5 สัญญาณชี้ Fintech กำลังมา ช้าแต่ชัวร์

ในปัจจุบัน Fintech กำลังเป็นกระแสอย่างมากในต่างประเทศและในประเทศไทยก็มีการกล่าวถึงในช่วงปีที่ผ่านมา Fintech ป็นคำผสมระหว่าง Finance และ Technology คือนวัตกรรมทางการเงิน โดยปัจจุบัน Fintech มีการให้บริการหลักๆที่ผู้คนรู้จักได้แก่ Internet Banking, Digital Wallet เป็นต้น  นอกจากนี้ Fintech ยังครอบคลุมถึงบริการอื่นๆอีกเช่น trading, crowd funding, financial research เป็นต้น โดย 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่า Fintech ยังไม่พร้อมโตในประเทศไทยในช่วงนี้มีดังต่อไปนี้

1. การใช้ Smart Phone สูงขึ้นแต่ใช้สำหรับ Social Media เท่านั้น

ผลการวิจัยจาก Nielsen แสดงให้เห็นว่าคนไทยใช้ smartphone สำหรับการติดต่อสื่อสารและเอนเตอร์เทนเม้นท์เป็นหลัก โดย application ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนไทยได้แก่ Line และ Facebook ถึงแม้การวิจัยเผยว่า 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใช้ smartphone ในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นกว่า 37% มันยังไม่ใช่สัญญาณหลักที่ชี้ว่าประเทศไทยนั้นหันมาให้ความสนใจในบริการทางการเงินมากขึ้น

2. พฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงนิยมใช้เงินสดในการใช้จ่าย

ในอดีตคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการซื้อสินค้าของคนไทยนั้นนิยมใช้เงินสดเป็นตัวกลางในการใช้จ่าย  ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาคนไทยดูเหมือนจะเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้บัตรเดบิตและบัตรเครดิตมากขึ้น  ผลการวิจัยจาก demystifyasia พบว่ามีคนไทยเพียง 8% เท่านั้นที่ใช้เดบิตในการชำระค่าใช้จ่ายและมีคนไทยเพียง 4% เท่านั้นที่ใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้า เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี คนญี่ปุ่นมีการใช้บัตรเดรดิตในการชำระค่าสินค้ากว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศ

สัญญาณนี้ชี้ให้เห็นว่าคนไทยนั้นยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นแบบไม่มีเงินตราเป็นสื่อกลางได้ (Cashless)

3. ความปลอดภัยของระบบการเงิน

หลายภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการเงินและการรักษาความปลอดภัยของเทคโนโลยีในประเทศไทยว่ามันมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด  เนื่องจากนวัตกรรมทางการเงินประเภท E-Banking, E-Wallet ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย  รวมถึงปัญหาต่างๆมากมายที่มีให้พบเห็นไม่เว้นแต่ละวัน  ดังนั้นความไว้ใจในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเทคโนโลยียังได้รับความเชื่อใจที่น้อยกว่าการเข้าไปธนาคารและได้รับการบริการจากพนักงาน

4. ประเทศไทย 4.0 ของจริงหรือหลอกลวง

หลายๆกระแสพูดถึงการผลักดันประเทศไทยให้เข้าเป็นประเทศไทยยุค 4.0 จากทางรัฐบาลนั่นเป็นเพียงการปลุกกระแสให้ระบบสื่อกสารและคมนาคมในประเทศไทยลุกเหิมลงทุนแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อผลักดันให้การสื่อสารในประเทศไทยนั้นเทียบมาตราฐานสากลด้วยระบบ 4G ภายใต้ความถี่ 1800 และ 900 MHz  ซึ่งการประมูลครั้งนี้เป็นการตั้งมาตราฐานของประเทศไทยในอีกสิบปีข้างหน้าถึงแม้ว่ากระแสประเทศไทยยุค 4.0 จะเป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง  แต่ต้องมาดูว่าความเร็วในการบริหารงานและประสิทธิภาพของชิ้นงานจะออกมาในรูปแบบใดที่สำคัญโครงสร้างการสื่อสารและคมนาคมที่สร้างขึ้นในครั้งนี้จะสนับสนุนและส่งเสริม Fintech ในประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด

5. ขาดผู้เชี่ยวชาญในตลาด Fintech

Fintech ได้รับการบ่มเพาะจากธุรกิจและนักพัฒนาในแถบ Silicon Valley ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความเข้าใจในเทคโนโลยีนี้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยพึ่งเริ่มต้นเข้าสู่ธุรกิจนี้จะต้องมีการดึงผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศเข้ามาช่วยกันพัฒนาระบบ ผู้เขียนเชื่อว่าประเทศไทยซึ่งมีคนที่มีความสามารถมากมายจะช่วยให้ธุรกิจ Fintech สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนไทยได้อย่างดี  แต่ต้องมาดูกันอีกทีว่าการดึงผู้มีความสามารถเข้ามาในธุรกิจจะใช้เวลามากน้อยเพียงใด

นี่คงเป็น 5 สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าประเทศไทยยังไม่พร้อมกับ Fintech แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะผู้บริโภคจะต้องจับตาดูเนื่องจากในปี 2017  นี้มีหลายๆบริษัทที่กำลังจะเข้ามาบุกตลาด Fintech อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น KBank, SCB, Line เป็นต้น ผู้เขียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อตลาด Fintech ได้รับการพัฒนาระบบให้มีความสมบูรณ์เพื่อรองรับการใช้งานจากผู้บริโภคแล้ว คนไทยโดยพื้นฐานเป็นคนง่ายๆและเรียนรู้เร็วจะเปลี่ยนพฤติกรรมและหันมาสนใจบริการนี้กันมากขึ้น

ผู้เขียนกันต์พจน์ สุริวงศ์ บริษัท iPrice แหล่งช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *