11 กลยุทธ์ร้านค้าปลีก หมัดเด็ดมัดใจลูกค้าให้ต้องกลับมาซื้อ

กลยุทธ์ร้านค้าปลีก

11 กลยุทธ์ร้านค้าปลีก หมัดเด็ดมัดใจลูกค้าให้ต้องกลับมาซื้อ

บทบาทของร้านค้าปลีก หรือร้านค้าเล็กๆ รวมไปถึงร้านโชว์ห่วยต่างๆ ค่อยๆถูกลดทอนลงไปเรื่อยๆ นั่นก็เนื่องมาจากความสะดวกสบายหลายอย่างที่เข้ามาแทนที่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เข้ามาเปิดซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อที่รายรอบอยู่แทบทุกหัวระแหง รวมไปถึงร้านค้าออนไลน์ที่เสริมทัพกันเข้ามารุกตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้นแล้วร้านค้าปลีกจะมัวนิ่งนอนใจไม่ได้ ต้องเสริมกลยุทธ์เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคไว้ให้ได้

ร้านค้าปลีกมีกลยุทธ์มากมายที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการซื้อ หรือสร้างความประทับใจให้เกิดความผูกพันกับร้านค้า หากนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับร้านค้าปลีก รับรองว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าเข้าร้านได้จริง ดังเช่นตัวอย่างที่นำมาเสนอต่อไปนี้

1 ปรับเปลี่ยนตำแหน่งวางสินค้า
สับเปลี่ยนตำแหน่งในการสินค้าบนชั้นวางบ่อยๆ เมื่อลูกค้าเข้ามาแล้วจะได้ใช้เวลาอยู่ในร้านค้าของคุณมากขึ้น เดินดูสินค้าไปเรื่อยๆ เหมือนกำลังติดอยู่ในเขาวงกต อีกทั้งยังเป็นการเสนอสินค้าชนิดอื่นๆให้ลูกค้าได้เห็น เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อของได้เพิ่มมากขึ้น

2. สร้างระยะในการมองสินค้าให้กว้างขึ้น
ทุกครั้งที่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งสินค้า จะต้องคำนึงถึงระยะในการมองเห็นของลูกค้าเป็นสำคัญ เมื่อเข้ามาแล้วจะต้องได้รับความรู้สึกว่าจะต้องสินค้าเด็ดๆอย่างแน่นอน คุณอาจะลดจำนวนชั้นวางของให้ต่ำลง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มแถวชั้นวางสินค้าขึ้น จะทำให้ร้านค้าดูกว้างขึ้น แต่จะต้องไม่วางเกะกะ เมื่อจัดวางแล้วคุณอาจลองเดินวนดูสักรอบว่าสามารถเดินได้อย่างสะดวกหรือไม่

3. ส่งเสริมการขาย ยิ่งซื้อเยอะยิ่งประหยัด
ทฤษฎีเชิงตรรกะคือ การซื้อสินค้าจำนวนมากทำให้ประหยัดเงิน จัดเซ็ทคู่หรือมากกว่า 1 ชิ้นในราคาที่ถูกกว่าการซื้อเพียงชิ้นเดียว โดยส่วนใหญ่เรามักจะเจอเทคนิคลักษณะนี้กับสินค้าประเภทเครื่องดื่ม อาหารบางประเภท เพราะโดยปกติแล้วพ่อบ้านแม่บ้านจะซื้อของกินมาตุนไว้เฉลี่ยอาทิตย์ละครั้ง ดังนั้นการเสนอความคุ้มค่าเมื่อซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 1ชิ้น เป็นเทคนิคที่กระตุ้นการขายได้

4. ลดราคาสินค้าใกล้หมดอายุ
โดยปกติแต่ละวันร้านค้าจะมีสินค้าที่ใกล้หมดอายุในอีก 1-2 วัน และส่วนมากจะเป็นอาหาร นำเอาสินค้าเหล่านั้นมาลดราคา 50-70% เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อและแน่นอนสินค้าลดราคาพิเศษจะได้รับความสนใจเสมอ แม้มันใกล้จะหมดอายุก็ตาม ยอดลดราคาขายเพื่อรักษาต้นทุนไว้ ดีกว่าปล่อยให้เสียแล้วต้องทิ้งอย่างไม่ได้อะไรเลย

5. เสนอการขายแบบจำกัดจำนวน/ระยะเวลา
เป็นการตั้งเงื่อนไขเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าจะต้องรีบซื้อสินค้าเหล่านั้นก่อนที่สินค้าจะหมดหรือครบกำหนดระยะเวลาในการจัดโปรโมชั่น เทคนิคนี้นักจิตวิทยาเรียกว่าหลักการความขาดแคลนหรือพฤติกรรมการขาดแคลน ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้ของชิ้นนั้นไป

6. แจกหรือให้ชิมฟรี
สินค้าตัวอย่างที่มีเข้ามาใหม่ หรือหากต้องการกระตุ้นยอดขายอาหารประเภทใด ให้นำตัวอย่างอาหารมาจัดให้ชิมฟรี หลักการข้อผูกมัด ปกติแล้วเมื่อเราลองชิมสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วในใจจะรู้สึกผิดหากชิมแล้วไม่ซื้อ และยิ่งมีคนมากระตุ้นด้วยการนำเสนอสิ่งดีๆให้อย่างการให้ชิมฟรีหรือแจกของฟรี แนวโน้มที่จะซื้อสินค้าย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย เป็นการสมนาคุณและกดดันไปในเวลาเดียวกัน

7. เช็คสินค้าออนไลน์ได้
สำหรับร้านค้าปลีกยุคใหม่เรื่องเทคโนโลยีต้องก้าวทันและรองรับลูกค้าเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ปรับตัวตามกระแสด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเป็นไปได้ คุณอาจจะสร้างเว็บไซต์ของร้านเพื่อให้ลูกค้าสามารถเช็คสินค้าว่ามีอยู่ในสต็อกหรือไม่ โดยที่พวกเขาไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลการชำระเงิน เริ่มแรกคุณอาจจะดูวุ่นวายกับการให้งานอยู่บ้าง แต่สักพักจะคุ้นชินและใช้งานได้และเป็นการรองรับแผนการขายสินค้าในอนาคตอีกด้วย

8. จัดส่งสินค้าฟรี
บริการเสริมสำหรับร้านค้าปลีกทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ คุณอาจกำหนดจำนวนซื้อขั้นต่ำที่ได้รับบริการส่งสินค้าฟรี ขอบเขตในการส่งสินค้า เพราะคุณอาจมีลูกค้าที่ไม่ได้นำรถส่วนตัวมาในการซื้อสินค้า ซื้อจำนวนมากจนไม่สามารถนำกลับไปในครั้งเดียวได้ เสนอบริการนี้ให้แก่เขา นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและยังสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดความภักติดีต่อร้านค้าของคุณ

9. เปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้
ลูกค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้ โดยกำหนดเงื่อนไขและข้อตกลงเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น หากสินค้าที่สั่งไม่ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ หรือชำรุดเสียหายจากการนำส่ง ก็รับผิดชอบโดยการเปลี่ยนหรือรับคืนสินค้า เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบ รักษาน้ำใจต่อใจเพื่อการเกื้อกูลกันในระยะยาว

10. ทำให้สินค้าหมดไวขึ้น
ในที่นี้หมายถึง การทำให้ลูกค้ากินหรือใช้สินค้าหมดเร็วขึ้น แม้จะดูเป็นเรื่องที่ไม่น่ารักเอาเท่าไหร่แต่มันก็เป็นเทคนิคจริงๆที่เราทุกคนก็พบเจอกันอยู่ในทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น “การให้หลอดที่มีขนาดใหญ่กับลูกค้า ก็เพื่อให้สามารถดูดได้เยอะขึ้น เร็วขึ้น แน่นอนว่าสินค้าก็หมดไวขึ้นเช่นกัน หรือ ตามร้านอาหารหรือบาร์ต่างๆ จะสังเกตว่าพนักงานจะคอยเติมเครื่องดื่มให้เราบ่อยๆ เพื่อให้รู้สึกว่าต้องรีบทาน เดี๋ยวน้ำแข็งละลายหมด ไม่อร่อย! หันมาอีกทีปาเข้าไปครึ่งโหลแล้ว”

 

11. คูปองส่วนลด
นำเสนอคูปองส่วนลดในการซื้อสินค้าในครั้งต่อไปแก่ลูกค้า เพื่อเป็นการย้ำให้ลูกค้าทราบว่าเขาจะได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม ใครๆก็อยากซื้อสินค้่าในราคาถูก ดังนั้นเมื่อมีคูปองส่วนลดอยู่แล้วก็ต้องใช้ให้คุ้มค่าอย่างแนะนอน เป็นเทคนิคการเรียกลูกค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากเลยทีเดียว

แสดงความคิดเห็น