5 เคล็ดลับ สำหรับการตั้งราคาที่เหมาะสม

image credt : business2community.comi
image credt : business2community.comi

5 เคล็ดลับ สำหรับการตั้งราคาที่เหมาะสม

ราคาสินค้าหรือบริการที่เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจ เพราะนั่นหมายถึงการหนดชะตาของธุรกิจ หากตั้งราคาสูงกว่าความเป็นจริงสินค้าหรือบริการก็จะขายไม่ได้ กลายเป็นสินค้าค้างสต็อก และในที่สุดก็ต้องตัดใจขายแบบลดล้างสต็อก แต่ถ้าหากว่าตั้งราคาที่ต่ำกว่าราคาท้องตลาดหรือต่ำกว่าความเป็นจริงแม้สินค้าจะขายได้ หรืออาจขายดี แต่ก็หมายถึงภาระต้นทุนที่ต้องแบกรับ รวมทั้งการโจมตีจากผู้ประกอบอื่นๆในอุตสากรรมเดียวกัน เนื่องจากการขายตัดราคา ดังนั้นการตั้งราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับคุณภาพของสินค้าจึงป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบต้องตระหนัก สำหรับแนวทางในการตั้งราคาที่เหมาะสมมีอะไรบ้างนั้น ขอนำเสนอเคล็ด 5 ประการดังต่อไปนี้

1. การรับรู้มูลค่าของการเสนอขาย
ทำความเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่กลุ่มลูกค้าของคุณต้องการจะได้รับจากการเสนอขายของคุณ? สิ่งนี้จะช่วยกำหนดราคาสูงสุด (maximum price)ที่คุณจะสามารถเรียกเก็บจากพวกเขาได้ เพราะแน่นอนลูกค้าจะยอมจ่ายในราคาที่แพงกว่ากับสิ่งที่พวกเขารับรู้ถึงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ โปรดจำไว้ว่าความคุ้มค่าไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาเสมอไป เรื่องของมูลคาสินค้าก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

2. ราคาในท้องตลาด
การตั้งราคาต้องคำนึงถึงราคาท้องตลาดที่กำหนดให้สำหรับผู้ประกอบในอุตสาหกรรมนั้นๆ เพราะหากตั้งราคาโดยไม่คำนึงถึงคู่แข่ง ความแตกต่างของราคาเพียงแค่ไม่กี่บาทก็อาจสร้างนัยสำคัญ

3. โครงสร้างต้นทุน
โฟกัสเป็นสิ่งแรกสำหรับราคาต้นทุนแปรผัน(variable costs) เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ยกเว้นในกรณีที่ผู้ประกอบการสูญเสียค่าใช้จ่ายในชั้นของต้นทุนแปรผัน หากคุณราคาต่ำกว่าต้นทุนผันแปร คุณจะสูญเสียเงินในทุกหน่วยขายและคุณไม่สามารถเพิ่มปริมาณสินค้าขึ้นได้อีก

ถัดมาให้โฟกัสไปที่ต้นทุนคงที่ (fixed costs) ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นรายได้จากการเติบโต เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นการบัญชี เป็นต้น

4. เป้าหมายของผลกำไร
กำหนดผลกำไรที่คุณต้องการหรือเป้าหมาย แล้วกำหนดค่าใช้จ่ายให้คงที่ กำหนดตัวเลขของผลกำไรจากการขายเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์(เป้าหมาย)ถ้ามันมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าคุณจะประสบความสำเร็จตามจำนวนหน่วยในราคาที่คุณวางแผนที่จะเสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าไม่เวิร์คคุณอาจจำเป็นต้องปรับราคาขึ้นหรือลง วิธีการคำนวน “กำไร = ปริมาณหน่วย X (ราคา – ต้นทุนผันแปร) – ค่าใช้จ่ายคงที่”

ทฤษฎีเศรษฐกิจกล่าวว่าในขณะที่ราคาขึ้นปริมาณจะลดลง เมื่อเวลาผ่านไปคุณสามารถทำให้การปรับราคาและสังเกตผลกระทบต่อกำไร หากคุณราคาที่ต่ำกว่าเล็กน้อย เพิ่มปริมาณของคุณขึ้นไป แล้วมันจะมากพอที่จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของกำไรหรือไม่?

5. การตอบสนองต่อการแข่งขัน
โปรดจำไว้ว่า คุณไม่ได้เป็นศูนย์กลางในการการตัดสินใจกำหนดราคา คู่แข่งของคุณก็ตอบสนองการตั้งราคานี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการลดราคาอาจไดรฟ์กำไรที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามถ้าคู่แข่งลดราคาเท่ากับคุณ ผลที่ตามมาอาจจะทำให้มีผลกำไรลดลงทั้งอุตสาหกรรม ดังนั้นเมื่อการตัดสินใจกำหนดราคา จะต้องแน่ใจว่าเข้าใจปัจจัยในการขึ้นราคาของของคูแข่งดีแล้ว การกำหนดราคาสินค้าหรือบริการอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ถ้าหากให้ความสนใจกับปัจจัยที่สำคัญเหล่านี้ จะสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างผลกำไรและการสูญเสีย

image credit : lifeshield.com
image credit : lifeshield.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.entrepreneur.com

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *