1. “สหรัฐอเมริกา” โอกาสสินค้า “ตลาดเทียน”
ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าในกลุ่มเทียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสหรัฐมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีการนําเข้าเทียนไขปิโตรเลียมจากจีน ทําให้การส่งออกเทียนของไทยช่วง 4 เดือนแรกในปี 2561 มีมูลค่ากว่า 3.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะเร่งส่งออกสินค้าเทียน โดยการใช้ช่องทางการตลาดแบบ E-Commerce ผ่านสื่อ Social Media ยังคงถือว่าเป็นช่องทางที่ดีที่สุดสําหรับแบรนด์น้องใหม่ที่จะเข้าไปตีตลาดกลุ่มนี้
สนใจส่งออกเทียนไปสหรัฐอเมริกา
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
อีเมล: info@thaitradeny.com
2. “ชิลี” โอกาสสินค้า “นํ้าผลไม้ผสมว่านหางจระเข้”
พฤติกรรมผู้บริโภคชาวชิลีหันมาใส่ใจในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครื่องดื่มนํ้าผลไม้เข้ามาแทนที่นํ้าอัดลม โดยเฉพาะนํ้าผลไม้ผสมเนื้อว่างหางจระเข้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่ส่งออกนํ้าผลไม้ของไทย อีกทั้งคู่แข่งในตลาดนี้ยังมีน้อยรายอีกด้วย
สนใจส่งออกหรือขยายตลาดมายังชิลี
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก
อีเมล: thaitrade@ttcsantiago.cl
3. “อิสราเอล” โอกาสสินค้า “ตลาดยาง”
อิสราเอลไม่มีการผลิตยางธรรมชาติ จึงต้องการนําเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางจากต่างประเทศ โดยปี 2561 อิสราเอลมีแนวโน้มการเติบโตของปริมาณการนําเข้ายางจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้งานภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปตลาดอิสราเอลได้อย่างต่อเนื่อง โดยประเภทของสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ถุงมือยาง ยางยานพาหนะ ผู้ประกอบการไทยที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยาง ควรจับตาโอกาสในการขยายช่องทางการส่งออกสินค้าไปยังตลาดนี้อย่างใกล้ชิด
มองหาโอกาสการค้าตะวันออกกลาง
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ
อีเมล: thaitctelaviv@ditp.go.th
4. “รัสเซีย” โอกาสสินค้า “อีคอมเมิร์ซพุ่ง งดภาษีนําเข้า “
กระแสอีคอมเมิร์ซรัสเซียพุ่งต่อเนื่อง มียอดสั่งซื้อออนไลน์ปี 2560 กว่า 214 ล้านชิ้น อยู่ที่ 291 พันล้านรูเบิล (148.18 พันล้านบาท) รองนายกรัฐมนตรี Mr. Arkady Dvorkovich ของรัสเซียเผยอาจมีการยกเว้นภาษีนําเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มในการสั่งซื้อออนไลน์ ปัจจุบันมูลค่าสินค้าออนไลน์ที่ไม่ต้องเสียภาษีนําเข้าอยู่ที่ 1,000 ยูโรต่อเดือน และรัฐกําลังหารือกับคณะกรรมการสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซียให้กําหนดไว้ที่ 500 ยูโรต่อเดือน ในปี 2562 และลดลงเหลือ 220 ยูโรต่อเดือน ในปี 2563 ผู้ประกอบการที่สนใจเปิดตลาดในรัสเซีย ควรมองหาช่องทางออนไลน์ในการตีตลาด ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) มีช่องทางการค้าออนไลน์ที่มีศักยภาพและเข้าถึงทุกประเทศทั่วโลกที่ www.thaitrade.com
สนใจส่งสินค้าเจาะตลาดรัสเซีย
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมอสโก
อีเมล: moscow@thaitrade.ru
5. “ออสเตรเลีย” โอกาสสินค้า “เทคโนโลยี Blockchain ช่วยเกษตร “
บริษัท T-Provenance หรือ Trust Provenance นําเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เพื่อรวบรวมติดตามข้อมูลสินค้าเกษตรตลอดทั้ง Supply Chain ตั้งแต่การเพาะปลูกจนถึงการจัดจําหน่าย และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระบบการควบคุม ตรวจเช็คคุณภาพของสินค้า และลดความเสี่ยงของปริมาณการเน่าเสีย สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรออสเตรเลียได้ถึง 14 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (347.2 ล้านบาท) และยังมีแผนนําไปใช้กับอุตสาหกรรมการเกษตรอื่นๆ หากผู้ประกอบการสนใจเรื่องโลจิสติกส์ สามารถเข้าร่วมงาน TILOG Logistix ซึ่งเป็นงานแสดงการให้บริการด้านโลจิสติกส์เทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านอินทราโลจิสติกส์ที่ครบครันที่สุด ระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคมนี้ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tilog-logistix.com
มองหาแนวโน้มการตลาดในออสเตรเลีย
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์
อีเมล: thaitrade@ozemail.com.au
6.”ญี่ปุ่น” โอกาสสินค้า ” นํ้ามันรําข้าว “
อุตสาหกรรมนํ้ามันรําข้าวญี่ปุ่นกําลังประสบปัญหาแหล่งวัตถุดิบขาดความมั่นคงและต้นทุนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันไทยได้รับสิทธิ GSP ตามข้อตกลง JTEPA ในการปรับลดภาษีนํ้ามันรําข้าวจากไทยไปญี่ปุ่น จากปกติ 8.5 เยนต่อกิโลกรัมเป็น 3.78 เยนต่อกิโลกรัม ทําให้การส่งออกนํ้ามันรําข้าวไทยไปญี่ปุ่นมีโอกาสสดใส ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสําคัญกับการรักษาคุณภาพและการจัดหาวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานตามที่ญี่ปุ่นกําหนด เพื่อสร้างแต้มต่อและเพิ่มศักยภาพในการส่งออกมากยิ่งขึ้น
รู้ลึกข้อมูลการค้าในญี่ปุ่น
ติดต่อ สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
อีเมล: intmk@ditp.go.th
ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์