชส์ได้ อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ ประกอบการทุกรายดังเช่นเจ้าของแฟรนไชส์ต้นทาง ทั้งนี้เพราะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในทางธุรกิจหลายๆ ด้านประกอบกัน ซึ่งสรุปเป็น ประเด็นได้ดังนี้
1. การเลือกรูปแบบหรือประเภทแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อแฟรนไชส์ไปต่อยอดธุรกิจ เป็นจำนวนมาก ทั้งกิจการขนาดเล็กใช้เงินลงทุนไม่มาก ไปจนถึงกิจการที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น ในเบื้องต้นต้องพิจารณาเลือก แฟรนไชส์ที่ตนเองชอบหรือถนัด เพื่อให้เกิดความรักในธุรกิจ และมีความใส่ใจในด้านบริการ ในขณะเดียวกัน ต้องสำรวจตลาดก่อนว่ารูปแบบ แฟรนไชส์ที่จะซื้อนั้น มีการเปิดสาขาไปแล้วและประสบความสำเร็จมีมากน้อยเพียงใด
2. เป็นแฟรนไชส์ที่นิยมในระยะสั้นหรือไม่ แม้ว่าอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นสินค้าจำเป็น แต่หลายครั้งอาหารและเครื่องดื่มบางประเภทก็เกิดขึ้น และได้รับความนิยมในชั่วระยะเวลาสั้นๆ แล้วก็ลดลงไป ตามกระแสแฟชั่นที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ประกอบการที่สำคัญคือ การ วิเคราะห์และประเมินว่าธุรกิจที่จะเข้าลงทุน มีความยั่งยืนและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในระยะยาวหรือไม่ ซึ่งธุรกิจที่อยู่ในตลาดมาอย่างยาว นานและต่อเนื่องน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา มากกว่าธุรกิจที่เข้ามาสร้างสีสันในช่วงสั้นๆ แล้วต้องออกจากตลาดไป
3. การศึกษาเงื่อนไข รายละเอีดของข้อตกลง บ่อยครั้งที่ธุรกิจดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่น เนื่องจากผู้ลงทุน ไม่ได้ศึกษาถึงเงื่อนไข รายละเอียด ข้อ สัญญาจากเจ้าของแฟรนไชส์อย่างรอบด้าน ทำให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งกัน อาทิ วัสดุ อุปกรณ์ การตกแต่งร้าน รวมทั้งวัตถุดิบ ผู้ลงทุนสามารถมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือไม่ ความช่วยเหลือจากเจ้าของแฟรนไชส์ อาทิ การโฆษณาส่งเสริมการตลาดมีอยู่ในระดับใด และนอกจากค่า แฟรนไชส์ที่ต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ หรือไม่ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการอบรมพนักงาน ค่าส่วนแบ่งจากรายได้หรือค่าธรรมเนียมการ จัดการธุรกิจ นอกจากนี้ ต้องพิจารณาว่าสัญญาแฟรนไชส์มีอายุกี่ปี เพื่อนำมาคำนวณจุดคุ้มทุน ประการสำคัญ มีข้อตกลงหรือไม่ว่า เจ้าของ แฟรนไชส์จะไม่ดำเนินการเปิดสาขาในบริเวณใกล้เคียงเพื่อแข่งขันกับผู้ซื้อแฟรนไชส์
4. ทำเลที่ตั้งและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าเป็นกลุ่มใด อาทิ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มคนวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ หรือเลือก ตามฐานะและกำลังซื้อ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการทางด้านการเลือกทำเล รวมทั้งการตกแต่งอาคาร สถานที่ รวมทั้งการเลือกประ เภทแฟรนไชส์ อาทิ หากทำเลที่ตั้งมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาก ก็อาจใช้แฟรนไชส์ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มาจากประเทศของนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยหรือหากต้องการผู้มาใช้บริการค่อนข้างหนาตา การเปิดธุรกิจตามแหล่งชุมชน อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม หรือศูนย์ การค้าต่างๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใด การกำหนดทำเลที่ตั้งจะต้องพิจารณาถึงจำนวนคู่แข่งในพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้กลายเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ
5. การควบคุมค่าใช้จ่าย แม้ว่าธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม จะมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างสูงหากเทียบกับกิจการประเภทอื่นๆ แต่หากผู้ลง ทุนไม่สามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยรวมให้เหมาะสมได้ ก็อาจมีผลต่อผลกำไรสุทธิได้ อาทิค่าเช่าสถานที่ หากต้องการทำเลดี มีลูกค้ามาใช้ บริการจำนวนมาก กำไรที่ได้จะถูกแบ่งไปจ่ายค่าเช่าในอัตราสูง ซึ่งหากผู้ลงทุนมีที่ของตนเองในทำเลที่ดี ก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ได้มาก ในขณะ เดียวกัน หากผู้ลงทุนและครอบครัวเข้ามาดูแลและให้บริการในร้านเองก็จะสามารถลดต้นทุนด้านค่าจ้างพนักงานลงได้ นอกจากนี้ สต็อกสินค้าและ วัตถุดิบก็เป็นอีกหนึ่งในต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สำคัญ เพราะหากมีมากเกินไปเมื่อเทียบกับยอดขายในแต่ละวันก็จะทำให้เงินลงทุนจมไปโดยเสียประโยชน์ ได้
6. การรักษาฐานลูกค้า การทำธุรกิจทั่วไป นอกเหนือจากการสร้างฐานลูกค้าใหม่แล้ว สิ่งสำคัญอีกส่วนก็คือ การรักษาฐานลูกค้าเก่าให้มี ความภักดีต่อธุรกิจ ซึ่งกลุ่มลูกค้าเก่านอกจากเป็นลูกค้าประจำแล้วยังช่วยสร้างฐานลูกค้าใหม่แบบปากต่อปาก โดยไม่ต้องอาศัยการโฆษณา ซึ่งการจะ รักษาฐานลูกค้าเก่าได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งการสร้างความพึงพอใจในด้านบริการที่รวดเร็ว เป็นกันเอง และสินค้ามีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้การบริการมีความแตกต่างจากคู่แข่ง
โดยสรุป
ธุรกิจแฟรนไชน์อาหาร เครื่องดื่ม” เป็นหนึ่งในธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีเงินทุน ค่อนข้างจำกัด รวมทั้งขาดองค์ความรู้ทางธุรกิจ เนื่องจากเจ้าของแฟรนไชส์จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แผนการทำตลาด และเทคนิค ต่างๆ ในการประกอบกิจการให้ ทั้งนี้ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่เปิดจำหน่ายในรูปแฟรนไชส์ในปัจจุบัน มีจำนวนค่อนข้างมากและหลากหลาย ประเภทให้ผู้ลงทุนได้เลือกตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นสินค้าที่ขายได้ง่าย ความต้องการของลูกค้ามีตลอดเวลา แต่ ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบกิจการได้นั้น ยังต้องขึ้นอยู่กับผู้ลงทุนที่ต้องเอาใจใส่ในการบริการ รวมถึงการดูแลรสชาติและคุณภาพ สินค้าอยู่ตลอดเวลา ประการสำคัญก็คือ การบริหารบุคลากร และ การอบรมให้ความรู้ทั้งคนทำครัว คนบริการ คนดูแลร้าน ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ ลูกค้ามากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและกลับมาใช้บริการซ้ำอีกในครั้งต่อไป
แหล่งที่มาของข้อมูล : Ksmecare