5 อาหารไทยยอดนิยมแต่ละประเทศ และ ตลาดอาหารไทยในอาเซียน

ตลาดอาหารไทยในอาเซียน
ตลาดอาหารไทยในอาเซียน

 

อาเซียนนับเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก เนื่องจากข้อได้เปรียบพื้นฐานในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร และมีแรงงานจำนวนมากเพียงพอ และยังเป็นตลาดการบริโภคตลาดใหม่ที่มีความน่าสนใจ ในปี 2556 อาเซียนมีสัดส่วนมูลค่าการค้าอาหารในตลาดโลกอยู่ที่ร้อยละ 6.8 และคาดว่าในปี 2559 จะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.3  ของมูลค่าตลาดประมาณ 827 พันล้านเหรียญสหรัฐ  ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของตลาดโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.7 และพบว่า อาเซียนมีบทบาทในการส่งออกอาหารสู่ตลาดโลกสูงถึงประมาณร้อยละ 9.6 ซึ่งเป็นลำดับ 3 รองจาก สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

ตลาดอาหารในอาเซียนจะเติบโตอย่างมากบนพื้นฐานของการเติบโตภายใต้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญ  ได้แก่ ประชากร คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 624 ล้านคน เป็น 660 ล้านคน ในปี 2020(ที่มา www.asean.org) ขนาดเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว GDP จาก 2.1 พันพันล้านเหรียญสหรัฐ(trillions) จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.7 พันพันล้านเหรียญสหรัฐ (ที่มา : The IHS report , www.scmp.com) ด้านกำลังซื้อ คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันพันล้านเหรียญสหรัฐ(Trillions) ในปี 2020 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่ม middle class ที่เพิ่มขึ้น (ที่มา : Euromonitor)การบริโภค คาดว่าการบริโภคอาหารในภูมิภาคอาเซียนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ร้อยละ 70 ภายในปี 2020

นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร  กล่าวว่า “จากแนวโน้มดังกล่าว จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยจะขยายตลาดสินค้าอาหารเข้าสู่อาเซียนได้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 10  หรือในราว 200,000 ล้านบาท ของมูลค่านำเข้าอาหารทั้งหมดในอาเซียนที่มีอยู่ราว 2 ล้านล้านบาท หากมีเป้าหมายและแนวนโยบายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารจากทุกภาคส่วน ซึ่งสถาบันอาหารมองว่าเป้าหมายการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดอาเซียนที่ร้อยละ 30 ภายใน 5 ปี เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย โดยในปี 2020 จะมีรายได้จากการส่งออกอาหารไปอาเซียนสูงถึง 1 ล้านล้านบาท จากมูลค่าตลาดอาเซียนที่คาดว่าจะสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท”

ซึ่งอาหารไทย 5 ชนิดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติชื่นชอบมากที่สุด  โดยวิทยาลัยดุสิตธานีได้ทำการวิจัยไว้ดังนี้

ประเทศจีน :

  1. กุ้งกระเบื้อง
  2. ทอดมันปลา
  3. ต้มยำกุ้ง
  4. ปอเปี๊ยทอด
  5. ต้มข่าไก่
ประเทศออสเตรเลีย :

  1. ต้มยำกุ้ง
  2. แกงเขียวหวานไก่
  3. ต้มข่าไก่
  4. ทอดมันปลา
  5. ไก่ผัดกระเพรา
ประเทศญี่ปุ่น :

  1. ต้มยำกุ้ง
  2. แกงเขียวหวานไก่
  3. ทอดมันปลา
  4. ต้มข่าไก่
  5. ข้าวตังหน้าตั้ง
ประเทศสหรัฐอเมริกา :

  1. ต้มข่าไก่
  2. ต้มยำกุ้ง
  3. ปอเปี๊ยทอด
  4. ไก่ผัดกระเพรา ทอดมันปลา
  5. แกงเขียวหวานไก่

 

หากท่านผู้อ่านกำลังสนใจที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมร้านอาหารไทย โปรดอย่าลืมวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้าของท่าน เพราะความชื่นชอบในตัวอาหารไทยของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก
– กระทรวงอุตสาหกรรม
– งานวิจัยโดยวิทยาลัยดุสิตธานี  http://lib.dtc.ac.th/research/0004/abstract.pdf

แสดงความคิดเห็น


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *