อีไอซีแนะ “ไม้ยางพารา” อุตสาหกรรมดาวรุ่งดวงใหม่ของไทย

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b2

Highlight

  • ธุรกิจการส่งออกไม้ยางพาราเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างสดใส เนื่องจากปริมาณไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้น และความต้องการไม้ยางพาราของจีนที่เพิ่มขึ้นจากตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ในประเทศและการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของไม้ยางพาราทั้งในแง่คุณภาพและราคา
  • อีไอซีมองว่าไทยมีศักยภาพที่จะหันมาเพิ่มสัดส่วนการผลิตเฟอร์นิเจอร์และสินค้าจากไม้ยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก โดยภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการออกแบบและสร้างแบรนด์มากขึ้น

ราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นในอดีตทำให้มีการปลูกยางพารามากขึ้น และส่งผลให้ปริมาณไม้ยางพาราของไทยโตขึ้นอย่างมาก อีไอซีคาดว่าในระยะกลางปริมาณไม้ยางพาราในประเทศจะเติบโตขึ้นราว 3% จาก 20 ล้านตันในปี 2016 เป็นราว 23 ล้านตันในปี 2020 (รูปที่1) โดยมีสาเหตุมาจากการปลูกยางพาราที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 1991-1995 ทั้งนี้ ยางพารามีอายุประมาณ 25 ปี หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตน้ำยางน้อยลงมากจึงทำให้เกษตรกรต้องโค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกใหม่ทดแทน สำหรับในระยะยาวนั้นคาดว่าปริมาณไม้ยางพาราจะเพิ่มขึ้นอีกกว่าราว 5% ต่อปี หรือคิดเป็น 35 ล้านตันในปี 2030 จากการปลูกยางพาราใหม่ในช่วงปี 2000-2005 แม้ว่าราคายางพาราได้เริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2011 แต่การปลูกยางพาราใหม่ในแต่ละปีก็ยังค่อนข้างคงที่ เนื่องจากผลตอบแทนจากการปลูกยางยังสูงกว่าพืชเกษตรชนิดอื่น

ไม้ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยม โดยไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ซึ่งคิดเป็นกว่า 65% ของปริมาณไม้ยางพาราที่ผลิตได้ ไม้ยางพาราของไทยมีความสามารถในการแข่งขันทั้งในแง่คุณภาพและราคาเมื่อเทียบกับไม้เศรษฐกิจอื่น เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งที่สามารถแปรรูปได้ง่าย อีกทั้งระดับราคาที่ไม่แพงนักและใกล้เคียงกับไม้ชนิดอื่น (รูปที่ 7) จึงมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง นอกจากนี้ ไม้ยางพารายังเป็นไม้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นไม้ที่ได้จากสวนยางไม่ได้เป็นการตัดไม้ในธรรมชาติ ทั้งนี้ คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี สำหรับอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณไม้ยางจำนวนมากนั้นไม่ได้เป็นคู่แข่งกับไทย เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ได้ส่งออกไม้ยางพารา แต่นำไม้ไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์เพื่อส่งออกแทน

การส่งออกไม้ยางพาราของไทยไปยังจีนคาดว่าจะยังเติบโตขึ้นในอนาคตจากทั้งการขยายตัวของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอสังหาริมทรัพย์ในจีน รวมถึงการส่งออก จีนยังคงมีความต้องการนำเข้าไม้ยางพาราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2015 มีการนำเข้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตขึ้นกว่า 15% (รูปที่ 3) สำหรับในระยะกลาง ความต้องการใช้ไม้ยางพาราของจีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก เห็นได้จากยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้นราว 14% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (รูปที่ 4) คิดเป็นราว 9.6 ล้านล้านหยวนในปี 2016 ซึ่งจากยอดขายบ้านที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวคาดว่าจะสร้างความต้องการไม้ยางพาราเพื่อนำไปใช้เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ และอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน นอกจากนี้ ด้วยรายได้ต่อหัวของคนจีนที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของหัวเมืองรองชั้น 3 และ 4 จะเป็นปัจจัยในการสนับสนุนการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ และอุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ในอนาคต ในขณะเดียวกันการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้จากจีนไปยังประเทศต่างๆ ยังคงเติบโตได้ดี โดยที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกดังกล่าวเพิ่มขึ้นราว 13 % ต่อปี โดยในปี 2015 อยู่ที่ราว 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รูปที่ 5) และในอนาคตคาดว่าจะยังเติบโตขึ้น เนื่องจากความต้องการเฟอร์นิเจอร์ไม้จากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักของจีน (รูปที่ 6) จะยังเพิ่มขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัว

ไทยควรยกระดับการเพิ่มมูลค่าการส่งออกด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และสินค้าจากไม้ยางแทนการส่งออกไม้ยาง เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกในรูปวัตถุดิบไม้ยางพาราไปยังประเทศอื่น แต่การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ยังมีสัดส่วนที่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับมาเลเซีย ทั้งนี้ มาเลเซียได้เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มาตั้งแต่ปี 1990 จนปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้กว่า 30% เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ในขณะที่การส่งออกในรูปของท่อนไม้เหลือเพียงราว 10% เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากในอดีต ทั้งนี้ การพัฒนาดังกล่าวทำให้มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกเฟอร์นิเจอร์จะสร้างมูลค่ามากกว่าการส่งออกไม้ยางพารากว่า 10.7 เท่า (รูปที่ 8) อีกทั้งเกิดการสร้างงานในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ถึง 6 หมื่นตำแหน่ง

 

Implication

  • อีไอซีแนะผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นการออกแบบเพื่อให้สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและจีนได้ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจทางด้านเทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และพัฒนาความสามารถในการออกแบบ เพื่อต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง รวมถึงสร้างตราสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (branding) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
  • ภาครัฐควรสนับสนุนอุตสาหกรรมไม้ยางพาราอย่างเป็นระบบและครบวงจร ภาครัฐควรส่งเสริมอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา ตั้งแต่การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของไม้ยางพารา สนับสนุนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เช่น การสร้างโครงการจับคู่นักออกแบบกับผู้ประกอบการ รวมถึงส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดเฟอร์นิเจอร์โลก โดยการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ หรือสนับสนุนให้มีการนำสินค้าไปแสดงในงานแสดงผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ผ้า หนัง และกระจก โดยเฉพาะส่วนที่นำมาเป็นวัสดุในการผลิตเฟอร์นิเจอร์

 

รูปที่ 1: คาดการณ์ปริมาณไม้ยางพารา
%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b201

รูปที่ 2: มูลค่าและปริมาณการส่งออกไม้ยางพาราของไทย

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b202

รูปที่ 3: ประเทศผู้นำเข้าไม้ยางพาราของไทย

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b203

รูปที่ 4: ยอดขายบ้านของจีน
%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b204

รูปที่ 5: มูลค่าและปริมาณการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของจีน

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b205

รูปที่ 6: ประเทศผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไม้จากจีน
%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b206

รูปที่ 7: เปรียบเทียบราคาไม้นำเข้าของจีน

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b207

รูปที่ 8: ราคาส่งออกเฉลี่ยไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ไม้

%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b208

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  SCB Economic Intelligence Center

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *